การขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕

จาก wiki.surinsanghasociety
ไปยังการนำทาง ไปยังการค้นหา

๑. วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้พัฒนาระบบฐานข้อมูลโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ เสร็จสิ้นเรียบร้อย และส่งมอบสำนักงานโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ แล้ว ตั้งแต่วันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๗ โดยชื่อ https://www.moobansila5.com/
๒. สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อมอบให้สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดได้ประสานคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ระดับตำบล ดำเนินการกรอกข้อมูลการดำเนินงานหมู่บ้านรักษาศีล ๕ โดยปี ๒๕๖๗ ขอความร่วมมือกรอกตำบลละ ๑ หมู่บ้าน เป็นหมู่บ้านที่คณะกรรมการฯ ระดับตำบล ได้พิจารณาคัดเลือกส่งเข้าประกวดหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ต้นแบบได้ด้วยผลงานที่โดดเด่นกว่าทุกๆหมู่บ้านในตำบลนั้นๆ
๓. คณะกรรมการฯ ระดับตำบล หรือเจ้าคณะตำบล ได้รับมอบหมายก็มอบให้ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ ได้กรอกข้อมูลเข้าในระบบตั้งแต่วันที่ ๒๘ พฤษภาคม ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๖๗
๔. ในกรณีที่ตำบลบ้านเมือง ไม่ตรงกับตำบลคณะสงฆ์ ให้ยึดเอาตำบลบ้านเมืองเป็นหลัก และรายงานข้อมูลของหมู่บ้านในตำบลบ้านเมืองนั้นๆ มาจำนวน ๑ หมู่บ้าน เช่น ตำบลบ้านเมือง ก. กับตำบลบ้านเมือง ข. ในตำบลคณะสงฆ์เป็นตำบลเดียวกัน คือมีเจ้าคณะตำบลรูปเดียวปกครอง ๒ ตำบลนี้เพราะวัดมีน้อย ไม่เอาเขตปกครองตำบลของคณะสงฆ์ แต่ใช้เขตปกครองระดับตำบลบ้านเมือง นั่นก็หมายความว่า ทั้ง ๒ ตำบลต้องกรอกข้อมูลมาตำบลละ ๑ หมู่บ้าน
๕. ในกรณีตำบลใด มีข้อจำกัดของการดำเนินงานโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ เนื่องด้วยครัวเรือนในตำบลนั้นมีประชากรนับถือศาสนาอื่น ไม่จำเป็นต้องกรอกข้อมูลของตำบลนั้นๆ ให้ถือว่าเป็นภารกิจของโครงการหมู่บ้านศีลธรรมของกระทรวงมหาดไทย
๖. การตรวจเยี่ยมประเมินหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ต้นแบบ จะดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้

๖.๑ คณะกรรมการฯระดับตำบล มอบหมายให้หมู่บ้านกรอกข้อมูลในระบบฐานข้อมูล จนเสร็จเรียบร้อยตำบลละ ๑ หมู่บ้าน
๖.๒ คณะกรรมการฯ ระดับตำบลส่งข้อมูลโดยปริ้นเป็น pdf เสนอคณะกรรมการฯ ระดับอำเภอคัดเลือก ๑ หมู่บ้านในพื้นที่ของตนส่ง คณะกรรมการฯ ระดับจังหวัด
๖.๓ คณะกรรมการฯ ระดับจังหวัดคัดเลือกมา ๑ หมู่บ้านในพื้นที่จังหวัดของตน ส่งข้อมูลโดยปริ้นเป็น pdf เสนอคณะกรรมการฯ ระดับหนเพื่อคัดเลือกเป็นหมู่บ้านศีล ๕ ต้นแบบระดับจังหวัด

๗. คณะกรรมการฯ ระดับหน ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม ติดตามประเมินผลในหมู่บ้านที่คณะกรรมการฯ ระดับจังหวัดได้เสนอ โดยกรอกข้อมูลการให้คะแนนการประเมินลงในแบบฟอร์มการประเมิน ซึ่งกำหนดคะแนนดังนี้
> หมวดที่ ๑ ข้อมูลพื้นฐานหมู่บ้าน ๑๐ คะแนน
> หมวดที่ ๒ กิจกรรมการส่งเสริมการรักษาศีล ๕ ของหมู่บ้าน ๕๐ คะแนน
> หมวดที่ ๓ การส่งเสริมการปฏิบัติธรรม ๒๐ คะแนน
> หมวดที่ ๔ การรับการประเมินติดตามผลการดำเนินงานในพื้นที่ ๒๐ คะแนน
๘. การลงพื้นที่ตรวจประเมินติดตามหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ต้นแบบในปี ๒๕๖๗ หน่วยรับการประเมินไม่ต้องจัดทำเอกสารรายงานผล เพราะคณะกรรมการฯ จะพิจารณารายละเอียดของข้อมูลจากระบบฐานข้อมูลออนไลน์ [1]

โครงการเรียนรู้ศีล 5 เพื่อพัฒนาหมู่บ้าน