บทความ ป.เอก
- 24 ก.ค.2565 จุดเริ่มต้นเขียนบทความ ป.เอก [1]
- 25 ก.ค.2565 บวร วัดประทุมทอง เทปูนศาลา [2] [3]
- 4 สิงหาคม 2565 [4]
- 13 สิงหาคม 2565 [5]
- 17 สิงหาคม 2565 [6]
- 18 สิงหาคม 2565 [7]
- 20 กันยายน 2565 โรงเรียนวิถีพุทธจังหวัดสุรินทร์
- 22 กันยายน 2565 "กลั่นใจให้สงบนิ่ง
แล้วกลั่นความคิดให้ชัดแจ้ง เมื่อทรัพยากรบนโลกนี้น้อยลงอย่างใจหาย เพราะโลกกำลังประสบกับภาวะโลกรวน จะดำเนินการอย่างไรให้คุ้มค่าที่สุด ในการใช้ทรัพยากรนั้น ๆ (ความคิดแนวกตัญญู เป็นเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ)"
- 22 กันยายน 2565 "
การสวดมนต์ ไหว้พระ นั่งสมาธิ เป็นฐานที่มั่นสุดท้ายสำหรับงานพัฒนาชุมชน( วัด หมู่บ้าน โรงเรียน อบต.)"
- 18 กันยายน 2566
อักษรเกิดขึ้นจากการผลักดันของศาสนา การเมือง วัฒนธรรม
อักษรไทย นับย้อนไปจากรากเง่า คือ
ไทย ได้แบบมาจากอักษรขอม
เก่ากว่าอักษรขอมคืออักษรทวารวดี -อักษรปลวะ และอักษรทมิฬ ตามลำดับ
คนไท คนสยาม คนลานช้างและคนเขมร(คนในพื้นที่ไทย ลาว เขมร ปัจจุบัน)ใช้ตัวอักษรเดียวกัน มีวิธีการจารึกอักษร คือ การจารลงใบลานเหมือนกัน
ด้วยคนสยาม -ไท มีการพัฒนาการด้านตัวอักษรเร็วกว่า มีการเขียนด้วยหมึก เขียนลงสมุด การเขียนบันทึกบ่อยกว่า ตัวอักษรจึงมีการพัฒนาการที่มีความกลมมีความลื่นไหลเร็วกว่า
และในที่สุดตัวอักษรของไทยลาวกัมพูชาจึงมีความแตกต่างกันเช่นปัจจุบัน
ส่วนภาษา สำเนียงภาษา และคำภาษามีการแตกต่างกันไป พัฒนาการ เปลี่ยนตามพื้นที่ภูมิประเทศ
ความเป็นรัฐอาณาจักร เป็นบล็อก เป็นกรอบ สร้างความเป็นการเฉพาะต่อภาษาอีกทีหนึ่ง ในที่สุดก็เกิดความแตกต่างทางตัวอักษร และภาษาคำพูดเช่นนี้แล
18 กันยายน 2566 [8]
ประวัติศาสตร์ไทย ใช้คำว่า "ขอม" มาจากการบันทึกข้อมูลของนักบันทึกชาวฝรั่งเศส
ขณะนั้นคนสยามเรียกกลุ่มคนที่มีความเป็นคนดั้งเดิมกว่าคนเป็น "ขอม" เช่น ตัวหนังสือที่เก่ากว่า เป็นตัวหนังสือขอม คนที่ยึดถือค่านิยมคร่ำขรึกว่าว่าเป็นวัฒนธรรมขอม สิ่งใดที่เก่าแก่ ว่า ขอม หรือเรียกคนที่สีผิวคล้ำกว่าตน มีพัฒนาการช้ากว่า เป็นคนดงคนป่ากว่า เป็นขอม
รากศัพท์คำว่า "ขอม" เป็นเรียกคนกลุ่มอื่น จะมีลักษณะค่อนไปทางการเหยียด กด ข่ม
การกำหนดคำนี้มีลักษณะเรียกย้อนหลัง เรียกคนที่มีอยู่ในอดีต เปรียบเทียบว่าล้าหลัง ลี้ลับ
คนไทยปัจจุบันกำหนดให้ขอม คือคนยุคเมืองนคร มีเมืองนครเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรม มีการก่อสร้างปราสาทด้วยหิน
18 กันยายน 2566