พัฒนาการความคิด ช่วงปี 2545

จาก wiki.surinsanghasociety
ไปยังการนำทาง ไปยังการค้นหา

กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕

  • ๘ – ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕ จัดกิจกรรมทอดผ้าป่าสามัคคี สมทบทุนก่อสร้าง และเปิดป้าย ศูนย์นิเวศน์ศึกษาป่าชาชนกำไสจาน ณ หน้าโรงเรียนทุ่งมนวิทยาคาร ได้รับการทำบุญบริจาค จำนวน ๗๘,๑๔๘ บาท

มีนาคม ๒๕๔๕

  • มีนาคม ๒๕๔๕ ส่งสารรณรงค์ให้คนรักษาศีล ๕ ในที่ประชุมประจำเดือนของอำเภอปราสาท ครั้งจัดงานปริวาสในวัดสะเดารัตนาราม
  • ๔ มีนาคม ๒๕๔๕ โฉนดที่ดิน ( น.ส.๔ จ ) เลขที่ ๓๐๙๘๐ เล่ม ๓๑๐ หน้า ๘๐ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ตำแหน่งที่ดิน ระวาง ๕๖๓๘ # ๑๖๒๔ เลขที่ดิน ๕๓๘ หน้าสำรวจ ๑๘๗๓ ตำบลทุ่งมน มีเนื้อที่ ๑๖ ไร่ ๑ งาน ๖๑ ตารางวา ออกเมื่อวันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ มีนาคม ๒๕๔๕ หลังได้โฉนดได้เขียนลงในสำเนาโฉนดที่ดิน ว่า “สถานที่ปฏิบัติธรรม สร้างชุมชนกัลยาณมิตร”
  • ๒๑ มีนาคม ๒๕๔๕ บันทึกวัดสะเดารัตนาราม

กิจกรรมเด่น
๑. บรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน
๒. อบรมเยาวชนและศาสนิกชนแบบบูรณาการ
๓. งานปริวาสกรรมและปฏิบัติธรรม

วิธีดำเนินการ
๑. ประสานองค์กรบุคคลองค์ความรู้อย่างบูรณาการ

เป้าหมายในการพัฒนาวัด
๑. เพื่อพัฒนาศาสนทายาท เยาวชน ศาสนิกชน
๒. เพื่อเป็นสถานที่เจริญสมาธิภาวนา
๓. เพื่อเป็นวัดพัฒนาด้านสุขภาพจิต
บันทึก เมื่อ ๒๑ มีนาคม ๒๕๔๕

  • ๓๐ มีนาคม ๒๕๔๕ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยอนุมัติสภามหาวิทยาลัย ให้ปริญญาบัตรนี้แก่ พระมหาวีระ กิตฺติวณฺโณ (ได้ทุกทาง) (เกียรตินิยมอันดับสอง) เพื่อแสดงว่าสำเร็จการศึกษาเป็นพุทธศาสตร์บัณฑิต คณะครุศาสตร์ สาขาวิชา สังคมศึกษา มีศักดืและสิทธิแห่งปริญญานี้ทุกประการ

เมษายน ๒๕๔๕

  • ๒๒ เมษายน ๒๕๔๕ นางภิมาลี ภูศรี ส่งหนังสือขออนุญาตสร้างวัด เมื่อ วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕

พฤษภาคม ๒๕๔๕

  • ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๔๕ พระมหาวีระ กิตฺติวณฺโณ (ได้ทุกทาง) เข้ารับประสาทปริญญา พุทธศาสตร์บัณฑิต รุ่นที่ ๔๗ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ณ หอประชุมพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
  • ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๔๕ เปิดป้ายแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ “ลำน้ำชี” ( หลวงปู่หงส์-หลวงปู่ฤทธิ์) ณ ฝายหลวงปู่หงส์ “ลำน้ำชี” นายอำเภอปราสาท เป็นประธานในพิธี
  • พ.ศ. ๒๕๔๕ เขียนแนวคิด การท่องเที่ยวทั่วไทยไปทุกเดือนที่ทุ่งมน เป็นแนวคิดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ นอนชุมชนบ้านทุ่งมน เที่ยวป่าชุมชนกำไสจาน ล่องลำน้ำชี อบสมุนไพร ชมวัด ดูการละเล่นวัฒนธรรมพื้นบ้าน

กุรกฎาคม ๒๕๔๕

  • ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๔๕ มีการจัดตั้งคณะกรรมการวัดสะเดารัตนาราม มีคณะกรรมการ ๒๙ รายชื่อ ระยะเวลา ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๔๕ – ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๔๗

กุันยายน ๒๕๔๕

  • ๗ กันยายน ๒๕๔๕ ถอดบทเรียนการทำงานในการพัฒนาของพระมหาวีระ กิตฺติวณฺโณ ในโครงการพัฒนาองค์ความรู้ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งองค์ภาคประชาชน จ.สุรินทร์ เรื่อง “บทบาทพระสงฆ์ในการพัฒนา”

ตุลาคม ๒๕๔๕

  • ๒๔ ตุลาคม ๒๕๔๕ บันทึกเส้นทางหลักฯ

เส้นทางหลักกลับจุดมุ่งหมาย
คนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา คนมองปัญหาเพื่อขจัดปัญหา นี่เป็นการพัฒนาชีวิต
หมู่คนร่วมกันขจัดปัญหาของปัจจุบันและอนาคต
ชีวิตหลุดพ้นจากปัญหา ชีวิตมีสันติสุขภายนอกและภายใน

  • บันทึกเมื่อ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๔๕

กรรมการวัดบริหารจัดการวัดและทรัพยากร เพื่อประโยชน์อย่างสูงสุดของชุมชนและร่วมกันสร้างชีวิตและจิตวิญญาณ
ทุนที่ได้รับการบริจาคในการทอดผ้าป่าสามัคคี ทอดกฐิน เทศน์มหาชาติ และอื่นๆ หรือทุนอุดหนุน/ส่งเสริมอื่น ให้จัดสรร ๕๐% เพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพจิตและกระบวนการศึกษาเรียนรู้ของชุมชน และ 50% เพื่อพัฒนาการสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ การศึกษาและกลไกอื่นภายในวัด ทั้งหมดนี้ให้คำนึงเป้าหมายสูงสุดคือการมีส่วนร่วมสร้างความสุขในชุมชน
ภายใน ๑๐ ปี ทูลพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จชุมชนตำบลทุ่งมน-สมุด เมื่อชุมชนบรรลุเป้าหมายหลายด้าน
๑. ป่าไม้ ลุ่มน้ำ และสิ่งแวดล้อม ชุมชนได้มีการดูแลจัดการเป็นอย่างดี มีการเรียนการสอนด้านสิ่งแวดล้อม
๒. วัฒนธรรม ชุมชนมีการสืบสานวัฒนธรรม นำวัฒนธรรมเป็นวิถีชีวิต
๓. องค์กรศาสนา มีบริหารการปกครอง การศึกษา การเผยแผ่อย่างมีคุณภาพ
๔. การศึกษา คนทุกคนในชุมชนรักการเรียนรู้ ใฝ่ศึกษาตลอดเวลา
๕. สุขภาพ ผู้คนในชุมชนมีสุขภาพจิตดีร่างกาย สุขภาพร่างกายแข็งแรง สังคมมีความสุข
๖. ภูมิปัญญา มีการรักษาภูมิปัญญาต่าง ๆ ไว้มีพิพิธภัณฑ์ในชุมชน
๗. กลุ่มเยาวชน ผู้สูงอายุ อสม. สตรี อนุรักษ์ธรรมชาติ ฯลฯ มีความเข้มแข็งทำงานเป็นทีม