ชุมชนน่าอยู่2

จาก wiki.surinsanghasociety
ไปยังการนำทาง ไปยังการค้นหา

ทำไมต้องพัฒนาชาวบ้าน ผ่านชุดโครงการชุมชนน่าอยู่...

เมื่อวานก็ประชุมพูดคุยกันเรื่องนี้ วันนี้แต่เช้าตรู่ก็มีผู้ใฝ่รู้ทักถามมาสนใจ เลยลองประมวล จุดเน้นหลักๆและที่สำคัญๆ ดังนี้

จุดเน้นที่ใช้ในการพัฒนา และเห็นผล คือ

1.กลไกสภาผู้นำชุมชน ที่ก่อทีม สร้างความเข้าใจแนวคิด รวบรวมเอาผู้นำชุมชนทุกฝ่ายมาพัฒนา ทั้งจัดหลักสูตรพัฒนา เรียนรู้จากตัวอย่างจริง และเรียนรู้จากลงมือทำด้วยตนเอง เพื่อให้กลไกนี้สามารถทำงานร่วมกันได้ มีทักษะ มีศักยภาพในการ ร่วม ช่วยกันแก้ปัญหาทั้งกลุ่มในชุมชน และปัญหาชุมชนตามแผนชุมชนพึ่งตนเองได้.......

2.การจัดการและใช้ข้อมูล จะเน้นจัดการข้อมูลให้ง่าย ได้ข้อมูลที่สามารถนำมาประเมินวิเคราะห์ปัญหาได้ชัด เห็นปัญหา เห็นผลกระทบ และสาเหตุของปัญหาในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย เพื่อนำมากำหนดเป้าทำงาน และกำหนดแผนทำงาน และแบ่งบทบาทหน้าที่ของสภาผู้นำชุมชนเพื่อลงมือทำ รวมทั้งติดตามประเมินผล เรียกว่า "ใช้ข้อมูลจัดทำและขับเคลื่อนแผนชุมชนพึ่งตนเอง"

3.เน้นการทำจริง " เรียนรู้จากการลงมือทำ" มุ่งที่การแก้ปัญหาตามบริบทของชุมชนและกลุ่มเป้าหมาย ใน 3 รูปแบบหลัก

เช่น การแก้ไขปัญหาขยะในชุมชน

I.เป้าหมายร่วมของชุมชน กำหนดกติกาชุมชน ที่ผ่านการรับรู้ปัญหา ยอมรับร่วมกัน จากการพูดคุยสะท้อนข้อมูลปัญหา และกำหนดว่า"ทุกคนหรือทุกครัวเรือน" ควรทำอะไร ถ้าทำได้จะเป็นผลดีร่วมกัน แล้วนำไปสู่การปฏิบัติจริง โดยสภาผู้นำชุมชน ชวนกำหนดเป้าหมายความสำเร็จของแต่ละกติกา ทำเป็นต้นแบบพร้อมๆกับ ส่งเสริม สนับสนุนติดตามเสริมพลังคนในชุมชนให้ทำได้ และประเมินผลเพื่อพัฒนาร่วมกันเป็นระยะ

II. เป้าหมายเฉพาะกลุ่ม ถ้ามีข้อมูลว่าครัวเรือนไหนมีปัญหาขยะเปียกจัดการไม่ได้ สภาผู้นำก็ชวนวิเคราะห์ปัญหา กำหนดเป้า และแผนแก้เรื่องขยะเปียกใน ครัวเรือนนั้นๆ ใครมีปัญหาเรื่องเผาขยะแล้วรบกวนผู้อื่นก็ชวนวิเคราะห์แก้ไขเฉพาะครัวเรือนนั้นๆ เป็นต้น

III.เป้าหมายร่วมกับภาคี เช่น ขยะอันตราย หรือ ขยะเหลือทิ้งที่มี อปท.มาจัดเก็บ ก็จะกำหนดข้อตกลง กำหนดบทบาทแต่ละฝั่ง สภาฯทำอะไร (I กับ II) อปท.ทำอะไร (ตามเป้าและภารกิจ) มีการกำหนด แผนการทำงาน แผนการจัดการข้อมูลติดตามผล ร่วมกัน ตัวอย่างมีภารกิจประจำ คือ เก็บขยะของชุมชนทุกสัปดาห์แล้วเอาไปทิ้ง แต่เมื่อมีการกำหนดเป้าร่วมที่สนใวจร่วมกัน (ที่ผ่านมาต่างคนต่างทำ) ก็จะมีการกำหนดข้อตกลงและแผนวัดผล เรื่องการคัดแยกขยะ การนำขยะมาใช้ประโยชน์ พฤติกรรมการลดขยะของคนในชุมชนและครัวเรือน เป็นบทบาทของสภาฯ เรื่องปริมาณขยะที่เหลือทิ้งน้อยลงมั้ย หรือขยะที่มาทิ้งผ่านการคัดแยกแล้วจากครัวเรือนจริง รวมทั้งขยะอะไรบ้างที่ชาวบ้านยังต้องทิ้งอยู่เป็นบทบาทของ อปท. และทั้งสองฝ่ายนำข้อมูลมาสะท้อนผลเพื่อพัฒนาปรับปรุงร่วมกัน ให้นำไปสู่เป้าหมายขยะลดลงร่วมกัน เป็นประโยชน์ร่วม หรือ ถ้ามี รพ.สต.มาร่วมด้วย ก็จะใช้ข้อมูลเรื่องลูกน้ำยุงลาย ไข้เลือดออก มาคืนข้อมูลและชวนชุมชนร่วมกำหนดเป้าหมายบ้านสะอาดปลอดลูกน้ำยุงลายไปพร้อมๆกันด้วย เป็นต้น

ทั้ง 3 ส่วนเรียกว่า แผนชุมชนพึ่งตนเอง (ทำเอง ทำร่วม ทำให้)

สุดท้าย คือ 4.เน้นให้สภาผู้นำชุมชน มีการติดตามประเมินผลเพื่อเรียนรู้และพัฒนาด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอ ในทุกเรื่องที่ขับเคลื่อน โดยใช้ข้อมูล baseline เทียบกับผลลัพธ์ (ข้อมูลการเปลี่ยนแปลง) เพื่อทบทวนเป้าหมาย เห็นความก้าวหน้า วิเคราะห์บทเรียนข้อเรียนรู้จากการทำว่า ที่ทำได้เพราะอะไร ยังไม่ได้เพราะอะไร และนำมาสู่การวางแผนปรับปรุงพัฒนาร่วมกันต่อเนื่อง......

ทั้งหมดนี้ เป็นจุดเน้นการพัฒนา และ "มีชุดความรู้ในการพัฒนา" ซึ่งจะมีกระบวนการพัฒนาถ่ายทอดความรู้แก่ "พี่เลี้ยง" (พี่เลี้ยง หมายถึง ผู้ทำหน้าที่ติดตามสนับสนุนสภาฯ ทั้ง ทำความเข้าใจ สอนงาน ชี้แนะ ให้คำปรึกษา ร่วมแก้ปัญหาในบางเรื่อง ส่วนใหญ่จะเป็นเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ ที่สนใจอยากพัฒนาให้ชุมชนเข้มแข็ง) ชุดความรู้ "เป็นเครื่องมือของพี่เลี้ยง" ในการหนุนเสริมและนำไปใช้ทั้ง แนะนำ สอนงาน วางแผนพัฒนาร่วมกัน ให้คำปรึกษา แก่ สภาผู้นำชุมชนให้สภาฯทำได้ดังจุดเน้น 4 ข้อข้างต้น (แปลงชุดความรู้สู่การทำในพื้นที่)

ของชุดความรู้หลักที่ใช้ (แสดงว่ามีย่อยด้วย) คือ

1.ความรู้เรื่อง ปัจจัยกำหนดสุขภาพ ปัจจัยกำหนดของปัญหา

2.แนวคิดชุมชนน่าอยู่และกลไกสภาผู้นำชุมชน

3.ชุดความรู้ การพัฒนาโครงการเชิงผลลัพธ์ (มี 3 ความรู้หลัก คือ ต้นไม้ปัญหา บันไดผลลัพธ์ และวิเคราะห์แรงเสริมแรงต้าน)

4.แผนชุมชนพึ่งตนเอง (การจัดการข้อมูลชุมชน การคัดเลือกปัญหา การกำหนดเป้าหมาย กติกาชุมชน และการสร้างความร่วมมือ)

5.ชุดความรู้ การติดตามประเมินผลเพื่อเรียนรู้และพัฒนา ARE (การคลี่โครงการ (คลี่เป้า คลี่แผน คลี่ข้อมูล เพื่อกำหนดบทบาทหน้าที่และแผนดำเนินงานและประเมินผล....การออกแบบ+เก็บข้อมูล การรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล...การสะท้อนผลเพื่อเรียนรู้ปรับปรุงงานอย่างมีส่วนร่วม ...การกำหนดแผนปรับปรุงและติดตามซ้ำหลังสะท้อนผล)

ทั้งหมดนี้ มีหลักสำคัญในการจัดการ ด้วยรูปแบบ การพัฒนาที่เน้นเรียนรู้จากการลงมือทำ ด้วย

สสส.มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาหนุนเสริมหน่วยจัดการพื้นที่ให้ทำงานได้ดี

หน่วยจัดการพื้นที่ รับผิดชอบ ในการพัฒนาพี่เลี้ยงให้เก่งและร่วมพัฒนากำกับติดตามสภาฯชุมชน

พี่เลี้ยง มีหน้าที่และบทบาทสำคัญในการพัฒนา ติดตามสนับสนุน สภาฯ ให้เก่ง ทำงานได้สำเร็จตามเป้าหมายแผนชุมชนพึ่งตนเอง และเรียนรู้จากการลงมือทำได้ รวมทั้งช่วยเชื่อมภาคีบางส่วน

สภาฯ มีหน้าที่และบทบาทในการ สร้างความร่วมมือทั้งภายใน ภายนอกชุมชน แก้ปัญหา พัฒนาให้ชุมชนน่าอยู่ทั้ง 4 มิติ (สังคม สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สุขภาพ) ตามแผนชุมชนพึ่งตนเองได้ต่อเนื่อง

ทั้งหมดนี้ หัวใจสำคัญ คือ เชื่อว่าการสร้างชุมชนเข้มแข็ง คือ คานงัดสำคัญของการพัฒนา

คำตอบ อยู่ที่ชุมชน แต่ต้องหาคำตอบให้เป็น

แนวคิด ผญ.อึ่ง บ้านสำโรง ต.ท่าสว่างเมืองสุรินทร์

แนวคิดจากการเรียนรู้ ลงมือทำ แลกเปลี่ยน พัฒนา ตนเอง ครอบครัว กลุ่ม ชุมชน เครือข่าย

มานพ แสงดำ

  1. ครอบครัวเพื่อไทยสุรินทร์

เป็นแนวคิดที่ผมได้หารือกับท่าน ผญ.พีรวัศ คิดกล้า ผญ.บ้านสำโรง ต.ท่าสว่าง เมืองสุรินทร์ ที่ขับเคลื่อนงานพัฒนาในหมู่บ้านและขยายผล ไปในหลายหมู่บ้านในจังหวัดสุรินทร์และหลายจังหวัด

งานพัฒนาหมู่บ้านคือรูปธรรม เป็นคานงัดสำคัญ คิดใหญ่ทำเล็กที่ชุมชนหมู่บ้านท้องถิ่น ทำจากเล็กไปใหญ่ ทำเล็กแต่รู้ภาพใหญ่ ใช้วิถีชีวิต ใช้ทุนที่มีทุนชุมชนใช้วัฒนธรรมเดินเรื่อง

พัฒนาคน พัฒนางาน เปลี่ยนวัฒนธรรมการเมืองที่ประชาชนเอื้อมถึงจับต้องได้ กินได้ สัมผัสได้

เรารวมสภาพจิตใจ ทำจากล่างขึ้นบน มีส่วนร่วม มีความเป็นเจ้าของ

การเมืองเดิมรวมได้แต่แต่สภาพกาย รวมได้ทำได้เมื่อมีอำนาจ มีเงิน ยิ่งทำยิ่งต้องเพิ่มจำนวน

ข้อนำเสนอนี้จะเป็นแนวทางปฏิบัติ เป้าหมายเราต่อจากนี้คือคนในพื้นที่ในตำบล ชุมชนหมู่บ้าน ที่สนใจเข้าใจ การสร้างความเข้มแข็งในชุมชนหมู่บ้าน การประสานท้องถิ่นตนเอง