ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พัฒนาการความคิด ช่วงปี 2540-2541"

จาก wiki.surinsanghasociety
ไปยังการนำทาง ไปยังการค้นหา
(สร้างหน้าด้วย "==ปี 2540== *๑๒ มกราคม ๒๕๔๐ เขียนจดหมาย ถึงศิษย์เก่า ร.ร.บ้านทุ...")
 
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
แถว 13: แถว 13:
 
*๕ มีนาคม ๒๕๔๐ ระเบียนแสดงผลการเรียนการศึกษานอกโรงเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย รย.๒  รหัสประจำตัว ๖๖๐๖-๓๘๑๓-๐๐๔๔-๕  ชื่อ วีระ ได้ทุกทาง เข้าเรียนเมื่อภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๓๘  ผลการเรียนเฉลี่ย ๒.๒๕  วันอนุมัติการจบหลักสูตร ๑๑ ตุลาคม ๒๕๓๙  ออกเมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๓๙    เหตุที่ออก จบหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย  สถานศึกษา ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอปราสาท อำเภอปราสาท  จังหวัดสุรินทร์
 
*๕ มีนาคม ๒๕๔๐ ระเบียนแสดงผลการเรียนการศึกษานอกโรงเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย รย.๒  รหัสประจำตัว ๖๖๐๖-๓๘๑๓-๐๐๔๔-๕  ชื่อ วีระ ได้ทุกทาง เข้าเรียนเมื่อภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๓๘  ผลการเรียนเฉลี่ย ๒.๒๕  วันอนุมัติการจบหลักสูตร ๑๑ ตุลาคม ๒๕๓๙  ออกเมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๓๙    เหตุที่ออก จบหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย  สถานศึกษา ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอปราสาท อำเภอปราสาท  จังหวัดสุรินทร์
 
*เมษายน ๒๕๔๐ จัดบวชสามเณรภาคฤดูร้อน รุ่น ๒  บวช ณ วัดสุวรรณวิจิตร  จำนวน ๔๕ รูป
 
*เมษายน ๒๕๔๐ จัดบวชสามเณรภาคฤดูร้อน รุ่น ๒  บวช ณ วัดสุวรรณวิจิตร  จำนวน ๔๕ รูป
 +
* พ.ค. สมัครเรียน มจร.วข.สุรินทร์ ป.ตรี
 
*พฤษภาคม ๒๕๔๐ พระมหาวีระ  กิตฺติวณฺโณ    เข้าศึกษาระดับอุดมศึกษา ณ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ วิทยาเขตสุรินทร์  (พักอยุ่วัดสุวรรณวิจิตร รอบ ๒)
 
*พฤษภาคม ๒๕๔๐ พระมหาวีระ  กิตฺติวณฺโณ    เข้าศึกษาระดับอุดมศึกษา ณ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ วิทยาเขตสุรินทร์  (พักอยุ่วัดสุวรรณวิจิตร รอบ ๒)
 
*พฤษภาคม ๒๕๔๐  พระมหาวีระ  กิตฺติวณฺโณ    เป็นครูสอน บาลีไวยากรณ์ ประโยค ๑-๒ ณ วัดสุวรรณวิจิตรวิทยา ต.กังแอน
 
*พฤษภาคม ๒๕๔๐  พระมหาวีระ  กิตฺติวณฺโณ    เป็นครูสอน บาลีไวยากรณ์ ประโยค ๑-๒ ณ วัดสุวรรณวิจิตรวิทยา ต.กังแอน
แถว 21: แถว 22:
 
*เมษายน ๒๕๔๑ จัดบวชสามเณรภาคฤดูร้อน รุ่น ๓  บวช ณ วัดสุวรรณวิจิตร  จำนวน ๙๙ รูป
 
*เมษายน ๒๕๔๑ จัดบวชสามเณรภาคฤดูร้อน รุ่น ๓  บวช ณ วัดสุวรรณวิจิตร  จำนวน ๙๙ รูป
 
*เมษายน พ.ศ.๒๕๔๑  พระวีระ กิตฺติวณฺโณ  ดำเนินงานจัดผ้าป่าสามัคคีจากกรุงเทพฯ จัดทำห้องซาวด์แลป  มอบโรงเรียนบ้านทุ่งมน (ริมราษฎร์นุสรณ์)
 
*เมษายน พ.ศ.๒๕๔๑  พระวีระ กิตฺติวณฺโณ  ดำเนินงานจัดผ้าป่าสามัคคีจากกรุงเทพฯ จัดทำห้องซาวด์แลป  มอบโรงเรียนบ้านทุ่งมน (ริมราษฎร์นุสรณ์)
* พ.ค. สมัครเรียน มจร.วข.สุรินทร์ ป.ตรี
+
 
 
*๒๕  มิถุนายน  ๒๕๔๑  พระมหาวีระ กิตฺติวณฺโณ  อายุ ๒๗ พรรษา ๗  นักธรรมเอก  เปรียญธรรม ๓ ประโยค วัดสะเดา  ตำบลทุ่งมน  รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสะเดา ตำบลทุ่งมน    ตราตั้งที่๓๗/๒๕๔๑  ลงนามโดย พระราชวิสุทธิเมธี เจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์
 
*๒๕  มิถุนายน  ๒๕๔๑  พระมหาวีระ กิตฺติวณฺโณ  อายุ ๒๗ พรรษา ๗  นักธรรมเอก  เปรียญธรรม ๓ ประโยค วัดสะเดา  ตำบลทุ่งมน  รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสะเดา ตำบลทุ่งมน    ตราตั้งที่๓๗/๒๕๔๑  ลงนามโดย พระราชวิสุทธิเมธี เจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์
  

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:41, 7 สิงหาคม 2565

ปี 2540

  • ๑๒ มกราคม ๒๕๔๐ เขียนจดหมาย ถึงศิษย์เก่า ร.ร.บ้านทุ่งมน(ริมราษฎร์นุสรณ์) ขอร่วมจัดผ้าป่าเพื่อการศึกษา เมษายน ๒๕๔๐

วัดดอน กรุงเทพฯ
๑๒ มกราคม ๒๕๔๐
เจริญพร ศิษย์เก่าโรงเรียนบ้านทุ่งมน(ริมราษฎร์นุสรณ์) ทุกๆท่าน ขึ้นปีใหม่แล้วคงสดใสกันทุกคนน่ะ อาตมา/ข้าพเจ้า พระมหาวีระ กิตติวัณโณ (ได้ทุกทาง) ขอพบปะ ขอพูดคุยกับท่านหน่อย ในโอกาสนี้ขอกล่าวถึงสถานที่ที่เราๆท่านๆ เคยอยู่มาก่อน เคยเรียน เคยเข้าไปรับเอาสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิตความเป็นอยู่
บ่อยหลายครั้งที่คุณครูโรงเรียนบ้านทุ่งมนฯได้พูดคุยปรารภถึงและความต้องการความช่วยเหลือ ต้องการที่จะให้ศิษย์เก่าทางกรุงเทพฯปริมณฑล ช่วยเหลือโรงเรียน ท่านคนหนึ่งที่อาจจะเคยได้รับทราบจากคุณครูมาแล้ว ความที่เคยเป็นศิษย์มาก่อน เคยศึกษา ณ สถานที่นี้ทุกคนก็รู้สึกเหมือนข้าพเจ้าอยากช่วยเหลือโรงเรียนให้เจริญ อยากช่วยคุณครูให้ท่านเบาใจ ลดความหนักอกหนักใจ ปัญหาลดน้อยลงอยากช่วยเหลือน้องๆให้ได้ศึกษาอย่างสร้างสรรค์และความรู้สึกดี ๆอื่นๆ
ตั้งแต่ปี ๒๕๓๙ โรงเรียนของเราถูกจัดให้เป็นโรงเรียนแกนนำปฏิรูปทางการศึกษาเป็นโรงเรียนแรกในตำบล ในระบบปฏิรูปจะมีแผนงานที่ดีๆหลายอย่างและอย่างหนึ่งคือการมีส่วนร่วมของชุมชนการจัดการศึกษา จะต้องได้รับความร่วมมือสนับสนุนจากชุมชนศิษย์เก่าและบุคคลทั่วไป
วันที่ ๖ มกราคม ที่ผ่านมาทางคณะกรรมการสถานศึกษาได้ประชุมกัน และมีเรื่องการระดมทุนเข้าสู่ที่ประชุมด้วย ทางคณะกรรมการได้แสดงความรู้สึกยินดีอยากให้ศิษย์เก่าทางกรุงเทพฯปริมณฑล ช่วยกันระดมทุนเข้าสู่โรงเรียน และครูกับข้าพเจ้าเข้ามากรุงเทพฯ เพื่อชักชวนบอกข่าวที่น่ายินดีนี้
สงกรานต์ปีนี้ เชิญท่านแสดงความรู้สึกที่ดีๆต่อโรงเรียนต่อคุณครู น้องๆของเรา ร่วมกันเสียสละบริจาคและชักชวนญาติมิตรใกล้ชิดบอกศิษย์เก่าต่อๆกันไปให้ทราบทุกคนได้มามีส่วนร่วมสามัคคีกัน หวังว่าท่านจะไม่พลาดโอกาสที่ดีต่อชีวิตอย่างนี้ ปีใหม่ทั้งทีเติมความคิดความรู้สึกที่ดีแก่ชีวิตกัน
เจริญพร
พระมหาวีระ กิตติวัณโณ ศิษย์เก่าผู้หนึ่ง

  • ๕ มีนาคม ๒๕๔๐ ระเบียนแสดงผลการเรียนการศึกษานอกโรงเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย รย.๒ รหัสประจำตัว ๖๖๐๖-๓๘๑๓-๐๐๔๔-๕ ชื่อ วีระ ได้ทุกทาง เข้าเรียนเมื่อภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๓๘ ผลการเรียนเฉลี่ย ๒.๒๕ วันอนุมัติการจบหลักสูตร ๑๑ ตุลาคม ๒๕๓๙ ออกเมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๓๙ เหตุที่ออก จบหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย สถานศึกษา ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอปราสาท อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
  • เมษายน ๒๕๔๐ จัดบวชสามเณรภาคฤดูร้อน รุ่น ๒ บวช ณ วัดสุวรรณวิจิตร จำนวน ๔๕ รูป
  • พ.ค. สมัครเรียน มจร.วข.สุรินทร์ ป.ตรี
  • พฤษภาคม ๒๕๔๐ พระมหาวีระ กิตฺติวณฺโณ เข้าศึกษาระดับอุดมศึกษา ณ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ วิทยาเขตสุรินทร์ (พักอยุ่วัดสุวรรณวิจิตร รอบ ๒)
  • พฤษภาคม ๒๕๔๐ พระมหาวีระ กิตฺติวณฺโณ เป็นครูสอน บาลีไวยากรณ์ ประโยค ๑-๒ ณ วัดสุวรรณวิจิตรวิทยา ต.กังแอน
  • ๗ กรกฎาคม ๒๕๔๐ ศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทยและคณะกรรมการจัดหาและบริการดวงตาสภากาชาดไทย ประกาศว่า พระภิกษุวีระ กิตติวัณโณ ได้แสดงความจำนงอุทิศดวงตาภายหลังถึงแก่กรรมแล้ว ให้สภากาชาดไทย เพื่อสภากาชาดไทยจะได้ใช้ดวงตา ให้เป็นประโยชน์แก่เพื่อมนุษย์ต่อไป
  • ๒ ธันวาคม ๒๕๔๐ พระอธิการเพลียด สิริปญฺโญ อดีตเจ้าอาวาสวัดสะเดารัตนาราม มรณภาพ เก็บศพไว้

ปี 2541

  • เมษายน ๒๕๔๑ จัดบวชสามเณรภาคฤดูร้อน รุ่น ๓ บวช ณ วัดสุวรรณวิจิตร จำนวน ๙๙ รูป
  • เมษายน พ.ศ.๒๕๔๑ พระวีระ กิตฺติวณฺโณ ดำเนินงานจัดผ้าป่าสามัคคีจากกรุงเทพฯ จัดทำห้องซาวด์แลป มอบโรงเรียนบ้านทุ่งมน (ริมราษฎร์นุสรณ์)
  • ๒๕ มิถุนายน ๒๕๔๑ พระมหาวีระ กิตฺติวณฺโณ อายุ ๒๗ พรรษา ๗ นักธรรมเอก เปรียญธรรม ๓ ประโยค วัดสะเดา ตำบลทุ่งมน รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสะเดา ตำบลทุ่งมน ตราตั้งที่๓๗/๒๕๔๑ ลงนามโดย พระราชวิสุทธิเมธี เจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์
  • พ.ศ.๒๕๔๑ เขียนบทความ การศึกษา

ปฏิรูปสังคมเพื่อการศึกษา
๑. การศึกษา คือ การบีบคั้นกันทางจิตใจ
๒. การศึกษา คือ การแยกคนออกจากกันในองค์กร ด้วยอายุ เพศ ฐานะ สถานะ ฯ
๓. การศึกษา คือ จุดเริ่มต้นที่จะนำไปสู่จุดหมายปลายทาง
๔. การศึกษา คือ สภาพจำยอม อดกลั้น เพื่อความสมหวัง ความสุข ที่ปลายทาง
๕. การศึกษา คือ การพัฒนาสังคม จัดระเบียบชีวิตเขา ให้อยู่ในกรอบที่เขาไม่เข้าใจ
๖. การศึกษา คือ การพัฒนาคุณภาพชีวิต
๗. การศึกษา คือ การยกระดับความรู้
๘. การศึกษา คือ ยกระดับความสามารถทางอาชีพ
๙. การศึกษา คือ พัฒนาสังคมให้อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข
๑๐. การศึกษา คือ การจัดระบบ ประสบการณ์ให้ผู้เรียน เรียนรู้ตนเอง
๑๑. การศึกษา คือ การเรียนรู้ เพื่อไว้แก้ปัญหา
๑๒. การศึกษา คือ การพัฒนาขันธ์ ๕
๑๓. การศึกษา คือ การปฏิบัติธรรม
๑๔. การศึกษา คือ การเรียนรู้วิธีแก้ปัญหา ขจัดปัญหา
๑๕. การศึกษา คือ การทำความหลุดพ้นจากปัญหา
๑๖. การศึกษา คือ การพัฒนาจิตไม่ให้อยู่ในสภาวะบีบคั้น ขัดแย้ง เป็นทุกข์
ฯลฯ
• การศึกษา คือ ขณะนั้นมีจิตยินดีมองหาปัญหา (ความทุกข์) ขณะเห็นปัญหาก็รู้ทัน มีจิตเป็นสังขาร วางทัศนะที่ดีต่อปัญหานั้น แล้วทำการแก้ปัญหาด้วยอุเบกขา มองดูปัญหาแล้วคิดว่า มันเป็นอุปกรณ์แห่งการฝึกตน จึงเพิ่มความเพียรอยู่เสมอ ทั้งมีสติไม่ประมาทในปัญหาที่กำลังแก้ ขจัดอยู่ หรือปัญหาที่ยังไม่มาถึง นับว่ามีความสามารถจับปัญหามาแก้ ขจัดออกเสียก่อนที่มันจะบีบคั้น รัดรึง กดดัน ฝืน ขัดแย้ง เป็นทุกข์ ในตนเอง จนมีความคิดว่าปัญหาเป็นอาหารของจิตวิญญาณ พระเสขะจำต้องอาศัยปัญหาในการฝึกตน เพื่อให้หลุดพ้นจากปัญหา ทำปัญหานั้นให้เป็นของธรรมชาติ แล้วพระอเสขะก็มีจิตที่เป็นอิสระต่อปัญหา
เมื่อเอาการศึกษาในข้อสุดท้ายนี้แล้ว ถ้าใครไม่มีปัญหาในขณะที่ยังเป็นเสขบุคคลอยู่ หรือมองไม่เห็นปัญหาทั้งที่ชีวิตมีปัญหาในทุก ๆ ชีวิต ผู้ใดนั้นจะต้องประสบกับความทุกข์ ทุกข์เพราะไม่รู้ทุกข์ เขานั้นขณะนั้นไม่ได้ทำการศึกษาเลย คนหลายคนในปัจจุบันนี้กำลังตกอยู่ในสภาวะนี้กันเป็นอย่างมาก จะถือว่า เขามีการศึกษาได้อย่างไร ทั้งที่เขากำลังถูกบอกว่านี่แหล่ะการศึกษา
การศึกษาไทย ทำให้ประชาชนมีการศึกษาที่บรรลุผลมาทางท้าย ๆ ดังที่กล่าวไว้นี้ คงจะมีน้อยมาก ที่มีบ้างก็คงจะเป็นผลว่า คนนั้น ๆ มีความคิดความอ่านดีเองก่อนแล้ว (โยนิโสมนสิการ) หรือมีปรโตโฆสะที่ดีอย่างมาก ส่วนใหญ่แล้วจะยังอยู่ในแบบข้อต้น ๆ ยิ่งในทุกวันนี้เหล่าเยาวชนผู้เล่าเรียนกำลังมีความทุกข์หนัก เนื่องจากปรโตโฆสะ สังคม สิ่งแวดล้อม ไม่เอื้ออำนวยพอจะดล ผลักดันความคิดความอ่านดี ๆ ได้มากนัก โยนิโสมนสิการของเด็กเหี่ยวเฉาไปเรื่อย ๆ อย่ากล่าวแต่เด็กเลย ผู้ใหญ่ก็ประสบกับปัญหาคาในอกกันอย่างมาก จนทำให้เกิดการถ่ายทอดสิ่งไม่ดีไปสู่เด็ก เพราะสังคมไทยในสภาพปัจจุบันมีโครงสร้างทางสังคมที่ไม่เอื้อ ไม่อำนวยประโยชน์ ในการเคลื่อนไหวพัฒนา เปลี่ยนแปลงนำองคาพยพไปสู่ที่ดีขึ้นได้ มีแต่หนักอึ้งขึ้นเรื่อย ๆ ดังผ้านวมที่อุ้มน้ำ ปัญหาทางการบริหารสังคม การเคลื่อนไหวทางสังคมทุกด้าน เช่น การบริหารจัดการศึกษาไม่ทันต่อปัญหา และสถานการณ์ องค์กรไม่คล่องตัวที่จะแก้ไขปัญหาได้ หรือเคลื่อนไหวในการพัฒนาได้ ในหลักการของการพัฒนามนุษย์นั้น ท่านพระธรรมปิฎก สรุปไว้ว่า
๑. มั่นใจในตัวเราที่เป็นมนุษย์ ซึ่งเป็นสัตว์ที่ฝึกฝนพัฒนาได้ มีศักยภาพที่จะทำความเจริญงอกงามสู่ความสมบูรณ์
๒. สำนึกในหน้าที่ของมนุษย์ว่าจะต้องศึกษา ฝึกฝนพัฒนาตน เพื่อให้มีชีวิตที่ดีงาม จะปล่อยปละละเลยไม่ได้
เพียง ๒ ข้อนี้ จะเห็นได้ว่าระบบการบริหารการจัดการศึกษาไทยยังไม่เอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองเลย ซ้ำขัดขวางการพัฒนาของประชาชนอีกด้วย
การศึกษา จะต้องเป็นการแก้ไขปัญหาครบวงจรทุกด้านของชีวิตหนึ่ง ๆ ตลอดไปถึงการแก้ไขปัญหา พร้อมพัฒนาองค์กรเล็กใหญ่ต่าง ๆ ด้วย ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งและที่สุดที่จะต้องให้มีการเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง โครงสร้างของการบริหารสังคมทุก ๆ ด้าน ให้มีความคล่องตัว สอดคล้องกับการที่จะต้องรีบแก้ปัญหา เป็นการให้การศึกษาแก่มนุษย์ผู้มีศักยภาพในการพัฒนาตนเองและตลอดเวลา อย่างปล่อยปละละเลยไม่ได้
ให้จัดองค์แห่งการแก้ไขปัญหาและพัฒนามีขนาดเป็นตำบล เพราะการจัดเป็นตำบลจะดูเหมาะสมที่สุด ถ้าเล็กกว่านั้น กำลังจะน้อยในการพัฒนา ถ้าใหญ่กว่าตำบลจะใหญ่เกินแก้ปัญหา องค์กรตำบลนี้จะเป็นองค์หลักและต้องให้ความสำคัญให้มากเท่าระดับประเทศ ทำให้คนในตำบลนั้นเกิดความรู้สึกว่าเขาเป็นสังคมที่ต้องพึ่งอาศัยตนเองจริง ๆ องค์กรบริหารในตำบลต้องหลากหลายอาชีพ หลายสถาบันที่มีอยู่ในตำบลนั้น ๆ หรือทุกสถาบันสังคมต้องมาช่วยกันในองค์กรตำบล เท่านั้นยังไม่พอต้องให้คนในตำบลมีความรู้สึกว่าเป็นองค์กรที่ทุกคนในตำบลนั้นสัมผัสได้
เมื่อมีองค์กรตำบลที่คนทุกคนมีส่วนร่วมแล้ว ให้เขาคิดปัญหาเอาเอง ให้มองปัญหาของเขาเอง ให้เขามีอำนาจในการแก้ไขตัดสินใจของเขาเอง
การเข้าไปจัดการแก้ปัญหาให้ทุกอย่าง ผิดหลักอุเบกขา เขาจะไม่ตื่นตัว จะไม่เรียนรู้ บางครั้งจำต้องเจ็บเพื่อให้เกิดความจำ เขาจะได้หาวิธีป้องกันและแก้ปัญหาพัฒนาต่อไปเอง ถ้ายังไปช่วยเขาจะพากันหันหลังให้ เมื่อไม่ได้ช่วยคิดก็จะไม่ได้รับความร่วมมือต่อไป การให้การศึกษาไม่ควรอย่างยิ่งที่จะให้อะไรที่เป็นสูตรสำเร็จแก่ผู้ไม่รู้ ต้องปล่อยเขาบ้างให้มีการเรียนรู้ด้วยกลุ่มเขาเอง สถาบันการศึกษาก็ต้องอยู่ในการบริหารขององค์กรตำบลด้วย
ปฏิรูปสังคมเพื่อการศึกษา ทรัพยากรทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปเพื่อการศึกษา
- เพื่อมีความสอดคล้องกับวัฒนธรรม จารีต ประเพณี ความสงบสุข สันติภาพ
- เพื่อเกิดความสัมพันธ์ใกล้ชิดควรช่วยเหลือกันในสังคม
- เพื่อการแก้ปัญหาทุก ๆ ด้าน และพัฒนาคนเป็นหลัก
- เพื่อการพัฒนายกระดับจิตใจแห่งความเป็นมนุษย์
- เพื่อสาราณียธรรมของสังคม

ปรโตโฆสะ (กัลยาณมิตร)
พื้นฐานการศึกษา ปรัชญาการศึกษา การศึกษากับชุมชน
คณาจารย์ ม.มจร.วข.สร. ศ.ประเวศ วะสี พระธรรมปิฎก
ตำราพระพุทธศาสนา ฯลฯ

โยนิโสมนสิการ โดย
พระมหาวีระ กิตฺติวณฺโณ กรรมการพระนิสิตฝ่ายวิชาการ พระนิสิตปี ๒ คณะครุศาสตร์ (๒๕๔๑) มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์

  • สิงหาคม ๒๕๔๑ พระมหาวีระ กิตฺติวณฺโณ เขียนบทความ การศึกษาเพื่อการพัฒนาชีวิตที่ยั่งยืน และ การปฏิรูปสังคมเพื่อการศึกษา

การศึกษาเพื่อการพัฒนาชีวิตที่ยั่งยืน
พระมหาวีระ กิตฺติวณฺโณ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๔๑

• การศึกษาเล่าเรียน(กระทำ)ต่อสิ่งรู้ องค์ความรู้ สิ่งที่จิตรับรู้ ในเหตุการณ์ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตที่เป็นจริงและเป็นปัจจุบัน เช่นวันนี้ มีเหตุการณ์ทางธรรมชาติ (สุริยุปราคา) มันมีเหตุผล ความจริงอย่างไร แล้วเราจะแสดงกระทำต่อความรู้นี้อย่างไร ขณะนี้เรามาทำบุญถวายทานก็ต้องทำความรู้ถึงเหตุผล ประโยชน์จากการกระทำนี้เช่นกันฯ
- สิ่งรู้ที่ไม่ตรงกับชีวิตที่เป็นจริงในปัจจุบัน จะก่อให้เกิดการสับสน เพราะกระบวนการการจัดเก็บข้อมูล (สังขารที่กระทำต่อสัญญา)ไม่สมบูรณ์ เป็นประหนึ่งว่า ได้สิ่งที่ไม่สามารถนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ ไม่สามารถประยุกต์ความรู้มาใช้กับชีวิตประจำวันได้ เสมือนทานอาหารเข้าไปแล้วแต่ระบบการย่อยอาหารไม่ทำงาน อย่างนี้ก็กลับเป็นโทษมากกว่าประโยชน์ ข้อมูลรกสมอฯ
- สิ่งรู้ อยู่ใกล้ตัว บางทีที่น่าจะนำไปใช้เป็นปัจจุบันได้ แต่ถ้าสิ่งรู้นั้นไม่ถูกนำไปใช้ ให้ผ่านไปแล้ว สิ่งรู้นั้นก็รกสมองเช่นกัน สิ่งรู้นี้จะก่อให้เกิดความอัดอั้นตันใจ บีบคั้น ขัดเคือง ไม่สบายใจ เป็นทุกข์ได้ ฉะนั้นเมื่อรู้อะไรที่สามารถนำไปใช้ได้ทันทีก็รีบปฏิบัติทันที เพื่อจะช่วยแบ่งเบาข้อมูลที่ถูกจัดเก็บไว้แล้วเบาบางขึ้น (จัดการต่อความรู้เป็น)ฯ
- สิ่งรู้ที่เป็นทฤษฎีให้รีบแปลเป็นภาคปฏิบัติให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่อย่างนั้นแล้วจะก่อให้เกิดโทษได้เหมือนกัน (ศูนย์ข้อมูลจะล้า หนักใจต่อการเก็บข้อมูล) ภาคปฏิบัติต้องเป็นประโยชน์ต่อคนอื่นด้วย เพื่อป้องกันความสับสนของกระบวนการเรียนรู้ของผู้อื่นเช่นกันฯ
• มีความพอใจ(ฉันทะ)ในสิ่งรู้นั้น มีความสุขที่ได้รู้ เหมือนได้คนพบสิ่งที่ยิ่งใหญ่ สำคัญต่อชีวิตตนฯ
• นำใช้ได้ในชีวิตประจำวัน ทางกาย วาจา (รูปธรรม) ใจ ทัศนคติ (นามธรรม) ทำกิจเพื่อศรัทธาตนเองให้ได้
• เกิดความภูมิใจต่อตนเอง(ศรัทธาตน)
วิธีสร้างความศรัทธาตน -กระทำต่อข้างนอกก่อน ด้วยโยนิโสมนสิการ ก่อให้เกิดศรัทธาแบบอย่าง น้อมนำมาใส่ตน แล้วเพิ่มเติมเต็มที่ตนให้มากพอแก่การศรัทธาตนในที่สุด -ข้อระวัง อย่าลัดขั้นตอน มาศรัทธาตนเองก่อน มิฉะนั้นจะเกิดความผิดพลาดกระบวนธรรมได้ เกิดผลที่ต่างไปไม่น่าปรารถนา ขณะที่ศรัทธาตนอยู่ก็อย่าละเลยศรัทธาต่อข้างนอก พระพุทธศาสนามุ่งสอนให้คนมีการพัฒนาตนเองจนเกิดความสุข เป็นไท อิสระต่อปัญหา
ฯลฯ (บันทึกลงคอมอีกครั้ง ๒ ก.ค.๒๕๖๒ บทความนี้ เกิดขึ้น ขณะเป็นพระนิสิต มจร.วข.สุรินทร์ ปี ๒ พักอาศัยอยู่วัดสุวรรณวิจิตร ผ่านการอ่านหนังสือพุทธธรรม , ฟังมงคลชีวิต แล้ว)


  • ธันวาคม ๒๕๔๑

นโยบายวัดสะเดารัตนาราม
บันทึกเมื่อ ธันวาคม ๒๕๔๑
เส้นทางที่ดำเนินอยู่
๑. การพัฒนาถือว่าเป็นภาระร่วมกันของทุกคนทุกฝ่าย
๒. สร้างกระบวนการกลุ่มให้คนทุกคนร่วมมือร่วมใจกัน
๓. สร้างระบบพัฒนาข้อมูล โปร่งใส ตรวจสอบได้
๔. ระดมทุน ระดมคน ระดมธรรม
ฯลฯ
ภาพฝันที่อยากให้เป็นไป
๑. ภาพวัสดุอุปกรณ์
- อุปกรณ์สำนักงาน
- อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
- สื่อการเรียนการสอนทุกชนิด
- อุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการศึกษา พัฒนา อบรม
๒. ภาคอาคารสถานที่
- มีพัทธสีมาที่ประหยัดเรียบง่ายถูกต้องตามพระวินัย
- อาคารทำกิจกรรมขนาดใหญ่ สร้างอย่างประหยัดประโยชน์สูง
- ห้องสมุด ห้องสำนักงานถาวร
- สถานที่ร่มรื่น สะอาด สงบ เป็นอุทยานการศึกษาพระธรรม
๓. ภาคบุคลากร
- มีใจใฝ่ในการพัฒนาตนเองและหมู่คณะ
- มีความสามารถ สมรรถนะภาพ คุณภาพ
- ศรัทธาแนวทางและอุดมการณ์ร่วมกัน
- ศรัทธาเลื่อมใสในการปฏิบัติตามแนวพระพุทธศาสนา
๔. ภาคกิจกรรม
- พัฒนาการศึกษาสงฆ์ - พัฒนาองค์กรวัด -อบรมธรรมทายาทบรรพชาหมู่
- อบรมเยาวชน ประชาชน -ดูแลเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ - ประเพณีวัฒนธรรม
ฯลฯ