ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ขอมศึกษา2566"

จาก wiki.surinsanghasociety
ไปยังการนำทาง ไปยังการค้นหา
 
แถว 49: แถว 49:
  
  
*เป็นไปได้ไหมว่า 1.คนสยามมีทัศนคติเชิงลบกับคำว่า "ขอม"  จึงผลักความเป็นขอมให้เป็นเขมร  ทัศนคติเชิงลบนี้สะท้อนผ่านยอร์ช เซเดส์ ชาวฝรั่งเศส  ผู้ชอบบันทึกประวัติศาสตร์ไทย  การบันทึกนั้นย้อนกลับให้คนไทยยึดประวัติศาสตร์ตามฝรั่งเศส  <br>
+
*เป็นไปได้ไหมว่า  
 +
1.คนสยามมีทัศนคติเชิงลบกับคำว่า "ขอม"  จึงผลักความเป็นขอมให้เป็นเขมร  ทัศนคติเชิงลบนี้สะท้อนผ่านยอร์ช เซเดส์ ชาวฝรั่งเศส  ผู้ชอบบันทึกประวัติศาสตร์ไทย  การบันทึกนั้นย้อนกลับให้คนไทยยึดประวัติศาสตร์ตามฝรั่งเศส  <br>
 
2.การสร้างชาติสยามแบบรัฐชาตินิยมคือการผลักตนหนีออกจากความเป็นขอม <br>
 
2.การสร้างชาติสยามแบบรัฐชาตินิยมคือการผลักตนหนีออกจากความเป็นขอม <br>
 
27 กันยายน 2566<br>
 
27 กันยายน 2566<br>

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 07:21, 27 กันยายน 2566

  • ประวัติศาสตร์ไทย ใช้คำว่า "ขอม" มาจากการบันทึกข้อมูลของนักบันทึกชาวฝรั่งเศส (ยอร์ช เซเดส์) [1]

ขณะนั้นคนสยามเรียกกลุ่มคนที่มีความเป็นคนดั้งเดิมกว่าตนเป็น "ขอม" เช่น ตัวหนังสือที่เก่ากว่า เป็นตัวหนังสือขอม คนที่ยึดถือค่านิยมคร่ำขรึกว่าว่าเป็นวัฒนธรรมขอม สิ่งใดที่เก่าแก่ ว่า ขอม หรือเรียกคนที่สีผิวคล้ำกว่าตน มีพัฒนาการช้ากว่า เป็นคนดงคนป่ากว่า เป็นขอม
รากศัพท์คำว่า "ขอม" เป็นเรียกคนกลุ่มอื่น จะมีลักษณะค่อนไปทางการเหยียด กด ข่ม
การกำหนดคำนี้มีลักษณะเรียกย้อนหลัง เรียกคนที่มีอยู่ในอดีต เปรียบเทียบว่าล้าหลัง ลี้ลับ
คนไทยปัจจุบันกำหนดให้ขอม คือคนยุคเมืองนคร มีเมืองนครเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรม มีการก่อสร้างปราสาทด้วยหิน
คนขแมร์ ไม่ได้เรียกตนเองว่าเป็นขอม
นักวิชาการปัจจุบันเริ่มพากันยอมรับว่า "ขอม" คือ คนไทย ลาว เขมร กวย ในอดีตนั่นเอง
ขอม เป็นคนหรือศิลปะวัฒนธรรมยุคหลังทวารวดี และสิ้นสุดยุคขอมเมื่อนครวัดล่มสลายลง มีปราสาทหินเป็นอนุสรณ์แก่โลก ขอมจึงไม่ใช่เชื้อชาติ ไม่ใช่ประเทศ ไม่ใช่รัฐ เป็นที่เข้าใจกันได้ว่า เป็นช่วงเวลาแห่งยุคสมัยที่มีศิลปะวัฒนธรรมโดดเด่นมากที่สุดประเภทหนึ่งเท่านั้น
18 กันยายน 2566 [2]


  • ปี 2535 พระครูสมุห์ ดร.หาญ ปญฺญธโร วัดป่าอาเจียง ท่านลงกัมพูชา เดินเท้าเปล่า ทางตาพระยา

ไปสืบหาญาติชาวกวยที่อยู่ทางศรีโสภณ
ได้พบว่าคนกวยทางกัมพูชามีอยู่หลายหมู่บ้าน หลายจังหวัด พูดภาษากวยเหมือนกวยสุรินทร์
กวยจังหวัดศรีโสภณ เสียบเรียบ พระวิหาร ส่วยล้วน ๆ
พระตะบอง มีส่วน 12 จังหวัด มีมากที่กำปงธม และพระวิหาร
ทุกวันนี้นี้การพูดส่วยลดลง
มีญาตินามสกุล ศาลางามที่เสียมเรียบ ศรีโสภณ กำปงทม
มีคนเล่าว่าที่ปราสาทปรีกวย จ.พระวิหาร จับช้างมอบอยุธยา
มีบันทึกจารึกที่ปราสาทปรีกวย
ไทยบน ชัยภูมิ พูดกวย
พิบูลมังสาหาร มีชาวกวย
ยายแท้ ๆ ของพระครูเป็นคนพระตระบอง
แก่งสะพือ รากศัพท์มาจากภาษากวย
อุบลเดิมพูดภาษากวย ทุกวันภาษาลาวมากขึ้น
ทิศตะวันตกของพระธาตุพนม พูดกวย เรียกตนเองว่า ข่า
พระธาตุอิงห้าง รากภาษา เป็นกวย
สุ เสราะ หมู่บ้าน
อาเจียง เทวดา พระอินทร์ ช้าง

    1. วิชาขอมศึกษา ลงพื้นที่ฟังบรรยายชาติพันธุ์กวย

ทำให้ทราบว่า ชาวกวยแต่ดั้งเดิม(ขอมโบราณ)กระจายกันอาศัยอยู่ในพื้นที่เอเซียอัคเนย์

  1. จากการสืบเสาะของพระครูสมุห์ ดร.หาญ ปญฺญธโร วัดป่าอาเจียง [3]
  • อาเจียง หมายถึง เทวดา (ช้างป่า /ช้างเถื่อน)

ชาวกวยเรียกช้างว่า อาเจียง
(ชาวกวยเรียกช้างป่าว่า เทวดา)
สุ แปลว่า ดี งาม ง่าย
สุ ในภาษากวย แปลว่า ชุมชน/หมู่บ้าน
ชุมชน ในภาษาเขมรเรียกว่า เสราะ
สุรินทร์ / เสราะสะเร็น / ชุมชนพระอินทร์ (ชุมชนเทวดา/ชุมชนช้าง)
มอญ บลู ข่า โซ่ ไทยบน เยอ มีรากศัพท์ภาษากวย
ท่านเล่าว่า ได้พบชุมชนจำนวนมากในไทย กัมพูชา ลาว ที่มีการพูดภาษากวย โดยเฉพาะอายุ 80 ปี
ในประเทศไทยทุกภาค
กวย แปลว่า คน
ขแมร์ แปลว่า คน
ขแมร์ มีรากเหง้ามาจากกวย เมื่อวิวัฒนาการอักษรขอม กวยไม่ปรับตัวตามอักษรขอม ในที่สุดกวยกลายเป็นชนกลุ่มน้อยเรื่อย ๆ ตามลำดับ
[4]


  • เป็นไปได้ไหมว่า

1.คนสยามมีทัศนคติเชิงลบกับคำว่า "ขอม" จึงผลักความเป็นขอมให้เป็นเขมร ทัศนคติเชิงลบนี้สะท้อนผ่านยอร์ช เซเดส์ ชาวฝรั่งเศส ผู้ชอบบันทึกประวัติศาสตร์ไทย การบันทึกนั้นย้อนกลับให้คนไทยยึดประวัติศาสตร์ตามฝรั่งเศส
2.การสร้างชาติสยามแบบรัฐชาตินิยมคือการผลักตนหนีออกจากความเป็นขอม
27 กันยายน 2566