พระครูประสาทพรหมคุณ (หลวงปู่หงษ์ พฺรหฺมปญฺโญ)

จาก wiki.surinsanghasociety
ไปยังการนำทาง ไปยังการค้นหา

หลวงปู่หงษ์ พฺรหฺมปญฺโญ (อ่านว่า พรัม-มะ-ปัญโญ) สรีระสังขารหลวงปู่ถูกเก็บไว้ ณ พิพิธภัณฑ์ปราสาทเพชร สุสานทุ่งมน บ้านทุ่งมน หมู่ที่ ๒ ตำบลทุ่งมน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นธรณีสงฆ์ของวัดเพชรบุรี

ใบสุทธิหลวงปู่หงษ์.jpeg

ประวัติ

ชาติกำเนิด

บรรพชา

อุปสมบท

ละสังขาร

หลวงปู่ผู้สร้างสรรค์

.....แหงนหน้ามองท้องฟ้าเห็นฟ้าใส
กวาดสายตาลงไปเห็นป่าน้ำ
เห็นสะพานเห็นทำนบเห็นป่าทาม
เห็นทางข้ามสัญจรเห็นอาคาร
.....เห็นบ่อน้ำใสใสได้ใช้สอย
เห็นสระน้ำใหญ่น้อยอยู่รอบด้าน
อยู่กลางทุ่งกลางป่าน่าอัศจรรย์
ทุกทุกด้านงานศึกษาพัฒนาชน
.....หลวงปู่เราท่านสรรค์สร้างอย่างทุ่มเท
ไม่ลังเลตัดสินพลันงานมากล้น
จากวาดหวังการหยั่งชีพของผู้คน
ทุกหมู่ชนได้รับผลทั่วหน้ากัน
.....ขอเชิดชูวีระกรรมท่านทำนี้
บันทึกดีประวัติศาสตร์สุดขีดกั้น
ดุษฎีกิตติมศักดิ์มาถึงพลัน
สายตาสวรรค์สรรสร้างอย่างงดงาม
ศาสนทายาทสัทธิวิหาริก วัดสะเดาฯ ๒๙/๘/๒๕๕๒

รำลึก ๘ ปี

🛑 รำลึกวันที่ 5 มีนา อาจาริยบูชา หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ มหาโพธิสัตว์ ประวัติชาติภูมิและปฏิปทาโดยย่อ 🟠 หลวงปู่หงษ์ถือกำเนิดเมื่อ วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2460 และ ละสังขารวันที่ 5 มีนาคม 2557 รวมสิริอายุ 97 ปี 🔸 นามเดิมชื่อ.สุวรรณหงษ์ จะมัวดี กำเนิดที่บ้านทุ่งมน ต.ทุ่งมน อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ 🟠 บรรพชาอายุได้ 18 ปี แล้วพระอุปัชฌาย์ได้ตั้งนามให้ใหม่ว่า “สามเณรพรหมศร”

🔸 ครั้นอุปสมบทได้แล้ว 3 พรรษา ออกธุดงค์ในป่าเขตกัมพูชา มีเทพเจ้านามพระพิฆเนศ ติดตาม รักษาให้ความคุ้มครองตลอด15 ปี ในขณะรอนแรมทั่วชายแดนไทย-กัมพูชา

🟠 ศึกษาเรียนสรรพวิชานานถึง 39 พรรษา รวมเฉพาะ ครูอาจารย์ในกัมพูชากว่า 160 องค์ 🔸 แม่พระธรณีอุ้มชู ดลบันดาลช่วยเหลือหลวงปู่หงษ์ ดุจมารดาและบุตร มาตลอดชีวิตหลวงปู่หงษ์ ฯ 🟠 เทพ พรหม พระฤษีตาไฟ พระอิศวร พระนารายณ์ พระพิฆเนศ พระอริยะ หลวงปู่ทวดครูเมืองบังบด แผ่บารมีช่วยเสกวัตถุมงคลขลังมีอานุภาพสูง 🔸 อำนาจพลังจิตสูงระดับอภิญญา ปราบนางโจรโจรี พร้อมสมุน 50 คน สั่งสอนจนสำนึกตนกลับตัว รักษาศีลได้กระทั้งฝนตกไม่เปียก 🟠 ทหารเวียดกงระดมยิงปืนใส่ลูกปืนไหลลงปากกระบอกไม่เป็นอันตราย 🔸โดนเวียดกงจับใส่กรงเหล็กถ่วงน้ำกลางมหาสมุทรที่หนาวเย็น แม้จีวรก็ไม่เปียก 🟠 ธรรมธาตุ โลหิตธาตุ เกศาธาตุ ปรากฏแก่ศิษย์ผู้เคารพบูชาไว้ 🔸 กระรอกกระแตสัตว์ป่าวิ่งเข้าหาหลวงปู่ดุจมิตรรู้วาระจิตสัตว์น้อยใหญ่ ตะขาบคลานมาลาก่อนสิ้นอายุขัย 🟠 พาศิษย์เดินข้ามแม่น้ำลึกหนีทหารเขมรน้ำสูงท่วมหัวเพียงสั่งศิษย์หลับตาข้ามน้ำๆน้ำตื้นกว่าหัวเข่า 🔸 พระเกจิที่อยู่ท่ามกลางสงครามถึง 20 ปีคุ้มครองชาวเขมรหนีภัยสงครามคู่กับหลวงปู่สรวง เทวดาเล่นดิน ศีลรักษาเขมรแดงลอบยิงหลายร้อยครั้ง ขับรถชนราว70-80 ครั้งไม่เคยได้รับอันตราย 🟠 ชายชาวบ้านตัดไม้ยางใหญ่ไปสร้างบ้านพลาดไม้โค่นลงหนองน้ำหมดปัญญานำไม้ขึ้นจากน้ำหลวงปู่ไปพบใช้เพียงเท้าเหยียบโคนไม้ยางใหญ่กระดกขึ้นจากน้ำอย่างอัศจรรย์ 🔸 ฝังอาถรรพ์ป้องกันภัย แก่หมูบ้านกรู ประเทศกัมพูชา หมู่บ้านหนองคันนา จ.สุรินทร์ ระเบิดลงในเขตหมู่บ้านด้านทุกลูก ปลอดภัยทั้งหมู่บ้าน 🟠 ลงอักขระยันต์วิชาสาลิกาแก่ลูกศิษย์ร่างกายศิษย์เผาไม่ไหม้ แม้รอยจารยันต์ยังปรากฏบนกะโหลกศีรษะ 🔸 วิชาปากกาครู พุทธคุณหนึ่งเดียวในโลก ศักดิ์สิทธิ์ อธิฐานใช้ได้ถึง 1000 ประการ 🟠 อนุรักษ์สร้างสวนป่านับหมื่นไร่ สร้างแหล่งน้ำให้สัตว์ สร้างโรงเรียน สร้างฝายกั้นน้ำ สร้างสะพาน สร้างวัดหลายสิบแห่ง

ตำนานศิลาอัมรินทร์ หลวงพ่อพระพุทธเพชรสุรินทร์

ภาพผนังพิพิธภัณฑ์ปราสาทเพชร

  • ภาพที่ ๑ ถิ่นกำเนิดเด็กชายสุวรรณหงษ์ จะมัวดี คือบ้านทุ่งมนตะวันออก ห่างจากปราสาทเพชรประมาณ ๓๐๐ เมตร หลวงปู่เกิดวันที่ ๕ มีนาคม ๒๔๖๐ บวชเณร เมื่ออายุ ๑๘ ปี ชื่อสามเณรพรหมศร ต่อมาบวชพระ ณ วัดเพชรบุรี ฉายา “พรหมปัญโญ” แปลว่า ผู้มีปัญญาดุจพรหม
  • ภาพที่ ๒ หลังบวชพระ ๓ พรรษา ได้เดินธุดงค์ในอีสานใต้ โคราช บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี และภูเขาเขตชายแดนไทย-กัมพูชา พบปะครูบาอาจารย์ทั้งเป็นพระทั้งเป็นโยม หลวงปู่มีครูจำนวนมาก เป็นร้อยกว่าท่าน
  • ภาพที่ ๓ หลวงปู่เดินธุดงค์ไปทางกัมพูชาอุดรมีชัยในสมัยนั้นมีสงครามกลางเมืองกัมพูชา ทหารเวียตกงจับหลวงปู่ทรมานใส่กรงขัง ถ่วงน้ำ โยนให้จระเข้กัด ทำวิธีการต่างๆ ในการทรมาน
  • ภาพที่ ๔ เป็นเหตุการณ์หลังจากทหารเวียดกงทรมานหลวงปู่แล้ว หลวงปู่ไม่เป็นอันตรายใดๆ ด้วยพลังดวงจิตที่แน่วแน่ของหลวงปู่ ทหารเวียดกงแพ้ใจยอมกราบไหว้ขอขมาลาโทษ
  • ภาพที่ ๕ เป็นภาพของหลวงปู่อยู่ในป่าประพฤติธรรมในป่าทางกัมพูชา ซึ่งมีสัตว์ป่าอยู่รายล้อมจำนวนมากคล้ายๆหลวงปู่สรวงที่อยู่ป่า
  • ภาพที่ ๖ หลวงปู่ได้สงเคราะห์ทหารทางกัมพูชา ได้สร้างวัดบ้านกู่ ได้สร้างทำนบน้ำบ้านกู่ เป็นที่ยอมรับของทหารและผู้หลักผู้ใหญ่ของบ้านเมือง
  • ภาพที่ ๗ เกี่ยวกับหลวงปู่ได้กลับมาทางไทยเมื่อปลายปี ๒๕๑๕ ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดเพชรบุรี ตั้งแต่วันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๑๖ ภายหลังที่พระครูอนุรักษ์สัจธรรม (หลวงปู่จริง สุวณฺณโชโต) มรณภาพเมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๑๕ หลวงปู่หงษ์ได้มาสงเคราะห์ชาวบ้านทุ่งมน และชุมชนต่าง ๆ ในจังหวัดสุรินทร์และใกล้เคียงหลวงปู่เริ่มที่จะหาพื้นที่เพื่อจะปลูกป่า รักษาป่าหลวงปู่เริ่มที่จะดูแลโรงเรียน ดูแลชุมชนสังคม เป็นสาธารณะสงเคราะห์ จนได้รับปริญญาเอก(ดร.กิตติมศักดิ์)ด้านสาธารณะสงเคราะห์ จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ภาพที่ ๘ ภาพสุดท้ายหลวงปู่ตั้งใจที่จะอยู่ ตั้งมั่น ณ ปราสาทแห่งนี้ เพื่อที่จะช่วยเหลือชุมชนช่วยเหลือลูกหลานให้กำลังใจลูกหลาน ตั้งใจที่จะสร้างความสงบสุขให้กับชุมชนและสังคมตามปณิธานที่หลวงปู่มีตลอดชีวิตมา หลวงปู่มรณภาพ วันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๕๗ สิริอายุ ๙๗ ปี

๑๕ มิถุนายน ๒๕๖๔

ปราสาทเพชร พื้นที่กลางของชุมชนชาวพุทธ

  • หลวงปู่เป็นขวัญและกำลังใจแก่ลูกหลานชุมชนชาวพุทธ
      • ปราสาทเพชร เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ตั้งสรีระหลวงปู่หงษ์ พฺรหฺมปญฺโญ พระมหาเถระผู้มีพระคุณสูงยิ่งใหญ่ต่อชุมชนชาวพุทธครั้งที่หลวงปู่มีชีวิตอยู่ ปัจจุบันและอนาคตหลวงปู่เป็นที่หวัง เป็นขวัญและกำลังใจแก่ลูกหลานอยู่ต่อไป สถานที่สำคัญแห่งนี้เป็นที่รวมใจ เป็นศูนย์รวมใจยกระดับสติปัญญาชาวพุทธ ก่อพลังกำลังใจในการดูแลสุขภาพ สิ่งแวดล้อม เจริญในอายุ วรรณะ สุขะ พละ ชุมชนชาวพุทธได้ปฏิบัติธรรมผ่านการงานร่วมกัน หล่อหลอมพุทธบริษัท บรรยากาศชุมชนชาวพุทธเข้มขลังรักในการรักษาศีล ๕ มีการนำหลักธรรม(กัลยาณมิตร ๗ เป็นต้น)มาประพฤติปฏิบัติเป็นกัลยาณมิตรต่อกันอย่างเข้มข้นต่อเนื่อง ก็จะเกิดคุณประโยชน์ต่อชุมชนชาวพุทธสืบนานตลอดไป
      • จึงสมควรยกระดับเป็นพื้นที่กลางของชุมชนชาวพุทธ ด้วยการคิดแนวทางที่เป็นนวัตกรรม แนวทางใหม่ ๆ ที่มีการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์สู่แนวทางปฏิบัติตามลำดับไป เพื่อก่อเกิดขวัญและกำลังใจแก่ลูกหลาน ลูกศิษย์หลวงปู่ (ชาวพุทธ) ยาวนานตลอดไป

๗ มิถุนายน ๒๕๖๔


  1. หลวงปู่หงษ์ พฺรหฺมปญฺโญ ซื้อที่ดินด้านทิศตะวันตกของสุสานทุ่งมน (พิพิธภัณฑ์ปราสาทเพชร) ด้วยมีเจตนาเพื่อเป็นสถานที่จัดปริวาสกรรมของพระภิกษุ จึงขอให้พระภิกษุสงฆ์ได้ร่วมสานเจตนารมณ์ของหลวงปู่ด้วยการใช้สถานที่แห่งนี้ประพฤติปฏิบัติธรรมอย่างต่อเนื่อง
  2. พิพิธภัณฑ์ปราสาทเพชร เป็นสถานที่ที่พึงเป็นประโยชน์ต่อพระภิกษุสงฆ์วัดเพชรบุรีและวัดทุกวัดในพื้นที่ตำบลทุ่งมน-สมุด เพราะวัดทั้งนั้นหลวงปู่ได้สร้าง ได้อุปถัมภ์ ได้ปกครอง หลวงปู่ได้ฝากคำไว้ว่าให้ช่วยกันดูแลวัดทุกวัดในพื้นที่นี้ ในการดำเนินการใช้ประโยชน์ตามเจตนารมณ์ของหลวงปู่ พระภิกษุวัดเพชรบุรีพึงตระหนักร่วมปฏิบัติหน้าที่และปฏิบัติธรรม ณ พิพิธภัณฑ์ปราสาทเพชรทุกวัน

๒๔ กรกฎาคม ๒๕๖๔ วันอาสฬหบูชา

พระพุทธรูปหยก หน้าตักประมาณ ๕ นิ้ว

พระพุทธรูปหยก4.jpg
พระพุทธรูปหยก1.jpg

พระพุทธรูปหยก หลวงปู่หงษ์ พฺรหฺมปญฺโญ ได้รับการพระราชทานถวายจากกษัตริย์กัมพูชา คือ สมเด็จเจ้ารณฤทธิ์ สมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์ เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระสีหนุ ด้วยพระหัตถ์ของสมเด็จเจ้ารณฤทธิ์ พระองค์ทรงพระราชทานถวายเมื่อครั้งที่หลวงปู่มีอายุ ๘๓ ปี คาดการณ์อายุจากบทสนทนาที่พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ ทรงตรัสถามหลวงปู่ หลวงปู่ตอบว่า "อายุ ๘๓ ปี" ส่วนพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ ตรัสบอกว่า "พระองค์อายุ ๘๑ ปี มีอายุน้องกว่า" เมื่อนับอายุของพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ จะอยู่ที่ พ.ศ. ๒๕๔๖ ถ้านับนับอายุหลวงปู่เป็นหลักจะอยู่ที่ พ.ศ.๒๕๔๒ ซึ่งวิธีนับอายุแบบคนโบราณจะนับเพิ่ม ๑ ปีเสมอ เทียบกับหลวงปู่มรณภาพ ปี ๒๕๕๗ ซึ่งมีอายุ ๙๗ ปี หรือ ๙๘ ปีเมื่อนับแบบโบราณ ฉะนั้นในปี พ.ศ.๒๕๔๒ หลวงปู่และคณะลูกศิษย์ในฝังจังหวัดสุรินทร์ได้เดินทางไปพนมเปญ โดยมีคุณแม่ยุพาสวรรค์ ซึ่งคุณแม่มีความคุ้นเคยสนิทสูงสุด มีความสัมพันธ์ที่ดีเยี่ยมกับเหล่าทหารระดับสูงของกัมพูชา ได้เป็นผู้เชื่อมประสานกับทางสำนักพระราชวังกัมพูชา เข้าเฝ้า พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ ที่พระราชวังเขมรินทร์ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา และคณะทั้งหมดได้เข้าพักและรับประทานอาหาร ณ บ้านพักของสมเด็จเจ้ารณฤทธิ์

หลังที่ได้รับถวายแล้ว มีการแก็บรักษาโดย แม่ยุพาสวรรค์ แจ้งกระจ่าง เป็นระยะเวลา ๒๐ กว่าปี ที่บ้านรุน อำเภอพนมดงรัก
เมื่อแม่ยุพา แจ้งกระจ่าง ครั้งมีชีวิตอยู่ดูแลพระพุทธรูปหยกองค์นี้ หลังจากหลวงปู่มรณภาพแล้วเมื่อ ๕ มีนาคม ๒๕๕๗ คุณแม่ได้พูดบอกเล่าลูก ๆ น้อง และญาติอย่างสม่ำเสมอ ว่า พระพุทธรูปองค์นี้ต้องนำไปถวายต่อสถานที่ที่สำคัญของหลวงปู่หงษ์ ให้ได้ และต้องทำให้เกิดผลต่อความอยู่เย็นเป็นสุขของสถานที่ และชุมชนโดยรอบ
แม่ยุพาสวรรค์ เสียชีวิตหลังหลวงปู่ เสียชีวิตเมื่อ ๒๘ มกราคม ๒๕๖๓

ลูก ๆ และเขย สะใภ้ ของคุณแม่ยุพาสวรรค์ แจ้งกระจ่าง

  1. นายประนอม ดีสิทธิ์ - นางจำ ดีสิทธิ์
  2. นางสุวรรณา คลุ้มกระโทก - นายล้วน คลุ้มกระโทก ( ครอบครัว ที่แม่ยุพาสวรรค์ มอบให้ดูแลรักษาพระพุทธรูปหยก ครอบครัวนี้มีความขยันในการประกอบสัมมาอาชีพ เป็นศูนย์เรียนรู้หลายสาขาของชุมชน)
  3. นายเพลิน ดีสิทธิ์ - นางศิลา ดีสิทธิ์

น้องสาวและน้องเขย ของคุณแม่ยุพาสวรรค์ แจ้งกระจ่าง

  1. แม่พิง ขาวกระโทก - พ่อบ่าย ขาวกระโทก

แห่อัญเชิญสู่พิพิธภัณฑ์ปราสาทเพชร

คณะลูก ๆ และญาติ พร้อมชุมชนบ้านรุน อำเภอพนมดงรัก จำนวน ๑๐ กว่าชีวิต ได้แห่พระพุทธรูปหยกองค์นี้ถวายไว้ในที่สำคัญดังที่ตั้งใจไว้ คือพิพิธภัณฑ์ปราสาทเพชร สุสานทุ่งมน วัดเพชรบุรี เมื่อเช้าวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๖๕ เข้าสู่มณฑลพิธีงานบุญประจำปี วันคล้ายวันมรณภาพ ๘ ปี โดยมีคณะสงฆ์ตำบล และคณะกรรมการวัดเพชรบุรี ร่วมขบวนแห่ตั้งแต่บ้านรุน และต้อนรับที่ปราสาทเพชร

การปกครองคณะสงฆ์

สมณศักดิ์

ผลงาน คุณูปการ เกียรติคุณ

อ้างอิง