ตำบลทุ่งมน

จาก wiki.surinsanghasociety
ไปยังการนำทาง ไปยังการค้นหา
ทุ่งมนถิ่นธรรม.jpg

ตำบลทุ่งมนมุ่งเน้นธรรมาภิบาล
นิติธรรมอาจหาญคุณธรรมเลิศ
มีส่วนร่วมโปร่งใสอย่างบรรเจิด
รับผิดชอบแพรวเพริดคุ้มค่าการ
ตำบลปลอดขยะรักสะอาด
คนมุ่งมาดตั้งใจร่วมสร้างสรรค์
เกียรติคุณประกาศทั่วหน้ากัน
ขยันทุกวันกายจิตสุขภาพดี.
๘ ตุลาคม ๒๕๖๓



ตำบลทุ่งมน ในวิกิพีเดีย [1]

เนื้อหา

สภาองค์กรชุมชนตำบลทุ่งมน

สวัสดิการชุมชนตำบลทุ่งมน

เครือข่ายชุมชนตำบลทุ่งมน

แหล่งเรียนรู้ชุมชนตำบลทุ่งมน

บุคคลแห่งการเรียนรู้ตำบลทุ่งมน

วัฒนธรรมการเรียนรู้ตำบลทุ่งมน

ศูนย์เด็กเล็ก อบต.ทุ่งมน

หน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลทุ่งมน

โครงการชุมชนเข้มแข็งภูมินิเวศน์ลำชี 2566-2567

ปราชญ์ชุมชนตำบลทุ่งมน

ผู้สูงอายุสุขภาพดีตำบลทุ่งมน

บุคคลผู้มีจิตอาสา จิตสาธารณะตำบลทุ่งมน

การจัดขยะชุมชนตำบลทุ่งมน

การจัดต่าง ๆ เพื่อสิ่งแวดล้อมตำบลทุ่งมน

วิสาหกิจชุมชนตำบลทุ่งมน

โคก หนอง นา เกษตรก้าวหน้าตำบลทุ่งมน

การจัดการน้ำ น้ำคือชีวิตตำบลทุ่งมน

กลุ่มอาชีพ กลุ่มผู้ผลิต ผลิตภัณฑ์ชุมชนตำบลทุ่งมน

ตลาดสีเขียวชุมชนทุ่งมน-สมุด

แผนพัฒนาตำบลทุ่งมน

นโยบายรัฐ

โรงเรียนในพื้นทีตำบลทุ่งมน

ตำบลทุ่งมน 11 หมู่บ้าน


วัดในตำบลคณะสงฆ์

  1. ประวัติวัดในเขตตำบลทุ่งมนโดยสังเขป
  1. วัดศรีลำยอง(วัดโคกจ๊ะ)สร้างเมื่อปี พ.ศ.2303 วัดแรกแห่งดินแดนทุ่งมน
  1. หลังจากนั้นได้มีการสร้างวัดอุทุมพรขึ้นแต่ในขณะที่วัดอุทุมพรยังไม่ได้สร้างให้ถูกต้องตามกฏหมายนั้น ก็มีญาติโยมได้ถวายที่ดินสร้างวัด และได้นิมนต์พระสงฆ์จากวัดอุทุมพรมาพักจำวัตรฉลองศรัทธาและได้นำเดินการสร้างวัดเพชรบุรีขึ้นสำเร็จในปี พ.ศ.2342
  1. วัดอุทุมพร ดำเนินการสร้างวัดสำเร็จในปี พ.ศ.2360
  1. พระสงฆ์จากวัดอุทุมพรได้สร้างวัดป่าในขณะขึ้นอีกคือวัดประทุมทอง ซึ่งวัดประทุมทองได้สร้างถูกต้องตามกฏหมายเมื่อปี พ.ศ.2404

คณะสงฆ์ตำบล


บุญถวายเพลรวมสงฆ์ฉันภัตตาหาร
จัดถวายทานแถวแนวปริวาส
พิจารณาตักกับแกงลงในบาตร
อนาคตคาดภาพนี้จึงแผ่ธรรม
ให้ญาติโยมร่วมแถวหลังจากพระ
ฝึกให้สละละแก่ตัวทำซ้ำ ๆ
บุญถวายเพลในพรรษาน่าจดจำ
พุทธก้าวล้ำทำดีบูชาเอย
24 กันยายน 2566

อื่น ๆ เบ็ดเตล็ด

สำหรับข้อมูลหน้านี้ เป็นข้อมูลด้านประวัติศาสตร์เพิ่มเติม สำหรับพื้นที่ตำบลทุ่งมน-ปรือ-สมุด_ตานี_โชคนาสาม-โคกกลาง-ดงรัก ในส่วนที่เกี่ยวข้องกัน จะมีการเชื่อมลิงก์ภายใน และลิงก์ภายนอก

  • โรงเรียนแห่งแรกของอำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์

โรงเรียนประชาบาลทุ่งมนอุทุมพร ก่อตั้งเมื่อประมาณปี 2460 ซึ่งทำการเรียนการสอน ณ วัดอุทุมพร โดยมีคณะครูรุ่นแรก ซึ้งเป็นพระสงฆ์และผู้นำหมู่บ้านได้แก่ พระครูพึ่ง เถาะพูน วัดอุทุมพร พระครูวาง ประคองสกุล พระครูวร ประคองสกุล พระครูแวด พรหมนุชวัดเพชรบุรี สอนวิชาการพระพุทธศาสนาและภาษาขอม กำนันปริด ศรีราม สอนภาษาไทย กำนันลวน บำเพ็ญครบ สอนเรื่องการเมือง กำนันกอย สมใจเรา (ไม่ทราบ) กำนันสบู่ ศรีราม(ไม่ทราบ) กำนันเกร๊ะ จามิกรณ์ (ไม่ทราบ)กำนันจีน จามิกรณ์สอนการแพทย์ฝีดาษ ข้อมูลทวดยุทธ กำนันปริน ชัยวิเศษ สอนการปกครอง

  • คนเฒ่าคนแก่สายเลือดบ้านทุ่งมนที่มีอายุเกิน 90 ปีบอกว่า กำนันคนแรกของตำบลทุ่งมนคือ

...นายบูรณ ์ศรีราม... แต่ท่านไม่ปรากฏชื่อในทำเนียบตำแหน่งกำนันตำบลทุ่งมน แต่ปรากฏชื่อท่าคในเรื่องของการแจ้งคดีความต่างๆ การแจ้งเกิด แจ้งตาย และความทรงจำของผู้คนในสมัยนั้น รวมถึงการบริจาคที่ดินสร้างวัดเพชรบุรี ผู้ให้ข้อมูล 1.ทวดยุทธ ยองใย อายุ 93 2.ทวดแอก เสาธงทอง อายุ 104 ปี 3.ทวดเกียน ประคองสกุล อายุ 92 ปี (เสียชีวิตแล้ว) 4.ทวดแส็ย สิทธิสังข์ อายุ 96 ปี (2558 เสียชีวิตแล้ว) 5.หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญเถระ (มรณะภาพ) 6.คุณยายยาน กล่อมจิตร 7.คุณยายสี จะมัวดี 8.คุณยายหวน 9.คุณยายเกย สมใจเรา (เสียชีวิตแล้ว) 10.หลวงปู่แมน จันทปัญโญ (มรณะภาพ)

 ทุกท่านมีความคิดเห็นอย่างไรครับ 
  • รูปร่างหน้าตายายจรูก ยายเป็นคนที่มีร่างกายแข็งแรง กระฉับกระเฉงว่องไว ผิวคล้ำ ร่างกายแข็งแรง ล่ำสัน ส่วนสูงประมาณ 170 cm นับว่าเป็นคนที่มีร่างกายสูงใหญ่พอสมควร ผิดกับคนสมัยนี้ ไว้ทรงผมดอกกระทุ่ม ตุ้มหูเป็นรูปวงกลมพอประมาณ ใส่เสื้อคอกระเช้า มีผ้าสะพาย มีผ้าสไบพาดบ่า ดูสง่าสง่างาม นุ่งผ้าโจงกระเบนสีกระ พร้อมผ้าคาดเอว ดูทะมัดทะแมงดี สวมกำไลข้อมือข้อเท้าเสียงดังกรุ๊งกริ๊ง เมื่อเวลาที่แกกระทุ้งท้องม้าให้ออกเดินหรือวิ่งตามใจชอบ เวลาแกพาฝูงวัวออกหากินจะถือแส้ ถือไม้เรียวขี่ม้าบังคับหรือต้อนวัวของแกออกหากินสะพายดาบคาบแก้ว อาวุธประจำกายของแก ดูน่าเกรงขาม ไม่สวมรองเท้าเพราะคนในสมัยนั้นไม่ค่อยมีกัน เป็นคนเจ้าระเบียบ รักษาความสะอาด หน้าตาเป็นคนมีอำนาจ ดูน่าเกรงขาม แต่ไม่ดุดัน พูดจาฉะฉาน ชัดถ้อยชัดคำ แต่เป็นกันเองกับบุคคลทั่วไป หน้าตายิ้มแย้มผ่องใสโอบอ้อมอารีมีจิตเมตตาเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่ญาติมิตรสมกับเป็นนักบุญในสมัยนั้น
  • ส่วนที่ ๑ บทนำ =============== สภาพทั่วไปของโรงเรียน ๑. ประวัติและสภาพปัจจุบันของสถานศึกษา ๑.๑ ประวัติความเป็นมา โรงเรียนนี้มีชื่อว่าโรงเรียนประชาบาลตำบลทุ่งมน ๓ (วัดเพชรบุรี) เป็นโรงเรียนประชาบาล ประเภทนายอำเภอจัดตั้ง เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ เปิดเรียนครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๔๘๑ โดยอาศัยเรียนในศาลาโรงธรรมวัดเพชรบุรี และโรงเรียนนี้ได้แยกมาจาก โรงเรียนวัดอุทุมพร โดยทางราชการ ได้แต่งตั้ง นายธวัช วรนิตย์ เป็นครูใหญ่คนแรก พอถึงวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๔๘๒ ทางราชการได้แต่งตั้ง นายสมนึก พรหมสำราญ มาเป็นครูใหญ่ และพอถึงวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๔๘๗ ได้ย้ายนายแจ้ง ดุจเพ็ญ มาแทน ต่อมานายแจ้ง ดุจเพ็ญ ได้ย้ายไปเป็นเสมียนศึกษาธิการ อำเภอปราสาท จึงได้แต่งตั้ง นายสัมฤทธิ์ ศรีราม เป็นครูใหญ่ เมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๔๘๗ ต่อมาเมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๔๘๙ ทางราชการได้ให้อาคารเรียนจากบ้านตานี คณะครู ผู้ใหญ่บ้าน และราษฎร ในสังกัดของโรงเรียน ได้ไปทำการรื้อถอน และมาสร้างขึ้นมาใหม่ โดยพระครูอุปัชฌาย์จริง สุวรรณโชโต เจ้าอาวาสวัดเพชรบุรี เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างจนเสร็จเรียบร้อย และใช้เป็นสถานที่เรียนได้ โดยไม่ต้องอาศัยเงินงบประมาณจากทางราชการแต่อย่างใด จึงได้ย้ายที่เรียนจากศาลาโรงธรรมวัดเพชรบุรีมาเรียนที่อาคารเรียนหลังใหม่ตั้งแต่วันที่ ๒๒ เมษายน ๒๔๙๑ เป็นต้นมาจนถึงบัดนี้และได้ขออนุญาตตั้งชื่อโรงเรียนใหม่เป็น โรงเรียนสุวรรณาคารสงเคราะห์ โดยใช้ฉายาของพระครูอุปัชฌาย์จริง สุวรรณโชโต เป็นชื่อของโรงเรียนตลอดมา ที่ดิน ที่ปลูกสร้างอาคารเรียนใหม่นี้ได้รับบริจาค จากนายกรีด แก้วแบน ราษฎร หมู่ที่ ๒ ตำบลทุ่งมน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ เป็นผู้มอบให้ จำนวน ๑ แปลง ขนาดกว้าง ๓ เส้น ยาว ๓ เส้น คิดเป็นเนื้อที่ ๙ ไร่ หมู่บ้านที่ขึ้นในสังกัดโรงเรียนแต่เดิม อยู่ในสังกัดตำบลทุ่งมน ปัจจุบันได้แยกเป็นตำบลสมุด ขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๖ ดังนั้นโรงเรียนจึงสังกัดอยู่ในตำบลสมุด ๑.๒ ปัจจุบัน ปัจจุบันโรงเรียนสุวรรณาคารสงเคราะห์ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ บ้านทุ่งมนตะวันออก ตำบลสมุด อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ รหัสไปรษณีย์ ๓๒๑๔๐ โทรศัพท์ ๐๔๔-๕๙๐๓๓๗ สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต ๓ เปิดสอนตั้งแต่ระดับ ชั้นอนุบาลปีที่ ๑ ถึง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ มีเนื้อที่ ๙ ไร่ มีหมู่บ้านในเขตบริการของโรงเรียน ดังนี้คือ หมู่ที่ ๑ บ้านทุ่งมนตะวันออก ตำบลสมุด อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ หมู่ที่ ๓ บ้านตาดอก ตำบลสมุด อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ หมู่ที่ ๖ บ้านตาปาง ตำบลสมุด อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ๑.๓ ที่ตั้งและขนาด ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ บ้านทุ่งมนตะวันออก ตำบลสมุด อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ มีเนื้อที่ ๙ ไร่ ทิศเหนือ จดที่ดินของนายจิน ทวีฉลาด และนายเวือน ทองคำ ทิศใต้ จดทางหลวงชนบท สายกังแอน-ทุ่งมน ทิศตะวันออก จดสถานีตำรวจภูธรทุ่งมน ทิศตะวันตก จดที่ดินของนายพลอน แก้วแบน
  • วัดอุทุมพร หรือเรียกตามภาษาถิ่นเขมรสุรินทร์เรียกว่า “วัดทุ่งมนตะวันตก” ก่อตั้งเมื่อปี 2300 ต้นๆ เนื่องจากชาวบ้านในยุคนั้นได้อพยพมาก่อตั้งบ้านทุ่งมนเป็นชุมชนที่มีรากฐานทางความมั่นคงทางชุมชนที่เข็มแข็ง คณะหัวหน้าชาวบ้านในสมัยนั้นจึงได้ซึ่งนำโดย นายแก้ว (ต้นสกุลหวังสำราญ ปัจจุบันเรียกโคกแก้วม็อบ) นายเรียม (ต้นสกุลศรีราม) นายเม็ง (ต้นสกุลจงมีเสร็จ นายพรม (ต้นสกุลสายสู่) นายมน (ต้นสกุลพูนล้น) นายลม (ต้นสกุลบำเพ็ญครบ – จันครบ พ่อกำนันลวน) ได้ปรึกษากันถึงเรื่องการก่อสร้างวัดเพื่อเป็นสิ่งที่ยึดเหนี่ยวทางใจแก่ชุมชน ท่านเหล่านั้นจึงไปนิมนต์หลวงปู่ตุม อิริทัตเถระ ซึ่งท่านได้เดินทางมาจากวัดพระอินทร์โกษา เมืองพระนคร หรือจังหวัดเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา ในปัจจุบัน

การก่อสร้างวัดในสมัยนั้นคณะคุณตาทวดทั้งหลายท่านได้ไปนิมนต์พระมาจากวัดในเขตเมืองทักษิน 3 วัด คือ พระภิกษุจากวัดพระชีว์บัวแก้ว บ้านเสกกอง ตำบลหนองใหญ่ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งบ้านเสกกองนี้เป็นบ้านเกิดของ คุณทวดเม็ง ต้นสกุลจงมีเสร็จ และวัดที่สองคือ วัดจุมพลสุทธาวาส ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งพระภิกษุที่นิมนต์มาจากวัดจุมพลสุทธาวาสนั้นส่วนใหญ่เป็นลูกหลานของคนทุ่งมนทั้งนั้น 3 พระภิกษุจากวัดแจ้งสง่างาม ตำบลคอโค อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเมื่อมีพระสงฆ์มาจำพรรษาอยู่ได้หลายพรรษาแล้ว ทางคณะกรรมการวัดในสมัยนั้นจึงได้ส่งเรื่องถึงเจ้าคณะมณฑลอีสาน เพื่อที่จะขอทางกรมศาสนาขึ้นทะเบียนวัดบ้านทุ่งมนให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติสงฆ์ในสมัยนั้น ซึ่งวัดบ้านทุ่งมนตะวันตกได้ขึ้นทะเบียนวัดเมื่อปี 2360 ชื่อทางการว่า “วัดอุทุมพร”

  • วัดเพชรบุรี สร้างหลังวัดอุทุมพร "ประวัติวัดเพชรบุรี เมื่อประมาณปี ๒๓๐๐ บ้านทุ่งมน ม.๒ ไม่มีวัดที่จะให้พุทธศาสนิกชนได้บำเพ็ญกุศล ขณะนั้นได้มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ที่วัดอุทุมพร จำนวน ๕ รูป จึงได้ตกลงกันว่า ควรจะไปจัดตั้งวัดใหม่ เพื่อความสะดวกต่อพุทธศาสนิกชนที่ประสงค์จะประกอบอุตสาหกรรม ดังนั้นหลวงพ่อเพชร ซึ่งเป็นพระรูปหนึ่งในจำนวน ๕ รูป ได้พาพี่ชายของหลวงพ่อแก้ว ชื่อนายกอง จงมีเสร็จ เพื่อปรึกษาเรื่องจะจัดสร้างสำนักสงฆ์ขึ้นใหม่ เมื่อตกลงกันได้ นายกอง จงมีเสร็จ ก็ได้ยกที่ดินให้เป็นที่สำหรับสร้างวัด เมื่อได้รับที่ดินจากผู้บริจาคแล้ว หลวงพ่อเพชรจึงได้จัดสร้างสำนักสงฆ์ขึ้น ชาวบ้านจึงได้อาราธนาหลวงพ่อเพชร ให้ไปเป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ตามปกติชาวบ้านจะเรียก วัดตามผู้สร้าง หลังจากที่หลวงพ่อเพชร มรณภาพแล้วเพื่อเป็นเกียรติประวัติของท่าน จึงได้อนุมัติกรมการศาสนาตั้งชื่อวัดนี้ว่า วัดเพชรบุรี ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา อนึ่ง ปี ๒๓๕๕ มีการยกที่ดินให้สร้างวัด โดยประชาชน" ข้อความนี้ พิมพ์เป็นประวิติเมื่อปี ๒๕๔๐ มีเอกสารเป็นร่องรอยอ้างอิง
ประวัติวัดเพชรบุรี.jpg
    1. งานศพกำนันจีน จามิกรณ์ ปี 2488
  1. กำนันตำบลปรือ-ตานี-โชคนาสาม-โคกกลาง-พนมดงรัก คนที่ 2 (2470 - 2475) อำเภอทักษิน(ปัจจุบันอำเภอปราสาท) จังหวัดสุรินทร์

หลังจากที่คุณยายทวดเปรียม เสียชีวิตลงแล้วคุณตาทวดจีนได้ท่านได้มีอาการป่วยเรื่อยมาตั้งแต่ปี 2486 โดยในยามกลางคืนท่านจะมีอาการปวดขาที่เคยกระดูกแตกอย่างทรมานยิ่งหน้าหนาวด้วยอาการปวดยิ่งทวีความรุ่นแรงเป็นหลายเท่า ทำให้ท่านซูบผอมตามวัยอย่างน่าเวทนา จนถึงปี 2488 ซึ่งปีนั้นท่านมีอายุได้ 68 ปีอาการปวดขาของท่านได้ทวีความรุ่นแรงขึ้นท่านทนความเจ็บปวดไม่ไหวท่านจึงได้ชีวิตลงด้วยวัยแค่ 68 ปี เพราะสมัยก่อนนั้นยาแก้ปวดก็ไม่มี มีแค่การประคบร้อนตามวิถีชีวิตตามความเป็นอยู่เท่านั้นทำให้ผู้เฒ่าผู้แก่หลายๆคนตามชนบทต้องเสียชีวิตด้วยความเจ็บปวดจากโรคภัยต่างๆ หลังจากที่ท่านเสียชีวิตลง ในปี 2488 ในครั้งนั้นมีการทำบุญท่านโดยหลวงปู่เอ้ อินทสาโร เป็นประธานในส่วนของญาติผู้ใหญ่ ท่านได้ให้ฝั่งศพของตาทวดไว้ทางทิศใต้ของวัดศรีลำยอง โดยเป็นระยะเวลา 1 ปีโดยแบ่งหน้าที่ให้หลานๆผู้ชายมีหน้าที่ดูแลศพที่ฝั่งไว้เพราะสมัยก่อนยังไม่มีอิฐบล็อกขายต้องไปปั้นดินอุดดินตามรอยราวของอุโมงศพเพราะไม่ให้สัตว์ต่างๆเข้าไปกัดกินชิ้นส่วนต่างๆของศพ ส่วนลูกหลานคนอื่นๆ ให้แบ่งหน้าที่กันโดยให้ช่วยกันปลูกผักสะสมไว้จัดงานเช่น ปลูกฟักทอง ฟัก แตงโม แตงไทย หามะพร้าวมาต้มทำน้ำมันไว้ รวมถึงเลี้ยงหมู เป็น ไก่ จนถึงปี 2490 มีการขุดศพของทั้งสองท่านมาทำบุญฌาปนกิจศพ โดยมีองค์หลวงปู่เอ้ หลวงปู่เป็น เป็นประธานจัดงานในครั้งนั้นหลวงปู่เอ้ท่านได้ว่าจ้าง หนังอาปอด มหรสพพื้นเมืองจากเมืองประโคนชัยมาแสดงในงานด้วย ในการจัดงานครั้งนั้น คุณปู่วร จามิกรณ์ ได้นิมนต์พระมาร่วม 100 รูปคือพระจากวัดบ้านโคกมะขาม ตำบลโคกมะขาม อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีหลวงปู่ด่าน พร้อมคณะและ หลวงปู่จริง สุวรรณเถระ วัดเพชรบุรี บ้านทุ่งมนตะวันออก หลวงปู่ริม รัตนมุนี วัดอุทุมพร หลวงปู่เกรียน ยองใย วัดศรีลำยอง หลวงปู่เมียส วัดบวรมงคล บ้านปรือ โดยลูกหลานของท่านได้ร่วมทำบุญครั้งนั้นเฉลี่ยคนล่ะ 100 บาท 7 คนได้ 700 หลวงปู่เอ้ ช่วย 500 บาท ได้ทั้งสิ้น 1,200 บาทถือว่าเยอะมากในสมัยนั้น ใส่ซองในวันฌาปนกิจศพพระอธิการรูปละ 10 บาทประมาณ 10 รูป เป็นเงิน 100 บาท พระสงฆ์ 100 รูป รูปล่ะ 5 บาท เป็นเงิน 500 บาท พราหมณ์ 8 คนจากประโคนชัย คนละ 15 บาทเป็นเงิน 120 บาท และค่าจัดงานอีก 300 บาท รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิน 1,020 บาท เงินที่เหลือ คุณปู่วร จามิกรณ์ได้นำไปสร้างพระอุโบสถและสถานที่บรรจุอัฐิ ณ วัดโคกมะขาม ตำบลโคกมะขาม อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ โดยพี่น้องได้ร่วมบริจาคอีกคนละ 100 บาท มี คุณยายเอ็ง ยองใย คุณยายลอม บำเพ็ญครบ รวมทั้งสิ้นเป็นเงิน 380 บาท

  1. เรื่องเล่าจากหลวงปู่คีย์ กิตติญาโณ คุณทวดแส็ย สิทธิ์สังข์ คุณทวดยุทธ ยองใย
  2. เรียบเรียงโดย ปริณส์ ณ เสียมเรียบ
  3. ภาพหลวงปู่เอ้ อินทสาโร วัดชัยมงคล บ้านละบิก ตำบลประโคนชัย อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์

...หมายเหตุ กำนันจีน จามิกรณ์ เป็นน้องชายแม่ของหลวงปู่เอ้ หรือ คุณทวดแซม จามิกรณ์ (แสงสุข)

    1. เหตุการณ์ตำบลปรือ- ทุ่งมน -สมุด -ตานี -โชคนาสาม อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ปี 2494

ในปีนั้นเป็นปีที่เกิดภาวะวิกฤตหลังจากภาวะสงครามสิ้นสุดลง เกิดภัยแล้งอย่างหนักติดต่อกัน 3 ปีเป็นปีที่มาการอพยพลงประเทศกัมพูชาอย่างล้นลามไม่ว่าจะเป็นจากตำบลทุ่งมน และตำบลปรือ เพราะผู้คนต่างหนี้ความยากลำบากจากพื้นที่ข้างบน (ปรือ – ทุ่งมน – ตานี – โชคนาสาม) ไปหาพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ในพื้นที่ข้างล่างหรือปัจจุบันคือบ้านกู่ บ้านกรวน บ้านอำปิล บ้านตึกชุม บ้านปวงตึก บ้านพนมแวง บ้านกะต้ม บ้านโคกหมอญ บ้านตะเปียงปราสาท บ้านกะกีร์ ประเทศกัมพูชา และเป็นที่เป็นการรวบตำบลปรือ - ตานี – โชคนาสาม และตำบลทุ่งมน เข้าด้วยกัน ยกเป็นสถานะตำบลทุ่งมนเพียงตำบลเดียวรวมเวลาเกือบ 40 ปี จึงมีการแยกการปกครองออกเป็นเหมือนเดิมประมาณปี 2520 การรวบตำบลครั้งนั้นมีการเสนอไปทางจังหวัดโดย ท่านกำนันสนอง หงษ์สูง เป็นผู้เสนอต่อท่านผู้ว่า มีการแต่งตั้งกำนันเพลิน ลับแล เป็นกำนันตำบลทุ่งมน – ปรือ-ตานี-โชคนาสาม ถึงปี 2505 ต่อจากกำนันกอย สมใจเรา (กำนันตำบลทุ่งมน) และกำนันปริน ชัยวิเศษ (กำนันตำบลปรือ) ในปีนั้นมีการออกคำสั่งห้ามบุคคลอพยพออกนอกพื้นที่ประเทศไทย เพราะว่าผู้คนเหลือน้อยเต็มทีไม่ว่าจะเป็นการหนี้ภัยแล้ง การสูนหายจากภัยสงครามโลกครั้งที่ 2 การอพยพไปหาพื้นที่ราบลุ่มเช่น บ้านปะเลีย (พลับพลายชัย) เมืองตะลุงเก่า (ประโคนชัย) โดยมีการประกาศแจกจ่ายที่ดินพื้นที่ใหม่ให้สำหรับคนที่อยากมีที่ทำมาหากินในเขตตำบลปรือ – ทุ่งมน คือพื้นที่บ้านตาเดาะ บ้านโชคนาสาม บ้านโคกลาง หรือหมู่บ้านขนาบลำชีในปัจจุบันจากบ้านทุ่งมนไปถึงตีนเขาพนมดงรัก

  1. เล่าโดยหลวงปู่คีย์ กิตติญาโณ วัดศรีลำยอง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
  2. นายปรินส์ ณ เสียมเรียบ เรียบเรียงใหม่