ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดเพชรบุรี"

จาก wiki.surinsanghasociety
ไปยังการนำทาง ไปยังการค้นหา
 
(ไม่แสดง 3 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
แถว 1: แถว 1:
 
[[บันทึกวัดเพชรบุรี]]
 
[[บันทึกวัดเพชรบุรี]]
 +
[[พิพิธภัณฑ์ปราสาทเพชร]]
  
'''วัดเพชรบุรี''' '''รหัสวัด ๐๔๓๒ – ๐๕๐๕๐๐ – ๒'''    ทุ่งมน หมู่ ๒  ตำบลทุ่งมน  อำเภอปราสาท  จังหวัดสุรินทร์  สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เป้นวัดประเภท วิสุงคามสีมา  ตั้งวัดเมื่อวันที่  ๖  เดือน  พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๓๔๒  ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา  เมื่อวันที่  ๒๗  เดือน  พฤศจิกายน  พ.ศ. ๒๓๗๑  เขตวิสุงคามสีมา กว้าง  ๘  เมตร  ยาว  ๑๖  เมตร     
+
'''วัดเพชรบุรี''' '''รหัสวัด ๐๔๓๒ – ๐๕๐๕๐๐ – ๒'''    ทุ่งมน หมู่ ๒  ตำบลทุ่งมน  อำเภอปราสาท  จังหวัดสุรินทร์  สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เป็นวัดประเภท วิสุงคามสีมา  ตั้งวัดเมื่อวันที่  ๖  เดือน  พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๓๔๒  ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา  เมื่อวันที่  ๒๗  เดือน  พฤศจิกายน  พ.ศ. ๒๓๗๑  เขตวิสุงคามสีมา กว้าง  ๘  เมตร  ยาว  ๑๖  เมตร     
 
[[ไฟล์:56138.jpg|thumb]]
 
[[ไฟล์:56138.jpg|thumb]]
 
[[ไฟล์:รับรองสภาพวัดเพชรบุรี.jpg|thumb]]
 
[[ไฟล์:รับรองสภาพวัดเพชรบุรี.jpg|thumb]]
แถว 58: แถว 59:
 
*ฌาปนสถาน จำนวน.....๑........ หลัง  หอระฆัง      จำนวน......๑........ หลัง  หอกลอง    จำนวน........๑....... หลัง
 
*ฌาปนสถาน จำนวน.....๑........ หลัง  หอระฆัง      จำนวน......๑........ หลัง  หอกลอง    จำนวน........๑....... หลัง
 
*โรงครัว      จำนวน......๑....... หลัง  เรือนเก็บพัสดุ จำนวน.....๓.... หลัง      เรือนรับรอง จำนวน......๒.........  หลัง
 
*โรงครัว      จำนวน......๑....... หลัง  เรือนเก็บพัสดุ จำนวน.....๓.... หลัง      เรือนรับรอง จำนวน......๒.........  หลัง
*อื่น ๆ...........  แทงค์น้ำประปาบาดาล  จำนวน  ๑  หลัง
+
*อื่น ๆ...........  แทงค์น้ำประปาบาดาล  จำนวน  ๑  หลัง
 +
 
 +
==[[พิพิธภัณฑ์ปราสาทเพชร]]==
  
 
==ปูชนียวัตถุ==
 
==ปูชนียวัตถุ==

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 15:30, 16 มิถุนายน 2566

บันทึกวัดเพชรบุรี พิพิธภัณฑ์ปราสาทเพชร

วัดเพชรบุรี รหัสวัด ๐๔๓๒ – ๐๕๐๕๐๐ – ๒ ทุ่งมน หมู่ ๒ ตำบลทุ่งมน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เป็นวัดประเภท วิสุงคามสีมา ตั้งวัดเมื่อวันที่ ๖ เดือน พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๔๒ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒๗ เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๗๑ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๖ เมตร

56138.jpg
รับรองสภาพวัดเพชรบุรี.jpg

ที่ตั้งวัด

ตั้งอยู่ที่บ้านทุ่งมนตะวันออก เลขที่ ๑๐๖ หมู่ที่ ๑ ตำบลสมุด อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ เลขรหัสประจำบ้าน ๓๒๐๕ – ๐๐๐๑๖๐ – ๖ โทรศัพท์ ๐๙๔-๙๙๗๑-๕๒๕ , ๐๙๓-๕๕๔๑-๙๑๒ ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๑๗ ไร่ ๑ งาน ๔๑ ตารางวา โฉนดที่ดิน เลขที่ ๑๑๒๐๑ เล่ม ๑๑๓ หน้า ๑ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ พิกัดของวัด ละติจูด 14 41'57.1"N 103 18'42.6"E , 14.699194, 103.311838

อาณาเขตวัด

  • ทิศเหนือ จดทางหลวงชนบท หมายเลข ๓๐๑๑
  • ทิศใต้ จดที่ดินนายชอม ทรงสมมี
  • ทิศตะวันออก จดทางหลวงชนบท หมายเลข ๓๐๑๑
  • ทิศตะวันตก จดที่ดินนายม่วง เสาธงทอง
20180823 082922.jpg

ประวัติวัด

วัดเพชรบุรี ได้เป็นศูนย์รวมใจของพุทธศาสนิกชนชาวตำบลทุ่งมนและตำบลสมุดมานานอย่างน้อย ๒๒๑ กว่าปีแล้ว ในปี พ.ศ. ๒๓๔๒ ได้รับการอนุญาตให้ตั้งวัดอย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นปีเดียวกันกับการประกาศจัดตั้งหมู่บ้านตาปาง ตำบลทุ่งมน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ อีกด้วย จึงตั้งข้อสันนิษฐานว่า “ เมื่อหลวงพ่อเพชร หลวงพ่อแก้ว นำพาคณะสงฆ์และญาติโยมมาร่วมสร้างวัดใหม่แล้ว ประชาชนชาวบ้านทุ่งมนที่เคารพศรัทธาเลื่อมใสก็ได้พากันเทครัวอพยพย้ายครัวเรือนมาตั้งถิ่นฐานที่อยู่ใหม่ตรงบริเวณบ้านตาปาง บ้านตาดอก บ้านสมุด ในปัจจุบัน เพื่อที่จะได้ร่วมกันทำนุบำรุงอุปถัมภ์ค้ำชูวัดแห่งใหม่นี้อีกด้วย ” โดยแต่ดั้งเดิมนั้นตำบลทุ่งมน มี ๑๙ หมู่บ้าน ทางราชการออกหนังสือเอกสารสิทธิ์โฉนดที่ดินของวัดเพชรบุรีในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ นั้น จึงตกอยู่ในเขตการปกครองท้องที่ของบ้านตาปาง หมู่ที่ ๖ ตำบลทุ่งมน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ และต่อมาในภายหลังเมื่อมีการแบ่งเขตการปกครองคณะสงฆ์ตำบลทุ่งมนขึ้นมาใหม่ วัดเพชรบุรีจึงถูกเปลี่ยนแปลงจัดให้อยู่ในเขตการปกครองท้องที่บ้านทุ่งมน หมู่ที่ ๒ ตำบลทุ่งมน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๖ ทางหน่วยราชการได้แบ่งแยกเขตการปกครองของตำบลทุ่งมนออกเป็น ๒ ตำบลคือ ๑. ตำบลทุ่งมน มี ๑๑ หมู่บ้าน ๒.ตำบลสมุด มี ๘ หมู่บ้าน ในทางราชการบ้านเมือง วัดเพชรบุรีจึงเป็นส่วนหนึ่งในเขตการปกครองท้องที่ของบ้านทุ่งมนตะวันออก บ้านเลขที่ ๑๐๖ หมู่ที่ ๑ ตำบลสมุด อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
เดิมชาวบ้านนิยมเรียกว่า “วัดทุ่งมนตะวันออก” ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๑๗ ไร่ ๑ งาน ๔๑ ตารางวา โฉนดที่ดิน เลขที่ ๑๑๒๐๑ เล่ม ๑๑๓ หน้า ๑ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ตำแหน่งที่ตั้งอยู่ทิศตะวันออกของบ้านทุ่งมน ห่างจากหมู่บ้านทุ่งมน ประมาณ ๔๐๐ เมตร โดยตั้งแต่แรกบุกเบิกสร้างวัดนั้นที่ดินตรงนี้เป็นที่ดินป่าไม้รกทึบ ภายหลังมีนายกฤษ – นางอี แก้วแบน นายแก้ว – นางกลัด ลับแล นายบูรณ์ ศรีราม นายมี –นางมิ่ง จงมีเสร็จ นายกอง จงมีเสร็จ (พี่ชายหลวงพ่อแก้ว) และพุทธศาสนิกชนประชาชนชาวบ้านร่วมกันมอบถวายหนังสือเอกสารที่ดินให้วัดเมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๕ และได้อาราธนานิมนต์พระเดชพระคุณหลวงปู่เพชร พำนักจำพรรษาเป็นเจ้าอาวาสวัดรูปแรกด้วย ภายหลังจากหลวงปู่เพชรมรณภาพแล้ว หลวงปู่แก้วก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสรูปใหม่และเจ้าเมืองสุรินทร์ในสมัยนั้นได้ออกว่าราชการตรวจเยี่ยมวัดพอดี เจ้าเมืองสุรินทร์รับทราบว่า “วัดแห่งนี้หลวงปู่เพชรเป็นผู้นำพาคณะสงฆ์และประชาชนบุกเบิกสร้างวัดมาโดยตลอด” เจ้าเมืองสุรินทร์จึงได้ ขอเทิดทูนเกียรติคุณของหลวงปู่เพชรและตั้งชื่อวัดทุ่งมนตะวันออกใหม่ว่า “วัดเพชรบุรี”
หลวงปู่แก้ว เจ้าอาวาสวัดเพชรบุรีรูปที่ ๒ ได้สั่งสอนคณะสงฆ์และนำพาญาติโยม ศึกษาธรรม ปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐาน ด้วยความวิริยะอุตสาหะอย่างยิ่ง จนเป็นที่ประจักษ์ตาต่อเจ้าคณะผู้ปกครองคณะสงฆ์ในยุคนั้น จึงได้ออกประกาศแต่งตั้งให้หลวงปู่แก้วเป็นอุปัชฌายะ มีตำแหน่งหน้าที่เป็นประธานในการให้บรรพชาอุปสมบทให้แก่กุลบุตรได้ สั่งสอนกุลบุตรให้เว้นกิจควรเว้น ประพฤติกิจควรประพฤติ ในหลักธรรมแห่งพระพุทธศาสนาตลอดไป พุทธศาสนิกชนศิษยานุศิษย์จึงเรียกหลวงปู่แก้วอย่างเป็นทางการว่า “หลวงปู่พระอุปัชฌาย์แก้ว”
ภายหลังจากที่หลวงปู่พระอุปัชฌาย์แก้วมรณภาพแล้ว ได้มีบูรพาจารย์หลายรูปคือ หลวงปู่วาง หลวงปู่วอน หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่ลาน ครองวัดดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสตามลำดับมา บางรูปก็มรณภาพ บางรูปก็ลาสิขาบท บางรูปก็อยู่ครองวัดนานหลายปีพรรษา จวบจนมาถึงยุคสมัยของพระครูอนุรักษ์สัจธรรม (หลวงปู่จริง สุวณฺณโชโต) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเพชรบุรี ท่านได้ช่วยเหลือชุมชนสังคมประเทศชาติเป็นที่เคารพศรัทธาเลื่อมใสมากมาย จึงได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะตำบลทุ่งมน ปกครองคณะสงฆ์ทั้งตำบลทุ่งมน และในฐานะเจ้าอาวาสผู้ปกครองวัดเพชรบุรีได้ดำรินำพาคณะพระภิกษุสงฆ์ที่บวชอยู่ด้วยกันในยุคนั้น พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์บอกบุญญาติโยมให้พุทธศาสนิกชนทุกท่านร่วมสร้างกุฎิสงฆ์ด้วยไม้หลังใหญ่ ๒ ชั้น จำนวน ๑๒ ห้อง สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๒ (มีสลักปีที่สร้างเสร็จไว้ที่หน้าบันของกุฎิ) และในปีเดียวกันนั้น วันที่ ๑๖ เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๒ สังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง ได้ออกหนังสือแต่งตั้งให้ เจ้าอธิการจริง สุวณฺณโชโต วัดเพ็ชรบุรี ตำบลทุ่งมน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ เป็นอุปัชฌายะในเขตต์ตำบลทุ่งมน มีตำแหน่งหน้าที่เป็นประธานในการให้บรรพชาอุปสมบท ตามบทบัญญัติแห่งสังฆาณัติระเบียบพระอุปัชฌายะ พุทธศักราช ๒๔๘๗ หลวงปู่จริง สุวณฺณโชโต ได้นำพาศิษยานุศิษย์ทั่วทุกสารทิศ ร่วมสร้างสาธารณูปการต่างๆ เช่นสร้างโรงเรียน โรงพยาบาท และอื่นๆอีกมากมายตลอดชีวิตของท่าน และเมื่อวันที่ ๒๗ เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๑๕ หลวงปู่จริงได้มรณภาพลงด้วยโรคชราอย่างสงบ
หลังจากหลวงปู่จริงได้มรณภาพแล้ว คณะสงฆ์วัดเพชรบุรีและญาติโยมพุทธศาสนิกชน นำโดย นายบรัน บานบัว กำนันตำบลทุ่งมน ได้อาราธนานิมนต์พระครูประสาทพรหมคุณ(หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ) มาพำนักจำพรรษาเป็นเจ้าอาวาสวัดเพชรบุรีสืบต่อไปจนท่านมรณภาพละสังขาร เมื่อวันที่ ๕ เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ และในยุคสมัยของหลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ ถือได้ว่าเป็นยุคที่รุ่งเรืองมาก หลวงปู่หงษ์ท่านสร้างชื่อเสียงให้วัดเพชรบุรีได้เป็นที่รู้จักของพุทธศาสนิกชนทั่วโลก โดยเฉพาะเรื่องที่หลวงปู่หงษ์ได้นำพาให้ทุกคนอนุรักษ์ป่าไม้หลายพันไร่ ขุดสระเป็นแหล่งกักเก็บน้ำ สร้างฝายกั้นน้ำ เอาไว้ใช้ในหน้าแล้ง จนได้รับพระราชทานธง “พิทักษ์ป่า เพื่อรักษาชีวิต” จากสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๐ และสุดท้ายของชีวิตหลวงปู่หงษ์ก่อนมรณภาพหลายปีได้มีการเขียนบันทึกข้อความพินัยกรรมไว้ว่า ขอให้ศิษยานุศิษย์บรรจุสังขารของหลวงปู่ไว้ในโลงแก้วให้ศิษยานุศิษย์ได้กราบสักการะบูชาตลอดไป

  • ๑.ที่มาของประวัติ เอกสารประวัติวัดเพชรบุรี บ้านทุ่งมน ตำบลทุ่งมน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ เจ้าของประวัติ นายบรัน บานบัว วันที่ให้ถ้อยคำ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๒
  • ๒.ที่มาของประวัติ เอกสารประวัติวัดเพชรบุรี บ้านทุ่งมน ตำบลทุ่งมน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ เจ้าของประวัติ พระครูประสาทพรหมคุณ วันที่ให้ถ้อยคำ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๐
  • ๓.ที่มาของประวัติ เอกสารประวัติวัดเพชรบุรี บ้านทุ่งมน ตำบลทุ่งมน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ เจ้าของประวัติ พระครูประสาทพรหมคุณ วันที่ให้ถ้อยคำ เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๕๔๐
  • ๔.ที่มาของประวัติ เอกสารประวัติวัดเพชรบุรี บ้านทุ่งมน ตำบลทุ่งมน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ เจ้าของประวัติ นายนิพนธ์ ได้ทุกทาง ผู้รวบรวม/เรียบเรียงประวัติใหม่เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๓
20180823 083756.jpg

ที่ธรณีสงฆ์

มีจำนวน ๘ แปลง มีเนื้อที่รวม ๓๕ ไร่ ๓ งาน ๔๕ ตารางวา ยังมีที่ดินพิพาทอีกจำนวนหนึ่ง กำลังดำเนินการให้เซ็นต์โอนที่ดินให้วัดเพชรบุรี

  • ลำดับที่ 1. น.ส. ๓ เลขที่ ๑๙๓ เล่ม ๒๕ หน้า ๑๑๗ ตำบลทุ่งมน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
  • ลำดับที่ 2. โฉนดที่ดิน เลขที่ ๖๙๒๒๐ เล่ม ๖๙๓ หน้า ๒๐ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
  • ลำดับที่ 3. โฉนดที่ดิน เลขที่ ๖๙๒๒๑ เล่ม ๖๙๓ หน้า ๒๑ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
  • ลำดับที่ 4. โฉนดที่ดิน เลขที่ ๓๖๓๒๖ เล่ม ๓๖๔ หน้า ๒๖ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
  • ลำดับที่ 5. โฉนดที่ดิน เลขที่ ๑๑๖๒๘ เล่ม ๑๑๗ หน้า ๒๘ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
  • ลำดับที่ 6. โฉนดที่ดิน เลขที่ ๑๑๖๓๕ เล่ม ๑๑๗ หน้า ๓๕ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
  • ลำดับที่ 7. โฉนดที่ดิน เลขที่ ๑๑๖๙๐ เล่ม ๑๑๗ หน้า ๙๐ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
  • ลำดับที่ 8. อื่น ๆ ... สุสานทุ่งมน (วัดเพชรบุรี) หมู่ที่ ๒ ตำบลทุ่งมน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ... ที่ดินแปลงนี้มีเนื้อที่ประมาณ ๒ ไร่ ๓ งาน ๓๐ ตารางวา

หมายเหตุ : ศาลจังหวัดสุรินทร์ ออกหนังสือสำคัญเพื่อแสดงว่า คดีถึงที่สุด หนังสือที่ ศย ๓๐๓.๐๑๘/๓๔๓๗ ออกให้ ณ วันที่ ๒๒ เดือน เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๓

อาคารเสนาสนะ

  • อุโบสถ ( / ) อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก วัดเฉพาะตัวอุโบสถพร้อมบันได กว้าง ......๘........ เมตร ยาว........๒๑...... เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๕ โดยเมื่อวันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๒๕ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาสนมหาเถระ) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เสด็จทรงเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์อุโบสถหลังนี้ นับเป็นศิริมงคลอย่างยิ่ง และสร้างเสร็จสมบูรณ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐

วัดโดยรอบหลักเสมา กว้าง ๑๘.๕๐ เมตร ยาว ๒๗.๕๐ เมตร วัดโดยรอบกำแพงแก้วอุโบสถ กว้าง ๒๕.๕๐ เมตร ยาว ๓๕ เมตร

  • ศาลาการเปรียญเฉลิมพระเกียรติ ปีกาญจนาภิเษก ๒๕๓๙ กว้าง... ๒๑.๕๐ ...เมตร ยาว... ๓๑.๕๐ ....เมตร สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๗ แล้วเสร็จสมบูรณ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๙ งบประมาณทั้งสิ้น ๗,๐๐๐,๐๐๐ บาท ( / ) อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก อาคารครึ่งตึกครึ่งไม้
  • หอสวดมนต์ กว้าง.... ๙ .....เมตร ยาว..... ๒๔ ....เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๐ ( / ) อาคารไม้ ๒ ชั้น
  • หอฉัน กว้าง.... ๑๕ .....เมตร ยาว..... ๒๑ ....เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๑ ( / ) อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก .
  • กุฏิสงฆ์ (หลวงปู่จริง สุวณฺณโชโต ผู้นำสร้าง) กว้าง.. ๑๕ ..เมตร ยาว... ๒๑ ..เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๒ ( / ) อาคารไม้ ๒ ชั้น ๑๒ ห้องนอน
  • กุฏิสงฆ์ ( หลวงปู่หงษ์ พฺรหฺมปญฺโญ ผู้นำสร้าง ) กว้าง... ๙ ..เมตร ยาว... ๑๒ ..เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙ ( / ) อาคารไม้ ๒ ชั้น ๒ ห้องนอน
  • กุฏิสงฆ์ ( กุฏิพรหมกุศลประเสริฐ ) กว้าง... ๖ ..เมตร ยาว... ๖.๕๐ ..เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ ( / ) อาคารไม้ ๒ ชั้น
  • วิหารพระครูอนุรักษ์สัจธรรม (หลวงปู่จริง สุวณฺณโชโต) อดีตเจ้าอาวาสวัดเพชรบุรี กว้าง ๑๕ เมตร ยาว ๒๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๐ งบประมาณทั้งสิ้น ๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท ( / ) อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้น
  • ศาลาอเนกประสงฆ์ กว้าง.... ๑๓.๕๐ .... เมตร ยาว..... ๒๒.๕๐ ....เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ... ๒๕๕๓ .... ( / ) อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
  • ศาลาบำเพ็ญกุศล กว้าง... ๑๓ .... เมตร ยาว...... ๑๙ ....เมตร สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ.. ๒๕๓๔ ... ( / ) อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก

นอกจากนี้มีอาคารเสนาสนะต่าง ๆ ดังนี้

  • กุฏิกัมมัฏฐานสำหรับพระภิกษุ-สามเณร จำนวน ๑๒ หลัง กุฏิพรหมสว่างจิตต์สำหรับแม่ชี จำนวน ๒ หลัง
  • ฌาปนสถาน จำนวน.....๑........ หลัง หอระฆัง จำนวน......๑........ หลัง หอกลอง จำนวน........๑....... หลัง
  • โรงครัว จำนวน......๑....... หลัง เรือนเก็บพัสดุ จำนวน.....๓.... หลัง เรือนรับรอง จำนวน......๒......... หลัง
  • อื่น ๆ........... แทงค์น้ำประปาบาดาล จำนวน ๑ หลัง

พิพิธภัณฑ์ปราสาทเพชร

ปูชนียวัตถุ

  • พระประธานประจำอุโปสถ ปางมารวิชัย ทรงพระนามว่า พระพุทธบวร (หลวงปู่สุข) ขนาดหน้าตัก กว้าง ๑๕๐ เซนติเมตร สูง ๑๙๐ เซนติเมตร สร้างเมื่อ พ.ศ..........-......


- พระพุทธรูปองค์เล็ก (ปางมารวิชัย) ขนาดหน้าตัก กว้าง ๖๒ ซม. สูง ๙๐ ซม.
- พระสารีบุตร (ปางนั่งคุกเข่า) ขนาดหน้าตัก กว้าง ๒๑ ซม. สูง ๘๕ ซม.
- พระมหาโมคคัลลานะ (ปางนั่งคุกเข่า) ขนาดหน้าตัก กว้าง ๒๑ ซม. สูง ๘๕ ซม.

  • รูปหล่อทองเหลืองเหมือนหลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ ขนาดหน้าตัก กว้าง ๗๕ ซม. สูง ๘๕ ซม.
  • พระประธานประจำศาลาหอฉัน ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตัก กว้าง ๑๕๐ เซนติเมตร

สูง ๒๒๐ เซนติเมตร สร้างเมื่อ พ.ศ........-.....................

  • พระประธานประจำศาลาการเปรียญ ปางมารวิชัย (พระพุทธชินราชองค์ใหญ่) ขนาดหน้าตัก กว้าง ๑๕๐ เซนติเมตร สูง ๒๒๐ เซนติเมตร สร้างเมื่อ พ.ศ........-.....


- พระพุทธชินราชองค์เล็ก ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตัก กว้าง ๑๐๐ ซม. สูง ๑๙๐ ซม.
- พระพุทธรูปปางสมาธิ ขนาดหน้าตัก กว้าง ๗๙ เซนติเมตร สูง ๑๐๕ เซนติเมตร
- พระพุทธรูปปางสมาธิ(องค์สีเหลือง) ขนาดหน้าตัก กว้าง ๙๙ ซม. สูง ๑๕๐ ซม.
- พระสารีบุตรปางยืนไหว้ สูง ๑๓๘ ซม. วัดรวมฐานสูง ๑๖๖ ซม. วัดรอบเอวกว้าง ๘๐ ซม.
- พระมหาโมคคัลลานะปางยืนไหว้ สูง ๑๓๘ ซม. วัดรวมฐานสูง ๑๖๖ ซม. วัดรอบเอวกว้าง ๘๐ ซม.
- พระแม่ธรณีนั่งคุกเข่าบีบม้วยผม ขนาดหน้าตัก กว้าง ๔๙ ซม. สูง ๑๑๔ ซม.

  • พระประธานประจำหอสวดมนต์ ปางมารวิชัย (พระพุทธชินราช) พระพุทธรูปทองเหลืองเก่าแก่ ขนาดหน้าตัก กว้าง ๖๒ เซนติเมตร สูง ๘๐ เซนติเมตร สร้างเมื่อ พ.ศ........-......


- พระพุทธโสธร ขนาดหน้าตัก กว้าง ๘๔ ซม. สูง ๑๐๒ ซม. ปางสมาธิ
- พระแก้วมรกต ขนาดหน้าตัก กว้าง ๗๐ ซม. สูง ๑๒๐ ซม. ปางสมาธิ
- พระพุทธชินราช(องค์เล็ก) ขนาดหน้าตัก กว้าง ๓๘ ซม. สูง ๕๐ ซม. ปางมารวิชัย
- พระพุทธรูปทองเหลืองชุบทองทั้งองค์ ขนาดหน้าตัก กว้าง ๗๕ ซม. สูง ๑๐๕ ซม. ปางมารวิชัย
- พระพุทธรูปทองเหลือง ขนาดหน้าตัก กว้าง ๗๕ ซม. สูง ๙๕ ซม. ปางมารวิชัย

  • - รูปหล่อทองเหลืองเหมือนหลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ ขนาดหน้าตัก กว้าง ๗๕ ซม. สูง ๘๕ ซม.
  • พระพุทธรูปหินปางนาคปรก ขนาดหน้าตัก ๘๕ ซม. สูง ๓.๒๐ เมตร
  • เจดีย์โบราณบรรจุอัฐิธาตุของหลวงปู่เพชรและหลวงปู่พระอุปัชฌาย์แก้ว อดีตเจ้าอาวาสวัดเพชรบุรี

รูปที่ ๑ และ ๒ วัดขนาดฐานล่าง ๑.๕๖ X ๑.๕๖ เมตร สูง ๔ เมตร สร้างเสร็จเมื่อ ๑๓ เม.ย. ๒๔๙๘ โดยลูกหลานของพ่อสว่าง – แม่มุข เสร็จประสงค์ สร้างถวาย

  • รูปหล่อหินเหมือนพระครูอนุรักษ์สัจธรรม(หลวงปู่จริง สุวรรณโชโต) อดีตเจ้าอาวาสวัดเพชรบุรี

ขนาดหน้าตัก กว้าง ๗๐ เซนติเมตร สูง ๙๐ เซนติเมตร

  • - รูปหล่อเรซินเหมือนหลวงปู่สรวง (นั่งชันเข่า) ขนาดหน้าตัก กว้าง ๕๐ ซม. สูง ๘๐ ซม.
  • - รูปหล่อเรซินเหมือนพระครูประสาทพรหมคุณ(หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ) (ท่านั่งพับเพียบ) อดีตเจ้าอาวาสวัดเพชรบุรี ขนาดหน้าตัก กว้าง ๗๐ เซนติเมตร สูง ๗๕ เซนติเมตร
  • - รูปปั้นปูนเหมือนพระครูประสาทพรหมคุณ(หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ) ท่ายืนถือไม้เท้า ขนาดฐาน กว้าง ๓.๖๕ เมตร ยาว ๓.๘๕ เมตร สูง ๘.๕๐ เมตร

การบริหารและการปกครอง

- มีเจ้าอาวาสมาแล้ว ๙ รูป ลำดับเจ้าอาวาสตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เท่าที่สืบทราบนามได้มีดังนี้

  • ลำดับที่ 1 หลวงปู่เพชร ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๔๒ ถึง พ.ศ. .......................
  • ลำดับที่ 2 หลวงปู่แก้ว ตั้งแต่ พ.ศ. .................... ถึง พ.ศ. .......................
  • ลำดับที่ 3 หลวงปู่วาง ตั้งแต่ พ.ศ. .................... ถึง พ.ศ. .......................
  • ลำดับที่ 4 หลวงปู่วอน ตั้งแต่ พ.ศ. .................... ถึง พ.ศ. .......................
  • ลำดับที่ 5 หลวงปู่เสาร์ ตั้งแต่ พ.ศ. .................... ถึง พ.ศ. .......................
  • ลำดับที่ 6 หลวงปู่ลาน สมใจหวัง ตั้งแต่ พ.ศ. .................... ถึง พ.ศ. ๒๔๖๘
  • ลำดับที่ 7 พระครูอนุรักษ์สัจธรรม (หลวงปู่จริง สุวณฺณโชโต) ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๘ ถึง พ.ศ. ๒๕๑๕ มรณภาพเมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๑๕
  • ลำดับที่ 8 พระครูประสาทพรหมคุณ (หลวงปู่หงษ์ พฺรหฺมปญฺโญ) ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๖ ถึง พ.ศ. ๒๕๕๗
  • ลำดับที่ 9 พระอธิการเอกลักษณ์ สุจิณฺโณ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๖๑ ถึง พ.ศ. ปัจจุบัน

ผลงานเด่น

ได้รับรางวัล/ประกาศนียบัตร/ประกาศเกียรติคุณ ฯลฯ (อาทิ สวนสมุนไพรในวัด อุทยาน การศึกษาในวัด วัดพัฒนาตัวอย่าง วัดพัฒนาตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่น เป็นต้น)

  • 1. วัดได้รับคัดเลือกเป็นอุทยานการศึกษาในวัด เมื่อปี พ.ศ. .........................
  • 2. วัดได้รับคัดเลือกเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง เมื่อปี พ.ศ. ....๒๕๓๖......
  • 3. วัดได้รับคัดเลือกเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่น เมื่อปี พ.ศ. .........................
  • 4. เข้าร่วมโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข เมื่อปี พ.ศ. …๒๕๖๑…..
  • 5. รางวัลโล่ชนะเลิศด้านสิ่งแวดล้อมดีเด่น เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๕ จากหน่วยงาน ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์
  • 6. รางวัลพระราชทานธง “พิทักษ์ป่า เพื่อรักษาชีวิต” เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๐ จากหน่วยงาน สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ณ ตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร
  • 7. รางวัลโล่ผู้ให้การช่วยเหลือราชการกรมป่าไม้ดีเด่นในด้านกิจการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และเป็นผู้นำในการฟื้นฟูสภาพป่า เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๔๓ จากหน่วยงาน สำนักงานป่าไม้ จังหวัดสุรินทร์
  • 8. รางวัลโล่การอนุรักษ์ป่าไม้ เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๔๔ จากหน่วยงาน กรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

เจ้าอาวาส

พระเอกลักษณ์ ฉายา สุจิณฺโณ อายุ ๓๔ พรรษา ๑๒

  • ชื่อเดิม เอกลักษณ์ นามสกุล ดีตลอด เกิดวันที่ ๒๐ เดือน ธันวามคม พ.ศ. ๒๕๒๘
  • เชื้อชาติ ไทย สัญชาติ ไทย อาชีพเดิม รับจ้างทั่วไป ความสามารถพิเศษ สามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้
  • เบอร์โทรศัพท์ ๐๙๓ ๕๕๔ ๑๙๑๒ และ ๐๙๔ ๙๙๗ ๑๕๒๕
  • อุปสมบท วันที่ ๒๑ เดือน มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เวลา ๐๕.๕๗ น.
  • พระครูสุพัฒนกิจ (สิน ฐิติญาโณ) เป็นพระอุปัชฌาย์
  • พระครูพิศาลธีรวัฒน์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์
  • พระอธิการเมธี เตชธมฺโม เป็นพระอนุสาวนาจารย์
  • หนังสือสุทธิเลขที่ ๔๔ / ๒๕๕๓ ออกให้ ณ วันที่ ๑๓ เดือน ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
  • ชื่อวัดที่อุปสมบท วัดสุวรรณาราม ตำบล ประทัดบุ อำเภอ ปราสาท จังหวัด สุรินทร์
  • วุฒิการศึกษา(สูงสุด) ปริญญาตรี จากสถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์

วิทยฐานะ(สูงสุด)

  • สอบได้นักธรรม นักธรรมชั้นเอก เมื่อพ.ศ. ๒๕๕๕ เลขที่ใบประกาศนียบัตร สร ๔๓๕๕ / ๐๐๘๖ สำนัก/วัด วัดสะเดารัตนาราม ตำบล ทุ่งมน อำเภอ ปราสาท จังหวัด สุรินทร์
  • สอบได้ชั้น ประโยค ๑-๒ เมื่อพ.ศ. ๒๕๕๗ เลขที่ ๓๑๙ สำนัก/วัด โมลีโลกยาราม อำเภอ บางกอกใหญ่ จังหวัด กรุงเทพมหานคร
  • ดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดเพชรบุรี พ.ศ. ๒๕๖๑

กรรมการอุปถัมภ์วัดเพชรบุรี