บทบาทกองบุญ

จาก wiki.surinsanghasociety
ไปยังการนำทาง ไปยังการค้นหา

"บทบาทในการเสริมสร้างเครือข่ายกองบุญคุณธรรมของวัดสะเดารัตนาราม ตำบลทุ่งมน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์" วัตถุประสงค์การวิจัย
๑. เพื่อศึกษาหลักคิด(บันทึก)หลักพุทธธรรม พุทธปรัชญา สำคัญที่ทรงอิทธิพล ส่งผล ผลักดันให้เกิดความคิดในการดำเนินการเรื่องนี้ ( ทุกข์ สภาพเวทนา ๓ ที่เกิดขึ้นที่ใจ อันเกิดขึ้นจากการเรียนรู้พุทธธรรม)
๒. เพื่อศึกษา(บันทึก)เป้าประสงค์ ความตั้งใจ นิโรธ คำอธิษฐาน ที่สำคัญ ที่เกิดขึ้นแล้ว ให้ต้องวิมังสาอยู่ตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง กัดไม่ปล่อย (นิโรธ ทุกข์ต้องดับได้)
๓. เพื่อศึกษา(บันทึก)วิธีการ มรรคา กระบวนการ ให้โลกจดจำ อันจะเป็นแนวทางชี้นำมาร่วมกันในการแก้ปัญหาโลก สังคม ชุมชน (ทุกปัญหามีทางออกเสมอ ต้องจัดระบบความคิด ความเข้าใจ ความต้องการ ความจำเป็น ของผู้คนในสังคมให้เกิดธรรมาภิบาล สุจริต ๓ ร่วมกัน มรรค ๘ ต้องแก้ปัญหาทุกปัญหาได้จริง)


เจ้าอาวาสวัดสะเดารัตนารามเมื่อสมัยเด็กมีความผูกพันกับชุมชนกับวัดกับโรงเรียนอย่างมาก โดยมีโยมพ่อเป็นผู้ปลูกฝังอุดมการณ์ เมื่อใกล้วัยบวชได้ตั้งใจที่จะจัดผ้าป่าสามัคคีเพื่อจะพัฒนาวัดให้ดีขึ้น หลังจากนั้นจึงมีเหตุให้บวชเพื่อมาพัฒนาวัด ได้ระดมทุนได้บอกบุญได้เชิญชวนญาติโยมบ่อยครั้ง ความที่ชักชวนญาติโยมทำบุญจึงมีจิตใต้สำนึกของความกตัญญูกตเวทิตามากขึ้น ๆ ปรารถนาให้ญาติโยมได้รับความดีได้รับความสุขใจได้รับความเจริญรุ่งเรืองจากการปฏิบัติตนอยู่ในธรรม จากการศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเห็นว่าพระภิกษุมีบทบาทตามทิศ ๖ แนวทางแนะนำญาติโยมมีวิธีห่างไกลทุกข์ด้วยการห่างจากอบายมุขเป็นเบื้องต้น ห่างจากกิเลสชั้นหยาบก่อน เรื่องการจัดการทุนทรัพย์ของครอบครัวต้องทำให้ได้ก่อน (ทำบัญชีครัวเรือนก่อน) จึงขยับตัวสู่การแก้ปัญหาเรื่องอื่น ๆ ได้ดีขึ้น หรือง่ายต่อการเรียนรู้ เรียนเข้าใจ เรียนปฏิบัติธรรมในทุกหัวข้อธรรมได้ง่ายขึ้นลึกซึ้งมากขึ้นตามลำดับ ๆ กระบวนการแก้ปัญหาชีวิต ชุมชน สังคมมีหลักคิดสำคัญสำหรับการออกจากปัญหาคืออริยสัจ ๔ ขณะทำงานสอนชาวโลกด้วยภาคสนามปฏิบัติการทางสังคมคุณธรรมที่คุกกรุ่นภายในจิตใจคือพรหมวิหาร ๔ อัปปมัญญา ๔ โดยตระหนักคุณค่าของญาติโยมที่เสียสละบริจาคต่อพระพุทธศาสนาและสังคมรวมถึงทุกคนก็มีความปรารถนาให้ถึงความสุขภายในใจของตนเช่นกันทุกชีวิตไม่เว้นใครสักคน ความกตัญญูกตเวทิตานี้เข้าใจถึงคุณค่าความเป็นมนุษย์ที่ต้องรักษาอภิบาลให้ทรงอยู่มากขึ้น เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์แก่ทุกชีวิต ความกตัญญูทำให้โลกรอดได้ คิดเนือง ๆ ที่จะช่วยแก้ปัญหาญาติโยมชาวบ้านในหลักอริยสัจ ๔ ได้เห็นต้นแบบพระสงฆ์พัฒนาหลาย ๆ รูป จากการอ่านเอกสารต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น หลวงปู่นาน พระครูพิพิธประชานาถ ทำนาสอนชาวบ้าน ตั้งธนาคารข้าวช่วยชาวนา ตอบแทนค่าข้าวชาวบ้าน หลวงปู่ริม รตนมุนี สร้างสะพาน ขุดสระ โรงเรียน อนามัย ศูนย์พัฒนาตำบล วัด หลวงปู่หงส์ขุดสระสร้างป่า พระสงฆ์ในชุมชนแต่อดีตกั้นทำนบสร้างสะพาน และพระสงฆ์เพื่อการพัฒนาในประเทศไทยหลาย ๆรูปลุยงานชุมชนอย่างกล้าหาญเด็ดเดี่ยว ต่อมาจากการอ่านหนังสือพระสงฆ์ที่ทำงานด้านการเงินคือพระอาจารย์สุบิน จังหวัดตราด จึงมั่นใจว่าพระจับเงินล้วน ๆ จับเงินแบบนับจำนวนโชว์ตัวเลขดัชนีวัดการทำงานอยู่ตลอดเวลาเพื่อทำงานให้สังคมได้อย่างชัดเจนขึ้น เมื่อปี 2542 จึงจัดตั้งกองทุนเฉลี่ยบุญขึ้นในวัดสะเดารัตนารามช่วยเพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลงานศพ การเก็บเงินจากสมาชิกเพื่อช่วยงานศพมีอยู่ทุกหมู่บ้านมีรูปแบบมากมาย แนวทางของชุมชนหลายๆชุมชนที่ทำเรื่องฌาปนกิจการช่วยเหลืองานศพกัน เกิดขึ้นแล้วก็ล้มลงได้ทำลายความเชื่อมั่นของสมาชิกในชุมชนได้เห็นอยู่ตลอดเวลา ผู้คนสูญเสียความสุข สุขภาพจิตย่ำแย่ทุกชุมชนล้วนเกิดขึ้นจากการจัดการเรื่องเงินที่ไม่เข้มแข็งพอ ขาดความเข้าใจเรื่องเงินเรื่องความจำเป็นของชีวิต (จำเป็น ต้องการ อยากได้) ในระดับที่มีระบบและข้อมูลชัดเจนเอาจริงจังก็มีเครือข่ายระดับจังหวัด ประเทศ เรียกกันว่า การประกันชีวิต ปี 2550 ดำเนินงานสร้างเครือข่ายกองบุญทั้งจังหวัดร่วมกับภาคประชาสังคมจังหวัดและร่วมกิจกรรมรวมของประเทศเกี่ยวข้องกับภาครัฐและกฎหมาย พัฒนาสังคมต้องนำสังคหวัตถุ ๔ มาหล่อหลอมคนทั้งสังคม ผู้นำที่ทำงานด้านการเงินของชุมชนควรต้องมีคุณธรรม งานนี้ต้องใช้ชื่อกองบุญคุณธรรมในจังหวัดเพื่อโน้มน้าวให้เกิดความเชื่อว่าเงินเป็นเครื่องมือมิใช่เป้าหมาย แต่คน ชุมชน จิตใจต่างหากคือความจริงที่ทุกชีวิตต้องการจริง ๆ ปี 2553 พยายามก่อเกิดการดำเนินการออมศีลธรรม ปี 2555 เริ่มพูดแสดงธรรมทางสถานีวิทยุวัดทุกวัน ต้องการสร้างเครือข่ายผู้ฟังวิทยุได้เรียนรู้ผูกพันในการเชื่อมโยงกัน กองบุญคือเครื่องมือนั้น ปี 2558 เรี่ยไรข้าวเปลือกหล่อพระต้องการสร้างกองบุญเพื่อให้สังคมช่วยพัฒนาวัดและสังคมเหลือเกื้อกูลกัน ลดความเหลื่อมล้ำ ชี้นำวิธีการที่คนทุกคนสามารถทำได้ แนวคิดธนาคารคนจน การทำงานล้วนไม่ห่างหายหลักธรรมอิทธิบาท 4 ได้ถูกมาใช้ในการดำเนินงานตลอดเวลาโดยเฉพาะวิมังสาการไตร่ตรองตรึกตรองหาเหตุและผลแก้ปัญหาของการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายสังคมธรรมาภิบาลสังคม แบ่งปันธาตุ 4 สู่การลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม พุทธธรรมที่เป็นสัจธรรม เป็นพื้นตั้งรองรับความคิดและการทำงานทางกายทางสังคมเสมอ
๓ มกราคม ๒๕๖๓
ความตั้งใจ
กองบุญ 5 G
กองบุญฝึกคน