ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พัฒนาการความคิด ช่วงปี 2555"

จาก wiki.surinsanghasociety
ไปยังการนำทาง ไปยังการค้นหา
 
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
แถว 98: แถว 98:
  
 
*๑๔-๑๕ กันยายน ๒๕๕๕  ร่วมถอดบทเรียนพื้นที่ดำเนินโครงการสร้างคุณภาพเด็กและเยาวชน (วัยใสใส่ใจทำดี Teen To Be Good)  ณ โรงแรมทาวน์ อิน ทาวน์  ถนนศรีวรา เขตวังทองหลาง  กรุงเทพฯ<br>
 
*๑๔-๑๕ กันยายน ๒๕๕๕  ร่วมถอดบทเรียนพื้นที่ดำเนินโครงการสร้างคุณภาพเด็กและเยาวชน (วัยใสใส่ใจทำดี Teen To Be Good)  ณ โรงแรมทาวน์ อิน ทาวน์  ถนนศรีวรา เขตวังทองหลาง  กรุงเทพฯ<br>
 +
==โครงการการเสริมสร้างศักยภาพผู้นำท้องถิ่นในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชาสู่ความสัมพันธ์ที่ยั่งยืน==
 
*๒๑ กันยายน ๒๕๕๕  มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) มอบใบประกาศนียบัตรฉบับนี้ให้ไว้เพื่อแสดงว่า พระมหาวีระ  กิตติวัณโณ ได้เข้าร่วมอบรมการเสริมสร้างศักยภาพผู้นำท้องถิ่นในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา รุ่นที่ 1 โครงการการเสริมสร้างศักยภาพผู้นำท้องถิ่นในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชาสู่ความสัมพันธ์ที่ยั่งยืน  ภายใต้ชุดโครงการภาษาและวัฒนธรรมหลักประการของสังคมสุขภาวะสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย  มหาวิทยาลัยมหิดลร่วมกับสำนักงานกองทุนส่งเสริมการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)<br>
 
*๒๑ กันยายน ๒๕๕๕  มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) มอบใบประกาศนียบัตรฉบับนี้ให้ไว้เพื่อแสดงว่า พระมหาวีระ  กิตติวัณโณ ได้เข้าร่วมอบรมการเสริมสร้างศักยภาพผู้นำท้องถิ่นในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา รุ่นที่ 1 โครงการการเสริมสร้างศักยภาพผู้นำท้องถิ่นในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชาสู่ความสัมพันธ์ที่ยั่งยืน  ภายใต้ชุดโครงการภาษาและวัฒนธรรมหลักประการของสังคมสุขภาวะสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย  มหาวิทยาลัยมหิดลร่วมกับสำนักงานกองทุนส่งเสริมการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)<br>
 
*[[ไฟล์:014.jpg|thumb]]
 
*[[ไฟล์:014.jpg|thumb]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 10:00, 14 พฤษภาคม 2565

  • พฤษภาคม ๒๕๕๕ เริ่มจัดรายการวิทยุกระจายเสียง ทุ่งมนสว่างกลางใจ ณ วัดสะเดารัตนาราม อย่างจริงจัง ดำเนินจัดรายการวิทยุด้านสุขภาพ(สุขภาวะ ๔ ด้าน)ในวัด คลื่น 98.75 เริ่ม ๒๕๕๕
  • พ.ศ. ๒๕๕๕ ถอดบทเรียน ผลงาน/แผนงาน พระมหาวีระ กิตฺติวณฺโณ วัดสะเดารัตนาราม ต.ทุ่งมน

ประเด็นสุขภาพ

อดีต

- เริ่มเขียนประวัติศาสตร์ชุมชน เมื่อ ๒๕๓๘
- เริ่มเป็นวิทยากรค่ายอบรมนักเรียน ๒๕๓๙
- ติดตามการขับเคลื่อนงานร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐
- ติดตามการขับเคลื่อน ร่างกฎหมาย พรบ.การศึกษาแห่งชาติ ปี ๒๕๔๒
- ติดตามการขับเคลื่อนงานร่วมเวทีร่างธรรมนูญสุขภาพ แต่ต้น ๆ
- ฯลฯ
- จัดตั้ง กศน.ในวัด ๒๕๔๒
- เริ่มดำเนินกิจกรรมป่าชุมชนกำไสจาน/ห้วยน้ำชี ๒๕๔๔
- ประสานงานพัฒนากลุ่มเยาวชนในตำบลทุกรูปแบบ
- จัดตั้งสถานีวิทยุทุ่งมน สมุด ปรือ ๒๕๔๖
- จัดงานเทเหล้าเผาบุหรี่ในวัดและกิจกรรมระดับจังหวัด ๒๕๔๖-๔๗
- จัดตั้งสถานีวิทยุในวัด ๒๕๔๘
- เขียนประวัติผังเครือญาติ
- จัดตั้งกองบุญคุณธรรม สวัสดิการวันละบาทระดับตำบลและจังหวัด
- ริเริ่มจัดตั้งสภาเด็กและเยาวชนตำบลทุ่งมน
- ทอดผ้าป่าขยะ
- แกนนำโครงการวัดปลอดเหล้าฯ จ.สุรินทร์
- แซนโฎนตาปลอดเหล้าระดับตำบล /จังหวัด
- ผลักดันกฎหมาย พรบ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- คณะทำงานควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จังหวัด
- คณะทำงานขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดสุรินทร์
- จัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบลทุ่งมน
- ริเริ่มจัดตั้งวิทยุสื่อสาร ข่ายดำและแดง
- จัดกิจกรรมพัฒนาจิตใจ หลาย ๆ ครั้ง
- เป็นคณะทำงานระดับตำบล และจังหวัด หลาย ๆ ด้าน
- ฯลฯ

ปัจจุบัน

เริ่ม ๒๕๕๕
- ดำเนินจัดรายการวิทยุด้านสุขภาพ(สุขภาวะ ๔ ด้าน)ในวัด คลื่น 98.75 เริ่ม ๒๕๕๕
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
- รณรงค์เรื่องลดปัจจัยเสี่ยงโรค ผ่านภัตตาหารถวายพระ
- บริหารวัดแบบพระทั้งวัดมีส่วนร่วม (สังคมสังฆะ)
- ดำเนินกิจกรรมสานสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา อย่างยั่งยืน
- ดำเนินกิจกรรมกองบุญคุณธรรมครอบครัวอบอุ่นชุมชนเข้มแข็งและกองบุญออมเพื่อการศึกษา โดยใช้วัดเป็นฐาน
- ตามข่าวคณะทำงานขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดสุรินทร์
- ปลูกกล้วย ปลูกผัก ในวัดเป็นศูนย์เรียนรู้
- ดำเนินการทุกด้านบูรณาการสุขภาวะ ๔ ด้าน กาย สังคม จิตปัญญา
- บูรณาการ ๑.สุขภาพ ๒.อาเซี่ยน ๓.ชุมชนจัดการตนเอง ๔.ศูนย์เรียนรู้
- ฯลฯ

อนาคต

เริ่ม ๒๕๕๖
- ติดตั้งไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในวัดเป็นศูนย์เรียนรู้
- สร้างเตาเผาพลาสติกให้เป็นน้ำมัน ในวัดเป็นศูนย์เรียนรู้
- สร้างเตาเผาถ่านประหยัดพลังงาน ในวัดเป็นศูนย์เรียนรู้
- พัฒนาวัดสู่องค์กรตัวอย่าง ด้านการใช้พลังงานทดแทน พลังงานหมุนเวียน
- จัดกิจกรรมรวมพลคนมีอุดมการณ์ลดปัจจัยเสี่ยงโรคที่วัด
- ฯลฯ

  • ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๕ บันทึก ยุทธศาสตร์และเป้าหมายในการทำงานพัฒนา

ของ พระมหาวีระ กิตฺติวณฺโณ
วัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่น เป็นเครื่องมือในงานพัฒนา (งานสร้างสุข)
๑. เติมเต็มคุณค่าทางสังคม รวบรวมมูลค่าจากบุคคล ให้กลายเป็นทุน เกื้อกูลคุณค่างาน
๒. สร้างสรรค์
๓. คนใจดีไม่ทอดทิ้งกัน ปฏิรูปชุมชนท้องถิ่นอยู่ดีมีสุข
๔. ครอบครัวอบอุ่น มีความมั่นคงทางอาหาร
๑๓ พ.ค. ๕๕

  • อาทิตย์ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๕

ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพทอดผ้าป่าสามัคคีรวมพลังคนใจดี สร้างสุรินทร์เป็นสุข
ขับเคลื่อนการพัฒนาสังคมจังหวัดสุรินทร์ “กองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมจังหวัดสุรินทร์”
อาทิตย์ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ๑๐.๐๐ น. ณ สนามหน้าศาลากลางจังหวัดสุรินทร์


หลักการตาม พรบ.ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. ๒๕๔๖ ให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนาและองค์กรอื่น รวมทั้งหน่วยงานของรัฐและภาคเอกชน มีส่วนร่วมหรือบทบาทในการจัดสวัสดิการสังคม ขับเคลื่อนการพัฒนาสังคมจังหวัดสุรินทร์ เพื่อจัดบริการทางสังคมซึ่งเกี่ยวกับการป้องกัน การแก้ไขปัญหา การพัฒนา และการส่งเสริมความมั่นคงทางสังคม ทางครอบครัว ในโครงการรวมพลังคนใจดี สร้างสุรินทร์เป็นสุข ทอดผ้าป่าสามัคคีขับเคลื่อนการพัฒนาสังคมจังหวัดสุรินทร์ ตามวิสัยทัศน์ “เด็กเยาวชนเป็นคนดี ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคมน่าอยู่” มี ๔ พันธกิจหลัก คือ
๑.เสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชน ในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อม
๒.เสริมสร้างการจัดระเบียบสังคม และการใช้ชีวิตที่เหมาะสม
๓.เสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว
๔.เสริมสร้างศักยภาพเครือข่ายปฏิบัติการเอาชนะยาเสพติด
ขอให้ทุกท่านเป็นคนใจดี มีความสุขสงบเย็น รักษาตนอยู่ในศีล ๕ แคล้วคลาดจากภยันตรายทั้งปวง มีความยึดมั่นในความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ มีคุณแม่คุณพ่อ พระครูอุปัชฌาย์ คุณครูอาจารย์ มีวาจาสุภาพ พูดจาเพราะ ๆ ได้เจริญรุ่งเรืองมั่งมีศรีสุขเจริญก้าวหน้าในหน้าที่อาชีพการงาน การขาย การครองเรือน สมความปรารถนาที่ได้ตั้งใจไว้แล้วทุกประการ เทอญ.


  • ๕ กันยายน ๒๕๕๕ บันทึก ความคิดเห็น

โครงการสร้างคุณภาพเด็กและเยาวชน “วัยใสใส่ใจทำดี TEEN TO BE GOOD”
ตำบลทุ่งมน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
๑. ความประทับใจในโครงการ
- เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของกลุ่มผู้นำชุมชน และภาคีทุกภาคีในตำบลในประเด็นการสร้างคุณภาพเด็กและเยาวชน โดยมีกระบวนการให้ข้อมูล เผยแผ่ข้อมูล ทำความเข้าใจ หลอมความคิดและทัศนคติ(สัมมาทิฏฐิ)ร่วมกันของภาคีในตำบล (การมีส่วนร่วมกันระหว่างองค์กรอย่างเข้มข้น ซึ่งมิใช่การนำปฏิบัติการเชิงเดียวขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง) เพิ่มขึ้นมากกว่าการทำงานร่วมกันทุก ๆ กิจกรรมที่มีอยู่แล้ว มีการต่อยอดเติมเต็มหรือบูรณาการงานในตำบล คือการเติมเต็มซึมซับความดีนำสู่เกิดความเปลี่ยนแปลงทางทัศนคติ จิตใจไปพร้อม ๆ กัน
- ฟื้นความเข้มแข็งให้สถาบันครอบครัว และสร้างความมั่นใจในบทบาทพ่อแม่ ผู้ปกครอง ให้กลับมาเป็นเช่นในอดีต ด้วยกระบวนการอบรมสั่งสอนปลูกฝังนิสัยแก่เด็กเยาวชนที่สอดคล้องกับวัฒนธรรม วิถีชีวิตครอบครัว บทบาทพ่อแม่สังคมไทยแต่อดีต
- องค์ความรู้ ข้อมูล กลวิธี เป็นนวัตกรรมทางสังคม ซึ่งมีผลต่อการยกระดับความคิดและการปฏิบัติการทางสังคมของกลุ่มนักคิด นักพัฒนา และกลุ่มผู้นำชุมชน นำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางความคิดของสังคมไทยด้านการพัฒนาเด็กเยาวชน ครอบครัวอีกครั้ง เช่น การเกิดภาพร่วมกันว่าวิธีการจัดค่ายอบรมเด็กเยาวชนเพียงระยะ ๓ วัน ๒ คืนนั้นถือว่าเป็นการลงทุนทางสังคมที่ไม่คุ้มค่าและไม่ยั่งยืน
- เป็นโครงการที่สร้างการมีส่วนร่วมอย่างกว้างและลึก สามารถตอบสนองความปรารถนาของผู้คนและองค์กรต่างๆ ในชุมชนได้มาก
๒. ความประทับใจต่อครอบครัว
- ครอบครัวคุณลาน สายสู่ ม.๑๐
๓. ความประทับใจต่อบุคคล (TN , TA, TF)
- การเรียนรู้ร่วมกัน และเป็นรายบุคคล ของTN คือพัฒนาการของบุคลากรในชุมชน
- TN ที่เป็นทั้ง TF ดูแล TA ได้โอกาสแนะนำสั่งสอนลูกอย่างเต็มกระบวนการ
- การใช้สื่อวิทยุชุมชน , วิทยุสื่อสาร เป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวงกว้าง
๔. ความประทับใจต่อบทบาทที่ตนมีส่วนร่วม
- นำข่าวสาร ข้อมูล องค์ความรู้ สื่อสารผ่านวิทยุอย่างเต็มที่และต่อเนื่อง ก่อให้เกิดข้อคิด ข้อปฏิบัติที่ดีและแรงบันดาลใจแก่ผู้ฟังอย่างกว้างขวางครอบคลุมหลายอำเภอใน ๒ จังหวัด (สุรินทร์ บุรีรัมย์)
- นำองค์กรวัดเข้ามีบทบาทสนับสนุน เคียงข้างชุมชน ครอบครัว แกนนำ อย่างเด่นชัด

      • พื้นที่ตำบลทุ่งมน มีสถานีวิทยุ ๒ คลื่น ๑.วิทยุชุมชน ๒.วิทยุในวัด และมีวิทยุสื่อสารครอบคลุมหลายจังหวัด

๕ กันยายน ๒๕๕๕
พระมหาวีระ กิตฺติวณฺโณ เจ้าอาวาสวัดสะเดารัตนาราม
[email protected]
โทร 081-9555732

  • ๑๔-๑๕ กันยายน ๒๕๕๕ ร่วมถอดบทเรียนพื้นที่ดำเนินโครงการสร้างคุณภาพเด็กและเยาวชน (วัยใสใส่ใจทำดี Teen To Be Good) ณ โรงแรมทาวน์ อิน ทาวน์ ถนนศรีวรา เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ

โครงการการเสริมสร้างศักยภาพผู้นำท้องถิ่นในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชาสู่ความสัมพันธ์ที่ยั่งยืน

  • ๒๑ กันยายน ๒๕๕๕ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) มอบใบประกาศนียบัตรฉบับนี้ให้ไว้เพื่อแสดงว่า พระมหาวีระ กิตติวัณโณ ได้เข้าร่วมอบรมการเสริมสร้างศักยภาพผู้นำท้องถิ่นในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา รุ่นที่ 1 โครงการการเสริมสร้างศักยภาพผู้นำท้องถิ่นในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชาสู่ความสัมพันธ์ที่ยั่งยืน ภายใต้ชุดโครงการภาษาและวัฒนธรรมหลักประการของสังคมสุขภาวะสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดลร่วมกับสำนักงานกองทุนส่งเสริมการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)
  • 014.jpg
  • 29 กันยายน 2555 เยี่ยมทำบุญที่วัดปราสาทปะอง บ้านปราสาทปะอง ตำบลสำโรง อำเภอสำโรง จังหวัดอุดรมีชัย กัมพูชา
  • ๒๓ ต.ค. ๒๕๕๕ บันทึก กองบุญออมเพื่อการศึกษา วัดสะเดารัตนาราม ตำบลทุ่งมน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ๒๓ ต.ค. ๒๕๕๕

เพื่อใช้นวัตกรรมในการเสริมสร้างครอบครับอบอุ่นชุมชนเข้มแข็ง วัดสะเดารัตนาราม จึงจัดสวัสดิการเพื่อการศึกษาของบุตรหลานและสร้างความมั่นคงทางจิตใจ สำหรับครอบครัวที่ร่วมดำเนินกิจกรรมออมเพื่อการศึกษาของบุตรหลาน ด้วยการจัดตั้งกองบุญออมเพื่อการศึกษา
วัตถุประสงค์
(๑) เพื่อส่งเสริมให้ครอบครัวมีการวางแผนเพื่อการศึกษาของบุตร หลาน
(๒) เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองของเด็กและเยาวชน มีการรวมกลุ่มกันสร้างความมั่นคงด้านครอบครัว
(๓) เพื่อจัดกระบวนการ หรือระบบให้ผู้ปกครองของเด็กและเยาวชน ได้เรียนรู้การพึ่งพากันเอง
(๔) เพื่อสร้างชุมชนสังคมศีลธรรม เฉลี่ยสุข เฉลี่ยทุกข์ พัฒนาสมาชิกให้เป็นคนใจดีไม่ทอดทิ้งกัน
(๕) เพื่อลดภาระด้านเศรษฐกิจของครอบครัวและชุมชน
(๖) เพื่อแก้ไขปัญหาทางสังคม ประเพณี วัฒนธรรม ค่านิยม ทัศนคติ
ข้อตกลงร่วมกัน
๑. ให้บุตรหลานหรือบุคคลใดที่เป็นสมาชิกกองบุญออมเพื่อการศึกษานี้ เป็นสมาชิกกองบุญคุณธรรมครอบครัวอบอุ่นชุมชนเข้มแข็ง ทำบุญปีละ ๓๖๕ บาททุกปี ของวัดสะเดารัตนารามด้วย
๒. คณะกรรมการ คือ ผู้ปกครองของเด็กหรือเยาวชนที่เป็นสมาชิก
๓. ให้ผู้ปกครองของเด็กหรือเยาวชนที่เป็นสมาชิก มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ รับรู้ ร่วมบริหาร ร่วมตัดสินใจมากที่สุด
๔. สมาชิกสามารถออมเงินได้ตามศักยภาพ ตามความสามารถ คือ การออมไม่จำกัดจำนวนเงิน
๕. หลักคิดดอกเบี้ยเงินออม “ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างสังคมสมานฉันท์” “ฝากน้อยดอกเบี้ยมาก ฝากมากดอกเบี้ยน้อย” เพื่อกระจายสมาชิกให้มีจำนวนมากขึ้นในสังคม เป็นสังคมเฉลี่ยสุข เฉลี่ยทุกข์ ดอกเบี้ยเงินออม จัดให้ดังนี้
เงินออม ๕๐๐ – ๑๐,๐๐๐ บาท ดอกเบี้ยร้อยละ ๓ ต่อปี โดยบูรณาการกับธนาคารขยะ
เงินออม ๑๐,๐๐๑ – ๓๐,๐๐๐ บาท ดอกเบี้ย ร้อยละ ๒.๕ ต่อปี โดยบูรณาการกับธนาคารขยะ
เงินออม ๓๐,๐๐๑ – ๗๐,๐๐๐ บาท ดอกเบี้ย ร้อยละ ๒ ต่อปี
เงินออม ๗๐,๐๐๑ ขึ้นไป ดอกเบี้ย ร้อยละ ๑.๕ ต่อปี
ทั้งนี้วิธีการคิดดอกเบี้ยให้นับจากจำนวนเงินออมที่อยู่เต็มปี ณ วันที่ ๓๐ ธันวาคม ของทุกปี (คิดดอกเบี้ยทบต้นทุกปี)
๖. สมาชิกสามารถเบิกถอนเงินได้ตามความต้องการ เบิกเมื่อไหร่ก็ได้
๗. เมื่อเป็นสมาชิกนี้อยู่ ให้งดรับสวัสดิการทุกอย่างจากกองบุญคุณธรรมครอบครัวอบอุ่นชุมชนเข้มแข็งนั้น
๘. กองบุญออมเพื่อการศึกษานี้ จัดสวัสดิการแก่สมาชิก ดังนี้
(๑) คุ้มครองการเจ็บป่วย นอนโรงพยาบาล คืนละ ๑๐๐ บาท ไม่เกิน ๒๐ คืนต่อปี
(๒) คุ้มครองอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นต่อร่างกาย ครั้งละไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาท
(๓) คุ้มครองการเสียชีวิต ตามจำนวน ๒ เท่าของเงินออม ณ วันที่ ๑ มกราคม ของปีนั้นและคงอยู่ถึงวันนั้น(คิดจากวงเงินออมเท่ากับหรือน้อยกว่า จากที่ออมเมื่อต้นปี) แต่ไม่เกินวงเงินออม ๗๕,๐๐๐ บาท ทั้งนี้การจัดงานศพ ถ้าไม่ปลอดเหล้าและการพนัน คุ้มครอง ๕๐% หรือปลอดเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง คุ้มครอง ๗๕ % ของจำนวนเงินที่จะคุ้มครองการเสียชีวิต สำหรับเงินออมที่เกิน ๗๕,๐๐๐ บาทสามารถเบิกคืนได้ทั้งหมด
(๔) สมาชิกที่เป็นเด็กหรือเยาวชน เป็นสมาชิกครบ ๑๐ ปีที่มีเงินออมเพิ่มขึ้นทุกปีและมีเงินออมไม่น้อยกว่า ๕๐,๐๐๐ บาท เมื่อจะศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา มอบทุนการศึกษาให้ ๑๐,๐๐๐ บาท
หรือไม่น้อยกว่า ๑๐๐,๐๐๐ บาท ศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา มอบทุนการศึกษาให้ ๒๐,๐๐๐ บาท
๙. เมื่อผ่านการเป็นสมาชิกแล้ว
จำนวน ๕ ปี สมาชิกต้องมีเงินออมอยู่ในขณะนั้น ไม่น้อยกว่า ๑๐,๐๐๐ บาท จึงจะรับสวัสดิการ อุบัติเหตุได้
จำนวน ๖ ปี สมาชิกต้องมีเงินออมอยู่ในขณะนั้น ไม่น้อยกว่า ๑๕,๐๐๐ บาท จึงจะรับสวัสดิการ อุบัติเหตุได้
จำนวน ๗ ปี สมาชิกต้องมีเงินออมอยู่ในขณะนั้น ไม่น้อยกว่า ๒๐,๐๐๐ บาท จึงจะรับสวัสดิการ อุบัติเหตุได้
จำนวน ๘ ปี สมาชิกต้องมีเงินออมอยู่ในขณะนั้น ไม่น้อยกว่า ๒๕,๐๐๐ บาท จึงจะรับสวัสดิการ อุบัติเหตุได้
จำนวน ๙ ปี สมาชิกต้องมีเงินออมอยู่ในขณะนั้น ไม่น้อยกว่า ๓๐,๐๐๐ บาท จึงจะรับสวัสดิการ อุบัติเหตุได้
จำนวน ๑๐ ปี สมาชิกต้องมีเงินออมอยู่ในขณะนั้น ไม่น้อยกว่า ๕๐,๐๐๐ บาท จึงจะรับสวัสดิการ อุบัติเหตุได้

  • ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ หนังสือ วัดสะเดารัตนาราม ตำบลทุ่งมน ที่ 20 / 2555 ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน 2555 เรื่องขออนุญาตและขอความอนุเคราะห์ในการผ่านแดนและอำนวยความสะดวก เจริญพรถึง นายอำเภอปราสาท/หัวหน้าประสานงานชายแดนประจำพื้นที่ 2 /นายด่านตรวจคนเข้าเมืองนครราชสีมา/นายด่านศุลกากร/หัวหน้าปฏิบัติการกองกำลังสุรนารี/ ด้วยพระภิกษุสงฆ์อำเภอปราสาทและคณะจะเดินทางผ่านแดน ณ จุดผ่านแดนถาวรช่องจอม-โอร์เสม็ด เพื่อทำกิจกรรมศูนย์เรียนรู้วัดคู่พัฒนามิตรภาพชาติติพันธ์เขมร ทำบุญสร้างศาลาวัดวัดประสาทผะอ็อง และเยี่ยมชมตลาดชุมชนกรุงสำโรง อำเภอสำโรง จังหวัดอุดรมีชัยตามโครงการเสริมสร้างศักยภาพฯ ในวันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน มีรถยนต์ ๑๖ คัน ผู้คน ร่วมเดินทาง ๒๐๐ คน/รูป
  • ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ บันทึก

บันทึกข้อความจากการดำเนินกิจกรรมวัดคู่พัฒนามิตรภาพชาติพันธุ์ขแมร์
วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ (ช่องจอม กาบเชิง สุรินทร์)
โดย พระมหาวีระ กิตฺติวณฺโณ
๑.การประสานหนังสือโดยวัดสะเดารัตนาราม ก่อนเดินทาง
- จากวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๕ มีปัญหาการเดินทาง เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มจำนวนรถและคนมากขึ้นหลังจากการส่งหนังสือประสานงานแล้ว อันสูงถึง ๔๐ คัน ๕๐๐ คน/รูป ปัญหาที่สำคัญสุด คือ ไม่สามารถเดินทางเข้าตัวเมืองและตลาดสำโรงตามที่แสดงเจตนาในหนังสือประสานงานและการประชาสัมพันธ์กับชาวบ้านไว้นั้น ด้วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยและเขมรไม่กล้าพาเดินทางเข้าเมืองในจำนวนมากเช่นนี้ จึงตั้งเงื่อนไขไว้ว่าการเดินทางเดือนต่อไปขอความเมตตาจากพระครูสุพัฒนกิจ เจ้าคณะตำบลทุ่งมน ซึ่งร่วมเดินทางไปในครั้งนี้ด้วย และมีประสบการณ์การจำพรรษาในกัมพูชา ๑ พรรษา และถวายให้พระครูสุพัฒนกิจเป็นหลักในการสร้างศาลาวัดปราสาทปะอองด้วย
- ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๕ กิจกรรมคณะสงฆ์อำเภอปราสาท ณ วัดสุวรรณวิจิตร พระอธิการพิชิตย์ ปัญญาวชิโร เจ้าอาวาสละลมระไซร์ ได้พูดกับพระครูสุพัฒนกิจ ว่าอยากไปเขมรด้วย พระครูฯจึงเรียกพระมหาวีระ พร้อมพระอธิการพิชิตย์ ปรึกษาหารือกัน ที่ประชุมยกบทบาทการตัดสินใจแก่พระครูสุพัฒนกิจเป็นสำคัญ ที่ประชุมตกลงร่วมกันว่าเดินทาง วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ กำหนดรถและคนที่ไม่มากเกินไป คือ จำนวนรถควร ไม่เกิน ๒๕ คัน และให้ส่งเอกสารรถและคน ไม่เกิน ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
- วันอาทิตย์ ที่ ๑๘ พ.ย. ๒๕๕๕ พระมหาวีระพิมพ์หนังสือในนามวัดสะเดารัตนารามและแนบเอกสารเพื่อประสานกับอำเภอ ๑๖ คัน ๒๐๐ คน/รูป
- วันจันทร์ ที่ ๑๙ พ.ย. ๒๕๕๕ ผ่านหนังสือจากอำเภอปราสาทถึงศูนย์ประสานงานความสัมพันธ์ชายแดนฯ
- วันจันทร์ ที่ ๑๙ พ.ย. เวลาบ่าย พระประนอม ปสนฺโน วัดยางชุม ได้ฝากเอกสารผ่านพระในวัดยางชุมและมีเด็กชายในบ้านตาเจียดนำเอกสารมาส่งที่พระมหาวีระ ๑ คัน พระมหาวีระไม่รับ (เด็กไม่ได้นำข่าวแจ้งกลับพระประนอม)
- วันที่ ๒๓ พ.ย. ประเมินการเดินทาง มีแนวโน้มว่ามีการยกเลิกการเดินทางหลายคน เพราะภารกิจการเกี่ยวข้าวและการแก้ปัญหาน้ำท่วมฟ่อนข้าว / พระครูสุพัฒนกิจ ประสานหาข้อมูลการทำกิจกรรม ตกลงทางวัดสุวรรณาราม รับนำอาหารและส้มตำ
๒. การเดินทางจากชุมชนไปด่านช่องจอม
- เช้าวันที่ ๒๔ พ.ย. ได้มีการยกเลิกการเดินทาง ๒ คัน และพระประนอมโทรแจ้ง เวลา ๐๘.๑๐ น. ว่ากำลังวิ่งรถรับโยมในหมู่บ้าน จึงตัดสินใจให้เลยตามนั้น ขณะนั้นฝนเริ่มตกริน เมื่อถึงตัวอำเภอปราสาทตกหนัก
- รถบางคันไปถึงด่านก่อน ๙ โมง และบางคัน ไปถึงหลัง
๓.การประสานงานกับ ตม.
- เวลา ๐๙.๑๕ น. ยังไม่เห็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายประสานงาน จึงโทรหา แต่ไม่ติด จึงเดินไปที่ด่าน จุด ตม. เข้าประสานข้อมูล จทน.ตม.ให้ดูหนังสือที่ทางศูนย์ประสานนำส่ง และ จทน.ได้แจ้งให้ทราบว่า หนังสือเพิ่งมาถึงเมื่อเช้าวันนี้ จทน.บอกว่านำแต่หนังสือมาอย่างนี้ “ไม่กระจ่างในการดำเนินการ” “เมื่อครู่ได้โทรไปทางสำนักงาน” พร้อมแจ้งให้พระมหาวีระผู้ประสานงานขณะนั้นให้ทราบหลักการ ว่า
(๑) การเดินทางข้ามแดนแบบนี้ ต้องมีวาระโอกาสที่สำคัญ ๆ อย่างชัดเจน ด้วยคำพูดว่า “ไปในวาระอะไร”
(๒) การทำบุญควรทำในพื้นที่ให้ดีก่อน “บ้านเราไม่มีวัดทอดแล้วหรือ”
(๓) การเดินทางจำนวนมาก ๆ ที่ไม่มีการคัดกรองจากรัฐ จะควบคุมยาก “อาจจะมีคนไปเล่นการพนันด้วยหรือเปล่า” “ไม่มีพาสปอร์ต”
เมื่ออธิบายว่าเป็นการทำกิจกรรรมแบบวิจัย จึงได้รับหลักการเพิ่มเติมว่า
(๔) การวิจัยก็ควรจะมีนักวิชาการร่วมในคณะด้วย “ ไม่มีรายชื่อ ดร. ผศ. รองผศ.เลย มีแต่รายชื่อชาวอำเภอปราสาท มีชื่อ ด.ช. ด.ญ.ด้วย”
(๕) ตามหลักเกณฑ์ รถบางประเภทจะห้ามผ่านแดน “รถกระบะไม่ไม่ได้,รถติดไฟแนนก็ไปไม่ได้”
(๖) การตั้งชื่อควรให้เรียนรู้ร่วมกันและรับได้ “ชาติพันธุ์ขแมร์ คืออะไร”
-จึงถามเบอร์โทรของศูนย์ประสานงานฯ จึงทราบว่า จนท.ท่านนั้นเดินทางเข้าเขมรแต่เช้าแล้ว เพื่อประสานงานเรื่องของรองผู้ว่าจังหวัดสุรินทร์ในการเข้าร่วมกิจกรรมที่สำโรง จึงขอความร่วมมือกับ จทน.ปลายสาย ถ่ายสำเนารถให้ด้วย
- เวลา ประมาณ ๙ โมง ๓๐ นาที หนังสือที่ส่งมาจากอำเภอปราสาทถึงศูนย์ประสานงาน ถูกนำมาถึง สนง.ตม. พร้อมกับ จทน.ฝ่ายไทย(ไม่ทราบชื่อ) และฝ่ายกัมพูชา(คุณสุพร)
- เวลา ประมาณ ๑๐ โมงเช้า จทน. ถือหนังสือของอำเภอปราสาท มาตรวจสอบความถูกต้องของรถที่จะข้ามแดน มีรถคันที่ ๒ มีปัญหาไม่ได้แนบสำเนามาด้วย พระมหาวีระ แจ้งให้ทราบว่าขอเปลี่ยนกันกับคันที่ไม่ได้มา และคันนอกนั้นถูกต้องแล้ว จทน.พูดเพิ่มเติมว่า
(๗) การเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์เป็นเรื่องยาก “เราจะไปเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ได้อย่างไร เมื่อหนังสือตำราเรียนทางเขมรสอนว่า ไทยรุกรานเขา”
(๘) การสร้างความสัมพันธ์ควรเป็นหน้าที่ของรัฐและนโยบาย “ชาวบ้านเป็นญาติกันอยู่แล้ว จะพาไปไหนก็ไป”
- เวลา ๑๐ โมงกว่า ได้ผ่านแดนเข้ากัมพูชา โดย จนท.ฝ่ายเขมรนำทาง (ไม่มี จทน.ไทยร่วมเดินทาง)

๔.เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันเดียวกัน
- มีกิจกรรรมแข่งเรือที่หน้าศาลากลางจังหวัดอุดรมีชัย โดยความร่วมกัน ๒ จังหวัด (สุรินทร์-อุดรมีชัย) รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ จะผ่านแดนเวลา บ่าย จนท.ประสานงานต้องรับหน้าที่นี้
๕.ข้อสังเกตจากการการติดขัดในการประสานงานเดินทาง
- หนังสือถึง ตม.กระชันชิด
- หนังสือจากอำเภอปราสาท จทน.ตม.ไม่เห็นก่อนนี้
- ไม่มีการแนบเอกสารสำเนารถให้ ตม.
- ไม่มี จทน.ประสานงาน เพราะติดงานสำคัญ
- ไม่ได้ทำหนังสือถึงฝ่ายปกครองจังหวัดอุดรมีชัย
- เป็นการเดินทางของประชาชนคนธรรมดา
๖.การเดินทางเข้ากรุงสำโรง
- ใช้การขอร้องต่อ ผู้ใหญ่บ้านและผู้ประสานงานฝั่งเขมร
- ผู้ใหญ่บ้านใช้ความสัมพันธ์กับทางราชการ จ.อุดรมีชัย
๗.โอกาสที่เกิดขึ้นเพื่อการประสานความสัมพันธ์ต่อไป
- ผู้ใหญ่บ้านปราสาทปะออง และคุณสุพร เป็นบุคคลสำคัญ มีบทบาทในการทำกิจกรรม ช่วยประสานงานฝ่ายเขมร
- เมื่อไม่มี จทน.ฝ่ายไทยร่วมกิจกรรม ก็สามารถดำเนินการได้ เพราะได้เพิ่มความสำคัญและการยอมรับนับถือ สนิทสนมกันมากขึ้น
- เจ้าอาวาสวัดปราสาทปะออง จะดำเนินการอำอวยความสะดวกที่ช่องผ่านแดนอีกแรง ในโอกาสต่อไป
- พระครูสุพัฒนกิจ ได้ร่วมแก้ไขปัญหาการประสานงาน และสนใจในการปรึกษาหารือในการประสานงานต่อไป
- ประชาชนที่ร่วมเดินทางได้สัมผัสความสัมพันธ์ที่ดี จากการเดินทางถึงสำโรง


  • ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕ บันทึก “จิตใต้สำนึก การตัดสินใจแต่ละครั้งมีผลทางวาจา และการแสดงออกทางกาย”

๒๕๓๓ ตัดสินใจบวช เพราะต้องการพัฒนาวัด ไม่ให้ร้าง มีความเจริญรุ่งเรือง เป็นศูนย์กลางสร้างศรัทธาในชุมชน
๒๕๓๖ ตัดสินใจออกจากวัดไปเรียน เพราะต้องการพัฒนาคน “วัดสะเดารัตนาราม เป็นวัดพัฒนาคน”
๒๕๔๑ ตัดสินใจสร้าง ศูนย์การเรียนชุมชน (ศรช.) วัดสะเดารัตนาราม เป็นวัดส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ มีวัสดุอุปกรณ์ เทคโนโลยี เพื่อการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
๒๕๔๕ โฉนด น.ส.๓ ก. ของวัดสะเดารัตนาราม เขียนลงในสำเนาโฉนดที่ดิน ว่า “สถานที่ปฏิบัติธรรม สร้างชุมชนกัลยาณมิตร”

๒๕๔๗ พูดบอกพระในวัด ว่า “วัดสะเดารัตนาราม จะเป็นต้นแบบของจังหวัดสุรินทร์”

๒๕๕๐ ตัดสินใจให้ชุมชนมีส่วนร่วมกับวัด ด้านการเงิน (ถือเงิน บริหารเงินวัด)
เม.ย. ๒๕๕๕ ตัดสินใจสร้างระบบสังคมสังฆะในวัด
เช้า ๓ ธ.ค. ๒๕๕๕ บันทึกข้อความ นั่งสมาธิ เช้า สาย บ่าย เย็น สร้างชุมชนกัลยาณมิตร กลับไปหาความคิด เมื่อ ๒๕๔๕
๓ ธ.ค. ๒๕๕๕

  • ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕ บันทึก สรุปสกัด องค์ประกอบที่ต้องปรับเปลี่ยนความคิด พฤติกรรม ตนเอง

เมื่อ ๓ ธ.ค. ๒๕๕๕
กรรม ๓ /เหตุ ผลที่ได้ ผลกระทบ
คิดวาดภาพที่กว้างใหญ่ สวยหรู ระดับจังหวัด/ภาค
พูดประกาศภาพที่เลิศเลอ
-ทำงานใหญ่ ทีมขาดทักษะการทำงาน มีงาน/บรรยากาศของงาน หลายอย่างไม่เป็นไปตามนั้น
ทีมงานไม่เท่าทันกัน ประสานไม่ถึงใจ อ่อนพร่อง จิตใจฝ่อบ่อย ๆ
โรคอ้วน/เบาหวาน/ไขมัน/ความดัน/หัวใจ บั่นทอนกำลังกาย/เหนื่อย ล้า เพลีย จิตถดถอยจากการงานตามลำดับ
องค์ประกอบอื่น ๆ สึกหรอ แคะแกร่น ไม่สมบูรณ์ ขาดพลังหนุนที่ดี กำลังบุญ กำลังสมาธิ กำลังความเย็น กำลังความสะอาด อ่อนแอ จิตพร่อง ขาดกำลังใจในการวาดภาพที่สวยงาม

  • ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕ บันทึกสำคัญ ให้เกิดการปรับเปลี่ยนกายใจ

- ปัสสวะเมื่อเช้า เข้มมาก มากจนเป็นสีแดงปน
- เมื่อวานตอนบ่าย ถ่ายอุจจาระมีเลือดปนอุจจาระ
- เมื่อเช้านั่งสมาธิ สรุปว่า ต้องเป็นกัลยาณมิตรให้กับตนเองมากขึ้น ด้วยการกลับมาทำสมาธิให้มากๆ ตามหลักของการเป็นกัลยาณมิตรเบื้องต้น ก่อนที่จะเป็นกัลยาณมิตรแก่ผู้อื่น
คุณธรรม(จิตใจ) ของตนต้องมีความพร้อมในการทำหน้าที่นั้นๆ ก่อน วิธีการสำคัญ คือ การนั่งธรรมะ(นั่งสมาธิ)
- มีของมาก สัมภาระมาก ต้องรับผิดชอบมาก การรับผิดชอบมาก ก่อให้เกิดความกังวลมาก มีสภาวะหนักอึ้ง จิตไม่ได้พักผ่อน จิตเหนื่อย จิตเพลีย จิตล้า ต้องเพิ่มการนั่งสมาธิ เช้า สาย บ่าย เย็น ฝึกใจให้ได้โอกาสพักผ่อน ลดการรับผิดชอบนอกวัด และในวัด ทำสมาธิให้จิตได้สัมผัสความสุขจากภายใน สว่าง เย็นจากจิตใจ
- หยุดพักวิธีการหาความสุขจากการพูดคุย สนทนา โดยเข้าใจว่าเป็นความสุข
- หยุดพักการรวบรวมข้อมูล ข่าวสารที่หลากหลาย หรือมีความขัดแย้ง โต้แย้ง ที่ไม่นิ่มนวลต่อจิต
- หยุดพักการคิดวางแผนเพื่อสร้างความสงบสุขแก่ผู้อื่น เพราะไม่ง่ายต่อความสำเร็จ ต้องลงแรงกายใจสูง ควรเป็นความร่วมมือกันทุกฝ่ายจึงจะดี
- หยุดพักการสัมผัสอารมณ์ทุกข์ของผู้อื่น เพราะจะดูดซับความทุกข์เข้ามาสู่ใจตน
- เป้าหมายเดิม คือ ชุมชนกัลยาณมิตร หล่อหลอมหมู่คณะให้เกื้อกูลต่อการปฏิบัติ
ธรรม เชิญชวนสมาชิกนั่งสมาธิ ฝึกจิตให้เข้าใจความจริงของชีวิต
๓ ธันวาคม ๒๕๕๕

  • ๔ ธันวาคม ๒๕๕๕ บันทึก ตอบคำถาม(ดร.เจี๊ยบ) สาเหตุ(เพิ่มเติม)ในการหยุดตนเอง เพื่อนั่งธรรมะ

๑. งานทั้งหลายที่ทำนั้นไม่ใช่เป้าหมายหลัก (แล้วเป้าหมายหลักคืออะไร) เป้าหมายหลักในปี ๒๕๔๕ วัดเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม พัฒนาหมู่คณะและชุมชนกัลยาณมิตร เป็นเพียงสถานการณ์การเรียนรู้ และจัดระบบสังคม(สร้างการเรียนรู้ และจัดระบบสังคมเพื่ออะไร) งานพัฒนาสังคมทั้งหลายนั้น ๆ เป็นงานภายนอกเป็นการลดปัจจัยเสี่ยง ป้องกันอันตราย มีสภาพแวดล้อมที่ดีต่อสังคม เพื่อผู้คนจะได้ปลอดภัยในการประพฤติปฏิบัติธรรม
๒. การงานทางสังคม ต้องทำงานกับความหลากหลายเกินไป (อะไรบ้าง) ซึ่งเป็นงานหยาบ งานเชิงปริมาณ ต้องต่อสู้ ดิ้นรนมาก แสดงพลังศักยภาพสูง ซึ่งคนส่วนใหญ่ยังขาดเป้าหมายชีวิตทางธรรม (เขามีเป้าหมายอย่างไร) งานทางสังคมส่วนมากมักจะเป็นงานระดับ ระบบ ระเบียบ กฎกติกา ประเพณี วัฒนธรรม ซึ่งจัดได้ขั้นศีล ส่วนมากยังไปไม่ถึงคุณภาพของสมาธิ และปัญญา
๓. เรามักจะคิดเร็ว ทำเร็ว กลายเป็นว่าต้องนำเขาอยู่เรื่อย ๆ(แล้วทำไมไม่รอ) กำลังเกิดขึ้น
๔. การเป็นผู้นำแบบเรา ต้องทุ่มเทสูงมาก ทั้งเวลา แรงกายและสำคัญคือทุนทรัพย์
๕. การใช้ทุนทรัพย์ เป็นทุนที่มาจากความศรัทธา ซึ่งเขาบริจาคมาเพื่อทำบุญกับวัด การใช้เงินไปนอกวัดมาก ๆ รู้สึกผิดในตนเอง (ถูกต้อง) แม้ใช้จ่ายเพื่อการงานในวัด เมื่อผลกลับกลายเป็นการสิ้นเปลื้อง ไม่คุ้มค่า ไม่เกิดประสิทธิภาพก็มีอาการรู้สึกผิดเช่นกัน เพราะยึดหลักต้นไม้ใหญ่กินน้ำน้อย
๖. การทำงานจึงมักจะทำเพื่อการเรียนรู้ เป็นแนวทางให้คนอื่นเลียนแบบ มักจะไม่ทำซ้ำ เพราะทำงานให้คนอื่นทำต่อ ถ้าทำต้องมีเหตุผลที่ดีพอ หรือเมื่อลงทุนคุณภาพต้องมากขึ้นถ้าไม่มีคุณภาพหยุดดีกว่า
๗. เป้าหมายหลักคือ การพัฒนาจากเล็กไปใหญ่ จากภายในไปภายนอก จากใจไปกาย กายไปกลุ่ม กลุ่มไปชุมชน เมื่องานบางอย่างสำเร็จแล้ว ก็หยุด เมื่อทำได้หลายๆๆ อย่างแล้ว ก็ควรที่จะได้หยุดนิ่งบ้าง เพื่อพัฒนาใจตนให้เป็นแบบอย่างทางจิต สมาธิมีพลังมากกว่าคำพูด คำสอน คำสั่ง
๘. วิธีการทำงานที่คิดไว้เป็นหลักการ คือ ทำให้เขาดู มิใช่ทำให้ตนเองต้องทำเองตลอดไป เป็นครูของสังคม ผู้นำทางความคิด มิใช่ผู้นำเพื่อทำงาน หรืออยู่แบบสั่งการใคร(แล้วคนที่ทำงานด้วยเขารู้ไหม)
๙. งานบางอย่างต้องทำเป็นทีม มืออาชีพ แต่ขาดบุคลากรที่มีความสามารถ (หยุดทำ แล้วมองหาทีมและวางแผนพร้อมทีม ดีมั้ยคะ) จึงทำได้เพียงการสร้างกระแส หรือทดลองงาน สร้างกระแสเสร็จแล้ว ก็ไปทำเรื่องใหม่ ทำเรื่องเดิมไม่ได้ เพราะมีข้อกำกัดเสียแล้ว
๑๐. การทำงานเป็นลักษณะเรียนรู้ สะสมองค์ความรู้ ค้นหาแนวทาง สร้างนวัตกรรมทางสังคม ค้นหาทีม และเครือข่าย เนื้องานจึงไม่จำเป็นในความต่อเนื่องเพียงงานใดงานหนึ่ง หรือรูปแบบเดิม(จริงๆงานของท่านก็มีเครือข่าย ที่เข้มแข็งแล้ว และทำได้ดีจนเป็นตัวอย่างที่ดีในระดับสังคมทั่วไป ท่านคิดมากเกินไป ????) เพื่อปรับตัว ปรับเปลี่ยน หมุนเวียน ยืดหยุ่นอย่างต่อเนื่อง เป็นงานและองค์กรที่มีชีวิต
๑๑. วิธีการทำงาน จึงมีลักษณะถอยออก หลีกออก ท้อง่าย หน่ายแล้ว(นั่งพักสักชั่วระยะก็ได้ค่ะ)
๑๒.สำคัญ คือ ความกังวล กังวลกับคน ความสามารถของคน กังวลกับทุน ค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายกับการงานหลายด้าน ซึ่งเกิดขึ้นจากความรู้ความสามารถมาก งานมาก สัมภาระมากซึ่งต้องซ่อมแซมบำรุงรักษาด้วยทรัพย์อย่างต่อเนื่องอันมีจำนวนมาก และต้องเชื่อมโยงและบูรณาการมาก ในวัดและนอกวัด จำเป็นอาศัยทีม ต้องหยุดตนเองเพื่อให้คนเดินทันกลายมาเป็นทีม( ไม่เป็นไรหรอกค่ะ ท่านทำได้ค่ะ)
๔ ธ.ค. ๕๕

  • ๕ ธันวาคม ๒๕๕๕ บันทึกวิธีดูแลป้องกันและรักษา เพื่อสุขภาพ พระมหาวีระ กิตฺติวณฺโณ

จากคำแนะนำ และข้อมูล ของหลาย ๆ ท่าน หลายแหล่ง และหลายศาสตร์
เรียกโรคนี้ว่า “การเจ็บป่วยเรื้อรัง วิบากกรรมร้ายแรง (เศษกรรม ๓ ทวารต่างกรรมต่างวาระท่วมทับ)” เป็นโรคที่ต้องดูแล ป้องกันและรักษาตลอดชีวิต
๑. ดื่มน้ำเปล่าให้มาก ๆ ในแต่วันอย่าปล่อยให้ร่างกายขาดน้ำ
๒. ลดปริมาณอาหารแป้งและน้ำตาลในแต่ละมื้อ (ฉันข้าว มื้อละ ๑ จาน)
๓. ฉันกระเทียมซอย จำนวน ๗ กลีบใหญ่ ผสมน้ำมะนาว วันละ ๒ ครั้ง พร้อมกับการฉันภัตตาหารเช้า-เพล
๔. ฉันภัตตาหาร(กับข้าว) ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ปราศจากสารพิษตกค้าง
๕. อาหารที่พึงละเว้น ที่ประกอบด้วยน้ำตาล เกลือ ไขมัน เกินกำหนด เช่น ของหวาน อาหารที่หวาน อาหารที่เค็ม อาหารที่มีไขมัน ของหมักดอง หรืออาหารบางอย่าง เช่น เนื้อไก่ เครื่องในสัตว์ หน่อไม้ ข้าวเหนียว รสจัด เผ็ด เป็นต้น
๖. ดื่ม/ฉันยาสมุนไพรขับสารพิษเป็นระยะ ๆ
๗. นั่งสมาธิอย่างต่อเนื่อง เช้า สาย บ่าย เย็น เพื่อรักษาบรรยากาศที่เอื้อต่อสุขภาพและรักษาความสมดุลของร่างกายกับจิตใจ
๘. เดินจงกรมสลับกับการนั่งสมาธิ เพื่อการปรับอิริยาบถ และเป็นการออกกำลังกาย
๙. จัดบรรยากาศ หรือ อยู่ในบรรยากาศที่เอื้อต่อการดูแลป้องกันรักษาสุขภาพ เว้นบรรยากาศที่แสลงต่อโรค
๑๐. สำคัญ คือ รักษาใจให้สดใส ผ่องใส อย่างต่อเนื่อง
๑๑. ฝึกตนกระทำทุกวันให้คุ้นชิน กลายเป็นนิสัยถาวร
ถ้าไม่ดูแล ป้องกันและรักษาสุขภาพดังที่กล่าวนี้ จะทำให้สุขภาพย่ำแย่ มีชีวิตอยู่อย่างทนทุกข์ทรมาน ถ้าทำได้จะเกิดสุขภาพแบบ “อยู่เย็นเป็นสุขอย่างแท้จริง”
๕ ธ.ค. ๕๕

  • ๗ ธันวาคม ๒๕๕๕ บันทึกการปฏิบัติธรรม ดูแลสุขภาพวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๕๕ (วันเต็มรูปแบบ) นับเป็นวันที่ ๓

- ลุกนั่งสมาธิ ตี ๔ เป็นเวลา ๑ ชม.
- ๖.๓๐ เดินจงกรม ๔๐ นาที
- ฉันเช้า ข้าวกับปลาทู ถั่ว
- ฉันเสร็จเดิน ๓๐ นาที
- นั่งสมาธิ ๒ ชม.
- เดิน ๑๐ นาที
- เพลข้าวกับผัก
- เดิน ๑ ชม.
- นั่งสมาธิ ๒ ชม.
- เดิน ๑ ชม.
- นั่งนั่งสมาธิหลังทำวัตร ๓๐ น.
- ก่อนจำวัด ๑ ชม.
- ดื่มน้ำทั้งวัน ๖ ลิตร
- กำลังกาย กำลังใจ ดีขึ้นอย่างงชัดเจน
- กำลังใจจะมั่นใจในการต้อนรับโยม/ชวนโยมทำบุญ
- การฝึกตนอย่างนี้ จะทำหน้าที่เจ้าอาวาสได้อย่างดีต่อไป
สาเหตุก่อโรค
เคร่ง ขรึม เครียด
- แก้โรค ยิ้มแย้ม แจ่มใส
- - อนิจา อนิจัง ขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง วันก่อนร่างกายอ่อนแอ จิตใจอ่อนเพลีย สุดๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ เป็นภาระหนักทั้งกายและใจ พอได้ทำสมาธิ จงกรมสลับกัน จริงจัง อย่างต่อเนื่อง ๕ วัน อัศจรรย์ร่างกายฟื้นคืนดีดังเช่นเดิม แต่จิตซิเหมือนกู่ไม่กลับเสียแล้ว ชอบซ่อนตัวนิ่งๆ ไม่คิดการงานใดเลย แต่ก็เบิกบาน มีความสุขดี55555555 จิตเอ๋ยจิต เจ้าไม่ไปไหนไกลเสียแล้ว หรือเจ้าแพ้ภัยแห่งโลก สังคม จนไม่กล้าเผชิญอีก
- ๑๐ ธ.ค. ๕๕
- - ตอนเด็กๆ ถ้าถูกโกหก หลอกลวง จะโกรธและน้อยใจมาก แต่ไม่แสดงอาการ เก็บไว้ในใจ โกรธใคร ไม่พอใจใคร ก็จะไม่พูดเลยนานเป็นปีก็มี
- เมื่อเริ่มบวช ถ้ามีอะไรขัดใจก็ไม่แสดงอาการเช่นกัน เมื่อมีเรื่องขัดใจ ไม่ถูกใจ กำลังใจจะลดลงทันที เกิดความบอบช้ำข้างในอย่างรุนแรง
- ด้วยสาเหตุนี้กระมั่ง เมื่อมีเรื่องขัดใจ ไม่พอใจ ไม่ได้ดังใจ จำนวนมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ จึงเกิดอาการเบื่ออย่างรุนแรง หน่าย...
- ๑๐ ธ.ค. ๕๕