พัฒนาการความคิด ช่วงปี 2554

จาก wiki.surinsanghasociety
ไปยังการนำทาง ไปยังการค้นหา
  • 15 ก.พ..2554 โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊ค ว่า “บ้านมั่นคงชนบท เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาสถาบันครอบครัว”
  • 15 ก.พ..2554 โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊ค ว่า “วันนี้เข้าปรึกษากับผอ.จำลอง จะมัวดี จัดงาน 17 พ.ค.2554 ครบวันบวช 21 ปี”

และ อีกข้อความในวันเดียวกัน “เวลา 06.00 - 07.00 น. จัดรายการวิทยุ บรรยายธรรมะภาษาท้องถิ่น ทางสถานีวิทยุธรรมะ DMC ทุ่งมนสว่างกลางใจ 98.75 MHz เริ่มได้ 3 เช้าแล้ว สถานีตั้งอยู่ในวัด”

  • 11 พ.ค.2554 โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊ค ว่า “ทุนการศึกษา "สังคมแห่งการเรียนรู้ ชุมชนไม่ทอดทิ้งกัน" เสริมสภาเด็กและเยาวชนตำบล งดงามอย่างยั่งยืน”
  • 18 ก.ค.2554 โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊ค ว่า “ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพทุนการศึกษามหากุศล แด่เด็กดีและเก่ง ทุนละ ๑,๐๐๐ บาท จำนวน ๑๐๐ ทุน พิธีมอบทุน วันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๔

ณ วัดสะเดารัตนาราม ต.ทุ่งมน อ.ปราสาท จ.สุรินทร์” “ทุนการศึกษา "สังคมแห่งการเรียนรู้ ชุมชนไม่ทอดทิ้งกัน พัฒนาอย่างยั่งยืน"” “คุณสมบัติผู้รับทุน
๑. เป็นสมาชิกกองทุนคุณธรรมสวัสดิการชุมชน(วันละบาท ต.ทุ่งมน)
๒. เป็นนักเรียน นักศึกษา
๓. ห่างไกลสิ่งเสพติด การพนัน และ อบายมุข
๔. มีการลดค่าใช้จ่ายประจำวัน ช่วยครอบครัวประหยัด เช่น ปลูกผักไว้ทาน , ปลูกพืชผักสวนครัว เป็นต้น
๕. หารายได้ทุกวัน วันละ ๑ บาท เช่น หาขยะรีไซเคิลขาย , ปลูกผักขาย เป็นต้น
๖. ปฏิบัติธรรม สวดมนต์ไหว้พระ นั่งสมาธิ ช่วยงานพระศาสนา เนืองนิตย์”

  • 23 ก.ค.2554 โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊ค ว่า “สุขภาพ ช่วงนี้จะมีอาการเพลีย ๆ นอนดึก ตื่นดึก ง่วงกลางวัน ขึ้นรถเป็นต้องหลับทุกที” “เรียนรู้ในการปรับตัว กับ การลดโลกร้อน อย่างไรสำคัญก่อน”
  • 23 ก.ค.2554 โพสต์ภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่ง และข้อความทางเฟซบุ๊ค ว่า “กำลังสร้างโบสถ์” “ชาวบ้านลงแรงช่วยกันเทปูนคานชั้น 2 เมื่อวันที่ 16 ก.ค. 54 วันเข้าพรรษา”
  • กรกฏาคม ๒๕๕๔ จัดกิจกรรมบวชพระเข้าพรรษา ศูนย์อบรมวัดสะเดารัตนาราม งาน...โครงการอุปสมบทหมู่เข้าพรรษาทุกหมู่บ้านทั่วไทย ปี ๒๕๕๔
  • ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๔ บันทึก แนวทางแก้ไขงานสวัสดิการชุมชนสุรินทร์

๑. ถ้าผู้ว่าราชการฯ ไม่สามารถเป็นประธานในที่ประชุมได้ ขอ พมจ. หรือรองประธานภาคประชาชนเป็นประธานในที่ประชุมได้
๒. ถ้าผู้ว่าราชการฯ ไม่ออกหนังสือเชิญคณะกรรมการประชุม พมจ. หรือ รองประธานภาคประชาชน เรียกประชุมได้
๓. ประธานภาคประชาชน ใช้จ่ายงบประมาณเพื่อการประชุมได้ หรือ อนุมัติงบประมาณล่วงหน้า เพื่อการประชุม
๔. พมจ. หรือ รองประธานภาคประชาชน สามารถลงนามหนังสือ ติดต่อกับ พอช. ได้
• ทบทวนกลไกการทำงานของโซน (บางโซน คนทำงานเหลือ 2 คน เมื่อมีการประชุมจังหวัดก็หาคนเข้าประชุมไม่ได้) • ติดตามงบ ซ่อม สร้าง พัฒนาความเข้มแข็ง ส่งเสริมกลไก ที่โอนลงตำบล • ติดตามงบโซน 20,000 บาท • ทบทวนวิธีการทำงานในระดับพื้นที่ • ควรมีทีมติดตาม หนุนเสริม ของจังหวัด ที่มาจากทั้ง 2 ส่วน • ทำอย่างไรกลไกขบวนจังหวัด จะเคลื่อนตัวหนุนงานสวัสดิการได้มากกว่านี้ • ทำอย่างไรกลไกสภาองค์กรชุมชนระดับจังหวัด ระดับพื้นที่ จะเกิดพลังในการทำงานจริง ๒๗ ก.ค. ๕๔

  • 29 ก.ค.2554 โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊ค ว่า “ทำงานเพื่อจังหวัด

คณะสงฆ์เพื่อการพัฒนาสังคมจังหวัดสุรินทร์ เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นใหม่เพื่อยกบทบาทคณะสงฆ์จังหวัดสุรินทร์กับการมีส่วนร่วมพัฒนาสังคมจังหวัดสุรินทร์”

  • 30 ก.ค.2554 โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊ค ว่า “ขอบารมีหลวงปู่หงษ์

การคณะสงฆ์วัดสะเดารัตนาราม ตำบลทุ่งมน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ๓๒๑๔๐
ที่ พิเศษ / ๒๕๕๔ วันที่ ๑ เดือน สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
เรื่อง สร้างเหรียญที่ระลึกรุ่น คนสุรินทร์ใจดี (เจิ๊ดเจีย ออยเตียน รัวซีเมียน มินยาก มินกรอ เกิ๊ดกะแซไทร์)
............................................................................................................................................................................... ข้าพเจ้า/กระผม/อาตมภาพ พระมหาวีระ กิตฺติวณฺโณ คติธรรมว่า “เพียรเพื่อพุทธศาสน์ ปราชญ์เพื่อศาสนิก” มีความมุ่งมั่นปีติธรรมในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เกิดผลดีต่อศาสนิกชน เห็นประจักษ์ว่า สถาบันศาสนามีบทบาทสำคัญทางสังคม พุทธบริษัท ๔ คือพลังทางศีลธรรม จึงรวมทีมงานพระสงฆ์จังหวัดสุรินทร์ ในนาม “โครงการทานบารมีเพื่อการพัฒนาสังคมจังหวัดสุรินทร์” ดำเนินกิจกรรมระดมทุน ระดมธรรม ขับเคลื่อนการพัฒนาสังคมจังหวัดสุรินทร์ ร่วมกับสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสุรินทร์และจังหวัดสุรินทร์ ตามวิสัยทัศน์ “เด็กเยาวชนเป็นคนดี ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคมน่าอยู่” มี ๔ พันธกิจหลัก คือ
๑.เสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชน ในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อม
๒.เสริมสร้างการจัดระเบียบสังคม และการใช้ชีวิตที่เหมาะสม
๓.เสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว
๔.เสริมสร้างศักยภาพเครือข่ายปฏิบัติการเอาชนะยาเสพติด
เพื่อส่งเสริมบทบาทพระสงฆ์ อุบาสก อุบาสิกา ฝึกทำงานเป็นทีมสร้างนวัตกรรมด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา หนุนเสริมสังคมคุณภาพ สังคมคุณธรรม มีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น เกิดคุณค่าทางจิตใจ ๔ พันธกิจถูกนำไปปฏิบัติการอย่างกว้างขวาง จึงขออาราธนาบารมีธรรม ทานบารมี เมตตาบารมี สัจจะบารมี อธิฐานบารมี หลวงปู่หงษ์ พรหมปญฺโญ พระอุปัชฌาย์ของข้าพเจ้า เกจิดังแห่งอีสานใต้ ปูชนียบุคคลแห่งพระพุทธศาสนา ประดิษฐานเหรียญที่ระลึก หลวงปู่หงษ์ พรหมปญฺโญ รุ่น คนสุรินทร์ใจดี (เจิ๊ดเจีย ออยเตียน รัวซีเมียน มินยาก มินกรอ เกิ๊ดกะแซไทร์) พ.ศ. ๒๕๕๕ จำนวน ๒๐,๐๐๐ เหรียญ เป็นที่ระลึกแก่ผู้บริจาคในการระดมทุนตามวาระนี้ด้วย


( พระมหาวีระ กิตฺติวณฺโณ)
เจ้าอาวาสวัดสะเดารัตนาราม
ประธานเครือข่ายกองบุญคุณธรรมเพื่อจัดสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์
ผู้ประสานงานโครงการทานบารมีเพื่อการพัฒนาสังคมจังหวัดสุรินทร์
โทร ๐๘๑-๕๗๙๓๒๕๐ อีเมล์ [email protected]

  • 31 ก.ค.2554 โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊ค ว่า

ขอบารมีหลวงปู่ริม
การคณะสงฆ์วัดสะเดารัตนาราม ตำบลทุ่งมน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ๓๒๑๔๐
ที่ พิเศษ / ๒๕๕๔ วันที่ ๑ เดือน สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
เรื่อง การสร้างเหรียญที่ระลึกรุ่น พระผู้มีแต่ให้ และ รุ่นเศรษฐีบุญ
............................................................................................................................................................................... ข้าพเจ้า/กระผม/อาตมภาพ พระมหาวีระ กิตฺติวณฺโณ คติธรรมว่า “เพียรเพื่อพุทธศาสน์ ปราชญ์เพื่อศาสนิก” มีความมุ่งมั่นปีติธรรมในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เกิดผลดีต่อศาสนิกชน เห็นประจักษ์ว่า สถาบันศาสนามีบทบาทสำคัญทางสังคม พุทธบริษัท ๔ คือพลังทางศีลธรรม จึงรวมทีมงานพระสงฆ์จังหวัดสุรินทร์ ในนาม “โครงการทานบารมีเพื่อการพัฒนาสังคมจังหวัดสุรินทร์” ดำเนินกิจกรรมระดมทุน ระดมธรรม ขับเคลื่อนการพัฒนาสังคมจังหวัดสุรินทร์ ร่วมกับสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสุรินทร์และจังหวัดสุรินทร์ ตามวิสัยทัศน์ “เด็กเยาวชนเป็นคนดี ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคมน่าอยู่” มี ๔ พันธกิจหลัก คือ
๑.เสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชน ในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อม
๒.เสริมสร้างการจัดระเบียบสังคม และการใช้ชีวิตที่เหมาะสม
๓.เสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว
๔.เสริมสร้างศักยภาพเครือข่ายปฏิบัติการเอาชนะยาเสพติด
เพื่อส่งเสริมบทบาทพระสงฆ์ อุบาสก อุบาสิกา ฝึกทำงานเป็นทีมสร้างนวัตกรรมด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา หนุนเสริมสังคมคุณภาพ สังคมคุณธรรม มีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น เกิดคุณค่าทางจิตใจ ๔ พันธกิจถูกนำไปปฏิบัติการอย่างกว้างขวาง จึงขออาราธนาบารมีธรรม ทานบารมี เนกขัมมะบารมี ปัญญาบารมี สัจจะบารมี เมตตาบารมี อธิฐานบารมี หลวงปู่ริม รตนมุนี ผู้ให้กำเนิดวัดสะเดารัตนารามและโรงเรียนบ้านทุ่งมน(ริมราษฎร์นุสรณ์) อดีตเกจิดังแห่งอีสานใต้ ปูชนียาจารย์ต้นแบบในการพัฒนาชุมชน ประดิษฐานรูปเหมือนที่ระลึก รุ่น พระผู้มีแต่ให้ และ รุ่นเศรษฐีบุญ เป็นที่ระลึกแก่ผู้บริจาคในการระดมทุนตามวาระนี้ด้วย


( พระมหาวีระ กิตฺติวณฺโณ)

เจ้าอาวาสวัดสะเดารัตนาราม
ประธานเครือข่ายกองบุญคุณธรรมเพื่อจัดสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์
ผู้ประสานงานโครงการทานบารมีเพื่อการพัฒนาสังคมจังหวัดสุรินทร์
โทร ๐๘๑-๕๗๙๓๒๕๐ อีเมล์ [email protected]

  • ข้อความที่โพสต์ในวันที่ 31 ก.ค. 2554 เช่นกัน คือ

อัตลักษณ์
วิสัยทัศน์ “เด็กเยาวชนเป็นคนดี ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคมน่าอยู่”
ร่วมสร้างอัตลักษณ์ “ คนสุรินทร์ใจดี” “มนึสะเร็นเจิ๊ดเจีย รวมคะเนียจวยสะเร็น”
เจิ๊ดเจีย ออยเตียน รัวซีเมียน มันยาก มันกรอ

  • 1 ส.ค.2554 โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊ค ว่า

รวมสงฆ์เป็นทีม
กระบวนการที่โครงการทานบารมีเพื่อการพัฒนาสังคมจังหวัดสุรินทร์ระดมทุนผ่านวัด
วัตถุประสงค์
๑. พุทธบริษัท ๔ จังหวัดสุรินทร์ มีบทบาท มีส่วนร่วมกับราชการ (พุทธจักรร่วมมือกับอาณาจักรอย่างจริงจัง)
๒. ยกระดับการเผยแผ่พระพุทธศาสนา เป็นนวัตกรรมทางสังคม
๓. ยกย่องให้วัดเป็นศูนย์กลางชุมชน ในการพัฒนาคน ชุมชนสุขภาวะ (กาย สังคม จิต ปัญญา) ด้วยการประสานความร่วมมือกับญาติโยมรอบวัด
๔. เพิ่มศักยภาพ ทักษะพระภิกษุ ในการปลูกฝังนิสัยรักในการทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา แก่ศาสนิกชน ประชาชนรอบวัด
๕. พัฒนาชุมชนสวัสดิการบนฐานศาสนา บ้าน วัด โรงเรียน โยมรักวัด พระดูแลโยม
๖. เพิ่มกองทุนฯจังหวัด อย่างต่อเนื่อง มีทุนเพียงพอในการจัดสรรแก่องค์กรที่ขอรับทุน
๗. พัฒนาบุคลากรในเครือข่ายองค์กรที่ขอทุน ให้เปี่ยมคุณธรรม
ขั้นตอนการทำงานระดมทุน
๑. ประชาสัมพันธ์ข่าวสาร ให้รับรู้ทั่วไปในสังคมวงกว้าง
๒. เข้าประสานงาน ชี้แจงทำความเข้าใจ แด่เจ้าอาวาสวัด
๓. ทำใบประกาศถวายเจ้าอาวาส และพระภิกษุในวัด เป็นทีมงานคณะสงฆ์เพื่อการพัฒนาฯ
๔. วัดนั้น ๆ คัดเลือกฆราวาส อุบาสก อุบาสิกาผู้มีความศรัทธาในวัด จำนวน ๕-๑๐ คน เป็นอาสาสมัครระดมทุนโครงการทานบารมีเพื่อการพัฒนาฯ
๕. ทำใบประกาศแต่งตั้ง เป็นอาสาสมัครระดมทุนโครงการทานบารมีเพื่อการพัฒนาฯ
๖. มอบเหรียญที่ระลึก, พระของขวัญ แก่เจ้าอาวาส เพื่อมอบแด่ผู้บริจาคที่กำหนดไว้
๗. เจ้าอาวาส พระภิกษุ และอาสาสมัครฯ ทำการประกาศ/ประชาสัมพันธ์/ชี้แนะ /แนะนำ ให้ความรู้ ตามแนววิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย การขับเคลื่อนการพัฒนาสังคมจังหวัดสุรินทร์ แล้วจึงทำการระดมทุนที่เป็นเงินในนามวัดแห่งนั้น ด้วยวิธีการ เช่น ตั้งตู้รับบริจาค , ทอดผ้าป่าสามัคคี, ชักชวนบอกบุญ และ รับบริจาคทั่วไป
๘. ทางวัดแบ่งเงินทุนจำนวนหนึ่ง บริจาคเข้าโครงการทานบารมีเพื่อการพัฒนาฯ
๙. ออกใบอนุโมทนาบัตรมอบแก่วัดนั้น ๆ
๑๐. จัดโอกาสสำคัญปีละครั้งทอดผ้าป่าสามัคคี ภาพรวมทั้งจังหวัด
๑๑.โครงการทานบารมีเพื่อการพัฒนาฯ มอบทุนเข้ากองทุนฯ จังหวัดเป็นระยะ ๆ
๑๒. ขอใบเสร็จรับเงินจาก พมจ. ในกรณีที่ผู้บริจาคประสงค์นำไปใช้หลักฐานสร้างคุณประโยชน์ต่อเนื่อง หรือ จัดพิธีมอบเกียรติบัตรสัมนาคุณผู้มีอุปการะ

  • 1 ส.ค.2554 โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊ค ว่า

ขอบารมีธรรมหลวงปู่ทองอยู่
การคณะสงฆ์วัดสะเดารัตนาราม ตำบลทุ่งมน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ๓๒๑๔๐
ที่ พิเศษ / ๒๕๕๔ วันที่ ๑ เดือน สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
เรื่อง ขออาราธนาบารมีธรรมพระธรรมโมลี เจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ อุปถัมภ์การดำเนินงาน
............................................................................................................................................................................... ข้าพเจ้า/กระผม/อาตมภาพ พระมหาวีระ กิตฺติวณฺโณ คติธรรมว่า “เพียรเพื่อพุทธศาสน์ ปราชญ์เพื่อศาสนิก” มีความมุ่งมั่นปีติธรรมในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เกิดผลดีต่อศาสนิกชน เห็นประจักษ์ว่า สถาบันศาสนามีบทบาทสำคัญทางสังคม พุทธบริษัท ๔ คือพลังทางศีลธรรม จึงรวมทีมงานพระสงฆ์จังหวัดสุรินทร์ ในนาม “โครงการทานบารมีเพื่อการพัฒนาสังคมจังหวัดสุรินทร์” ดำเนินกิจกรรมระดมทุน ระดมธรรม ขับเคลื่อนการพัฒนาสังคมจังหวัดสุรินทร์ ร่วมกับสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสุรินทร์และจังหวัดสุรินทร์ ตามวิสัยทัศน์ “เด็กเยาวชนเป็นคนดี ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคมน่าอยู่” มี ๔ พันธกิจหลัก คือ
๑.เสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชน ในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อม
๒.เสริมสร้างการจัดระเบียบสังคม และการใช้ชีวิตที่เหมาะสม
๓.เสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว
๔.เสริมสร้างศักยภาพเครือข่ายปฏิบัติการเอาชนะยาเสพติด
เพื่อส่งเสริมบทบาทพระสงฆ์ อุบาสก อุบาสิกา ฝึกทำงานเป็นทีมสร้างนวัตกรรมด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา หนุนเสริมสังคมคุณภาพ สังคมคุณธรรม มีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น เกิดคุณค่าทางจิตใจ ๔ พันธกิจถูกนำไปปฏิบัติการอย่างกว้างขวาง จึงขออาราธนาบารมีธรรม ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมะบารมี ปัญญาบารมี วิริยะบารมี สัจจะบารมี ขันติบารมี อธิฐานบารมี เมตตาบารมี อุเบกขาบารมี พระธรรมโมลี (หลวงปู่ทองอยู่ ญาณวิสุทฺโธ) เจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ ปูชนียาจารย์แห่งการพัฒนาการศึกษา(พระมหาเถระรัตตัญญู ปธ.๙ และพุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต(พธ.ด.) แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)และการพัฒนาสังคม ได้เป็นที่ปรึกษาและอุปถัมภ์การดำเนินงานในนาม “โครงการทานบารมีเพื่อการพัฒนาสังคมจังหวัดสุรินทร์” สร้างอัตลักษณ์ “คนสุรินทร์ใจดี” “มนึสะเร็นเจิ๊ดเจีย รวมคะเนียจวยสะเร็น” และคำขวัญ “เจิ๊ดเจีย ออยเตียน รัวซีเมียน มินยาก มินกรอ เกิ๊ดกะแซไทร์”


( พระมหาวีระ กิตฺติวณฺโณ)
เจ้าอาวาสวัดสะเดารัตนาราม
ประธานเครือข่ายกองบุญคุณธรรมเพื่อจัดสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์
ผู้ประสานงานโครงการทานบารมีเพื่อการพัฒนาสังคมจังหวัดสุรินทร์
โทร ๐๘๑-๕๗๙๓๒๕๐ อีเมล์ [email protected]

  • 8 ส.ค.2554 โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊ค ว่า “ฝึกพิธีกรคนใหม่ เพื่อจัดงานตักบาตรวันแม่

ลาน สายสู่ และ สุวิชาดา สายสู่” “คุณลาน สายสู่ พูดได้ดี เช่น พี่ชายของเขา คือ ผญ.อุทัย หวังทางมี” “ฝึกบุคลากรในชุมชน ก็จะมีคนเก่ง คนดี เกิดขึ้นในชุมชนเพิ่มมากขึ้น”

  • 8 ส.ค.2554 โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊ค ว่า “จัดตักบาตรวันแม่ เป็นความร่วมมือทุกฝ่ายในตำบล ผู้คนร่วมบริจาคเงิน 6,078 บาท เก็บเป็นกองทุนแม่เพื่อแผ่นดิน (ทุนการศึกษา)” “ขออนุโมทนาที่ได้ไปร่วมทำบุญตักบาตร ที่ ท.ว.ค. ในวันแม่ จัดโดย อบต.ทุ่งมน และภาคีในตำบล ได้เริ่มจักตั้งกองทุนแม่เพื่อแผ่นดิน จำนวน 6,078 บาท ด้วย เริ่มต้นส่งเสริมการศึกษาของเด็กเยาวชนในตำบลต่อไป สิ่งดี ๆ จะเกิดขึ้นที่ชุมชนของเรา”
  • 8 ส.ค.2554 โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊ค ว่า

สวัสดิการงานศพครบวงจร

  • 12 สิงหาคม 2011 เวลา 16:54 น.

แนวทางการจัดสวัสดิการโครงการวันขาว-ดำ (งานศพ) ครบวงจร
ตำบลทุ่งมน ,วัดสะเดารัตนาราม และชมรมอุบาสิกาแก้ววัดสะเดารัตนาราม
องค์กรเชื่อมโยง คือ ทีมงาน ๑๑ เพชรเสียงพิณ, วัดสะเดารัตนาราม , ชมรมอุบาสิกาแก้ววัดสะเดารัตนาราม , สภาองค์กรชุมชนตำบลทุ่งมน, กองทุนคุณธรรมสวัสดิการชุมชนฯตำบลทุ่งมน , องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งมน , กำนัน ผู้ใหญ่บ้านตำบลทุ่งมน ฯลฯ
ภายใต้แนวคิด ทุนการศึกษา “ ตำบลทุ่งมน สังคมแห่งการเรียนรู้ ชุมชนไม่ทอดทิ้งกัน” “การพัฒนาที่ยั่งยืน” “งานศพ เป็นงานสาธารณะ งานร่วมของชุมชน”
สวัสดิการวันขาวดำ คือ ดนตรีแห่ศพ, ดนตรีมโหรีประโคมงานศพ, รถแห่ศพ , ผ้าประดับปรำพิธี, ผ้าประดับเมรุ, ดอกไม้ประดับเมรุ, พิธีกร, เจ้าหน้าที่พิธีกรรมหน้าเมรุ, ดอกไม้จันท์ , ผ้าบังสุกุล
๑. ให้มีการกำหนดค่าบริการบริหารจัดการราคาเต็มเป็นระยะ และประกาศให้ทราบทั่วกัน
๒. งานศพของบุคคลที่อยู่นอกจากที่กำหนด คิดค่าบริการบริหารจัดการเต็มราคา
๓. กรรมการหรือ เคยเป็นกรรมการวัดสะเดารัตนาราม (ในและนอกตำบล) ร่วมเป็นเจ้าภาพโดยรับค่าบริการบริหารจัดการ ๕๐ %
๔. เจ้าภาพทำบุญกับวัดประจำ (ในและนอกตำบล) นับการบริจาคตั้งแต่ ๕๐,๐๐๐ บาท ขึ้นไป ร่วมเป็นเจ้าภาพโดยรับค่าบริการบริหารจัดการ ๕๐ %
๕. เป็น หรือ เคยเป็น แกนนำชมรมอุบาสิกาแก้ววัดสะเดารัตนาราม (ในและนอกตำบล) ร่วมเป็นเจ้าภาพโดยรับค่าบริการบริหารจัดการ ๕๐ %
๖. เป็น หรือ เคยเป็น ผู้ร่วมดำเนินโครงการนี้ (ในและนอกตำบล) ร่วมเป็นเจ้าภาพโดยรับค่าบริการบริหารจัดการ ๕๐ %
๗. ครอบครัวใกล้ชิด ขณะเป็นแกนนำชมรมอุบาสิกาแก้ววัดสะเดารัตนาราม (ในและนอกตำบล) ร่วมเป็นเจ้าภาพโดยรับค่าบริการบริหารจัดการ ๕๐ %
๘. ผู้เคยบวชพระในโครงการอุปสมบทหมู่วัดสะเดารัตนาราม(ในและนอกตำบล) และคงรักษาคุณภาพความประพฤติเหมาะสม ร่วมเป็นเจ้าภาพโดยรับค่าบริการบริหารจัดการ ๕๐ %
๙. ครอบครัว ของพระที่ยังอยู่ในโครงการอุปสมบทหมู่วัดสะเดารัตนาราม (ในและนอกตำบล) ร่วมเป็นเจ้าภาพโดยรับค่าบริการบริหารจัดการ ๕๐ %
๑๐. ครอบครัวใกล้ชิดพระภิกษุ วัดอุทุมพร วัดประทุมทอง วัดหินกอง วัดสะพานหัน (ในและนอกตำบล) ร่วมเป็นเจ้าภาพโดยรับค่าบริการบริหารจัดการ ๕๐ %
๑๑. เจ้าภาพอุปถัมภ์โครงการ บริจาคตั้งแต่ ๒๐,๐๐๐ ถึง ๕๐,๐๐๐ บาท (ในและนอกตำบล) รับเป็นเจ้าภาพตามที่ได้ไว้ทั้งหมด ( สามารถทยอยบริจาคได้) ( ให้ขึ้นป้ายประกาศเป็นเจ้าภาพอุปถัมภ์โครงการไว้ให้ปรากฏแก่ชุมชนอย่างเปิดเผย)
๑๒. เป็นหรือ เคยเป็น สมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบลทุ่งมน ร่วมเป็นเจ้าภาพโดยรับค่าบริการบริหารจัดการ ๕๐ %
๑๓. เป็นหรือ เคยเป็น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้บริหาร อบต. ส.อบต. ตำบลทุ่งมน ร่วมเป็นเจ้าภาพโดยรับค่าบริการบริหารจัดการ ๕๐ %
๑๔. เป็นหรือ เคยเป็น กรรมการบริหารกองทุนคุณธรรมสวัสดิการชุมชนฯ ตำบลทุ่งมน ร่วมเป็นเจ้าภาพโดยรับค่าบริการบริหารจัดการ ๕๐ %
๑๕. คนในครอบครัวทุกคนเป็นสมาชิกกองทุนคุณธรรมสวัสดิการชุมชนฯ ตำบลทุ่งมน ร่วมเป็นเจ้าภาพโดยรับค่าบริการบริหารจัดการ ๗๐ %
๑๖. เป็นผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นคนต้นแบบและแกนนำ ด้านการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชน เป็นที่ประจักษ์ ร่วมเป็นเจ้าภาพโดยรับค่าบริการบริหารจัดการ ๔๐ %
๑๗. การรับสวัสดิการตามแนวทางนี้ สามารถรับได้เพียงข้อเดียวเท่านั้น
๑๘. ถ้าการจัดงานศพยังไม่ปลอดเหล้าและการพนัน ขอสงวนสิทธิ์งดเว้นค่าบริการตามแนวทางที่กำหนดไว้
๑๙. สมาชิก/บุคคลที่มีส่วนได้รับ(มีรับราย) จากโครงการนี้ ต้องสมัครเป็นสมาชิกกองทุนคุณธรรมฯ โดยการหักเงินเพื่อส่งกองทุนคุณธรรมสวัสดิการชุมชนฯให้
๒๐. ทางโครงการจะต้องฝึกบุคลากรในโครงการอย่างมีส่วนร่วม เกิดศักยภาพ คุณภาพ ประสิทธิภาพ มีคุณธรรม
๒๑. คำนึงหลักคิดว่า “ เป็นกระบวนการพัฒนาคน ยกระดับจิตใจ สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้” “ ลงทุนเพื่อการพัฒนาคน” เป็นสำคัญ
๒๒. การคัดเลือกบุคลากรในโครงการให้คำนึงถึงการกระจายการมีส่วนร่วมของพื้นที่ตำบลทุ่งมน
๒๓. การจัดสวัสดิการแก่บุคลากรในโครงการ ให้เกิดการเรียนรู้ร่วม และเกิดจิตสาธารณะ คือ จัดสวัสดิการจูงใจให้เกิดการเรียนรู้ และสำนึกตอบแทนชุมชน
๒๔. ใช้กระบวนการระดมทุน เข้าช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งของโครงการ
๒๕. ควรคำนึง การระดมทุนในชุมชน หรือ ระดมทุนจากผู้รับประโยชน์ จะเกิดความยั่งยืน
๒๖. ให้โครงการนี้ ได้ช่วยหนุนเสริม โครงการมอบทุนการศึกษา ปีละ ๑๐๐ ทุน ทุนละ ๑,๐๐๐ บาทด้วย

  • 8 ส.ค.2554 โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊ค ว่า “ช่องทาง ชื่อบัญชี "ทานบารมีเพื่อพัฒนาสังคม วัดสะเดารัตนาราม" บัญชีเลขที่ 329-0-23724-9 กรุงไทย สาขา ปราสาท เพื่อทุนการศึกษา”
  • 17 ส.ค.2554 โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊ค ว่า “วาดภาพในความฝัน วางแผนทุกวันให้ชัดขึ้น ตบแต่งวิถีชุมชนให้ตราตรึง ทุกคนพึ่งพักฟื้นเงยหน้าตรง”

“ความจริงใจ สร้างบุคลิกจริงจัง
ความรับผิดชอบ สร้างบุคลิกขึงขัง
ความซื่อสัตย์ สร้างบุคลิกเด็ดเดี่ยว
สมาธิจะปรับจิตใจให้ผู้คนที่หลากหลายอยู่ร่วมกันได้ด้วยความเคารพกันและกัน”

  • 18 ส.ค.2554 โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊ค ว่า “งานก่อสร้างเดิน สมาธิเด่น จิตใจเยือกเย็น แนวทางเน้นเห็นรำไร” “ฝากฝันกล้าฟันฝ่า ฟากธาราแนวใฝ่ฝัน ฝ่าฟันอุปสรรคทุกคืนวัน หวังพาฝันข้ามฟากไกล” “สร้างโบสถ์เพี้ยงเสกสรรค์ อธิษฐานพลันสัมฤทธิ์ผล เสร็จสรรพขอผู้คน บันดาลดลนั่งสมาธิพลัน”\

ซื้อรถตู้ มือ ๑ รุ่นใหม่

  • 21 ส.ค.2554 โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊ค ว่า

ซื้อรถ

  • 21 สิงหาคม 2011 เวลา 22:13 น.

เจ้าภาพซื้อรถตู้ มือ ๑ รุ่นใหม่
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อส่งเสริมให้บุคคล ได้กำลังใจในการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามพุทธวิธี แนวบุญกิริยาวัตถุ ๑๐
๒. เพื่อหนุนเสริมกระบวนการพัฒนาครอบครัว ชุมชน สังคม ประเทศชาติ

ชื่อรถ เครือข่ายกองบุญคุณธรรมเพื่อจัดสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์
คนขับ นายอนงค์ สายสู่
เจ้าภาพบริจาค

  • ๑. ศูนย์อบรมเยาวสุรินทร์ ๑๐๐,๐๐๐ บาท
  • ๒. วัดสะเดารัตนาราม
  • ๓. ขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดสุรินทร์ ๕๐,๐๐๐ บาท
  • ๔. เครือข่ายกองบุญคุณธรรมเพื่อจัดสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์ ๕๐,๐๐๐ บาท
  • ๕. ขบวนองค์กรชุมชน เขตพื้นที่ ๔ ๕๐,๐๐๐ บาท
  • ๖. กัลยาณมิตรทิพารัตน์ วิวัฒน์วรนัย ๕๐,๐๐๐ บาท
  • ๗. กัลยาณมิตรสุรศักดิ์-จันทรา แร่ทอง ๕๐,๐๐๐ บาท
  • ๘. พระมหาอุดม สุนฺทโร ๒๐,๐๐๐ บาท
  • ๙. พระมหาชาญ อชิโต ๒๐,๐๐๐ บาท
  • ๑๐. พระอาจารย์ปลด อคฺควณฺโณ ๒๐,๐๐๐ บาท
  • ๑๑. กัลยาณมิตรสุวิชาดา สายสู่ ๑๐,๐๐๐ บาท
  • ๑๒. กัลยาณมิตร

วิธีการ
- ยืมเงินกัลฯจันทรา แร่ทอง ๑๐๐,๐๐๐ บาท

               - ยืมเงินกัลฯทิพารัตน์  วิวัฒน์วรนัย               ๑๐๐,๐๐๐              บาท
- ยืมเงินขบวนองค์กรชุมชน เขต ๔ ๕๐,๐๐๐ บาท
- ยืมเงินสภาองค์กรชุมชน ต.ทุ่งมน ๒๕,๐๐๐ บาท
- ยืมเงินโครงการจัดการน้ำแบบชุมชน ๒๕,๐๐๐ บาท

- ยืมเงินอื่น ๆ ๕๐,๐๐๐ บาท

               - เงินไปดาวน์รถ       ๓๐๐,๐๐๐      บาท
- ใช้จ่ายทั่วไป ๕๐,๐๐๐ บาท
- หาเจ้าภาพร่วมบริจาคเพิ่มเติมอีกเรื่อย ๆ
- ให้เจ้าภาพเหมาใช้รถเรื่อยๆ จนครบจำนวนที่ร่วมบริจาค ทั้งนี้การจ่ายค่าน้ำมัน และคนขับไว้ต่างหาก
- ถ้าเจ้าภาพบริจาคครบแล้ว การใช้รถต่อไปจะจ่ายเฉพาะค่าน้ำมันและคนขับเท่านั้นตามวงเงินบริจาค
- อาจจะยืมเงินเจ้าภาพก่อนเพื่อคืนเงินยืม หรือ จ่ายค่าผ่อนรถ จ่ายงวดรถให้เร็วขึ้น เป็นการลดการจ่ายดอกเบี้ยไปในตัว
  • ๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๔ บันทึก แนวทางการจัดสวัสดิการโครงการวันขาว-ดำ (งานศพครบวงจร)

ตำบลทุ่งมน ,วัดสะเดารัตนาราม และชมรมอุบาสิกาแก้ววัดสะเดารัตนาราม
องค์กรเชื่อมโยง คือ ทีมงาน ๑๑ เพชรเสียงพิณ, วัดสะเดารัตนาราม , ชมรมอุบาสิกาแก้ววัดสะเดารัตนาราม , สภาองค์กรชุมชนตำบลทุ่งมน, กองทุนคุณธรรมสวัสดิการชุมชนฯตำบลทุ่งมน , องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งมน , กำนัน ผู้ใหญ่บ้านตำบลทุ่งมน ฯลฯ
ภายใต้แนวคิด ทุนการศึกษา “ ตำบลทุ่งมน สังคมแห่งการเรียนรู้ ชุมชนไม่ทอดทิ้งกัน” “การพัฒนาที่ยั่งยืน” “งานศพ เป็นงานสาธารณะ งานร่วมของชุมชน” “ตำบลคุณธรรม” สวัสดิการวันขาวดำ คือ ดนตรีแห่ศพ, ดนตรีมโหรีประโคมงานศพ, รถแห่ศพ , ผ้าประดับปรำพิธี, ผ้าประดับเมรุ, ดอกไม้ประดับเมรุ, พิธีกร, เจ้าหน้าที่พิธีกรรมหน้าเมรุ, ดอกไม้จันท์ , ผ้าบังสุกุล, การละเล่น หรือการแสดงเชิงวัฒนธรรมท้องถิ่น, อื่น ๆ

  • ๑. ให้มีการกำหนดราคาค่าบริการบริหารจัดการตามจำนวนเต็มเป็นระยะ ๆ และประกาศให้ทราบทั่วกัน
  • ๒. งานศพของบุคคลที่อยู่นอกจากที่กำหนด คิดค่าบริการบริหารจัดการเต็มราคา
  • ๓. กรรมการหรือ เคยเป็นกรรมการวัดสะเดารัตนาราม (ในและนอกตำบล) ร่วมเป็นเจ้าภาพโดยรับค่าบริการบริหารจัดการ ๕๐ %
  • ๔. เจ้าภาพทำบุญกับวัดประจำ (ในและนอกตำบล) ของวัดสะเดารัตนาราม วัดอุทุมพร วัดประทุมทอง วัดป่าหินกอง วัดบ้านสะพานหัน วัดป่าพรหมคุณสามัคคีธรรม หรือวัดในตำบลทุ่งมนทุกแห่ง นับรวมการบริจาค ตั้งแต่ ๕๐,๐๐๐ บาท ขึ้นไป ร่วมเป็นเจ้าภาพโดยรับค่าบริการบริหารจัดการ ๕๐ %
  • ๕. เป็น หรือ เคยเป็น แกนนำชมรมอุบาสิกาแก้ววัดสะเดารัตนาราม (ในและนอกตำบล) ร่วมเป็นเจ้าภาพโดยรับค่าบริการบริหารจัดการ ๕๐ %
  • ๖. เป็น หรือ เคยเป็น ผู้ร่วมดำเนินโครงการนี้ (ในและนอกตำบล) ร่วมเป็นเจ้าภาพโดยรับค่าบริการบริหารจัดการ ๕๐ %
  • ๗. บุคคลบุพการี(ในและนอกตำบล) ของผู้ที่กำลังปฏิบัติการเป็นแกนนำชมรมอุบาสิกาแก้ววัดสะเดารัตนาราม ร่วมเป็นเจ้าภาพโดยรับค่าบริการบริหารจัดการ ๕๐ %
  • ๘. ผู้เคยบวชพระธรรมทายาท(ในและนอกตำบล)ในโครงการอุปสมบทหมู่วัดสะเดารัตนารามและยังคงรักษาคุณภาพความประพฤติที่เหมาะสม ร่วมเป็นเจ้าภาพโดยรับค่าบริการบริหารจัดการ ๕๐ %
  • ๙. บุคคลบุพการี (ในและนอกตำบล) ของพระภิกษุ พระธรรมทายาทที่ยังอยู่ในโครงการอุปสมบทหมู่วัดสะเดารัตนารามร่วมเป็นเจ้าภาพโดยรับค่าบริการบริหารจัดการ ๕๐ %
  • ๑๐. บุคคลบุพการี(ในและนอกตำบล) ของพระภิกษุ วัดอุทุมพร วัดประทุมทอง วัดหินกอง วัดสะพานหัน วัดป่าพรหมคุณสามัคคีธรรม ร่วมเป็นเจ้าภาพโดยรับค่าบริการบริหารจัดการ ๕๐ %
  • ๑๑. บุคคลบุพการีของพระภิกษุเถระ หรือบุคลากรทางพระพุทธศาสนาที่มีบทบาทสำคัญสร้างคุณคุณประโยชน์ในพระพุทธศาสนาอย่างประจักษ์ ร่วมเป็นเจ้าภาพโดยรับค่าบริการบริหารจัดการ ๕๐ %
  • ๑๒. เจ้าภาพอุปถัมภ์โครงการนี้(ในและนอกตำบล) บริจาคตั้งแต่ ๒๐,๐๐๐ ถึง ๕๐,๐๐๐ บาท รับเป็นเจ้าภาพตามที่ได้ไว้ทั้งหมด ( สามารถทยอยบริจาคได้) ( ให้ขึ้นป้ายประกาศเป็นเจ้าภาพอุปถัมภ์โครงการไว้ให้ปรากฏแก่ชุมชนอย่างเปิดเผย)
  • ๑๓. เป็นหรือ เคยเป็น สมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบลทุ่งมน ร่วมเป็นเจ้าภาพโดยรับค่าบริการบริหารจัดการ ๕๐ %
  • ๑๔. เป็นหรือ เคยเป็น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้บริหาร อบต. ส.อบต. ตำบลทุ่งมน ร่วมเป็นเจ้าภาพโดยรับค่าบริการบริหารจัดการ ๕๐ %
  • ๑๕. เป็นหรือ เคยเป็น กรรมการบริหารกองทุนคุณธรรมสวัสดิการชุมชนฯ ตำบลทุ่งมน ร่วมเป็นเจ้าภาพโดยรับค่าบริการบริหารจัดการ ๕๐ %
  • ๑๖. สมาชิกครอบครัวทุกคนเป็นสมาชิกกองทุนคุณธรรมสวัสดิการชุมชนฯ ตำบลทุ่งมน ร่วมเป็นเจ้าภาพโดยรับค่าบริการบริหารจัดการ ๖๐ %
  • ๑๗. เป็นผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นคนต้นแบบและแกนนำ ด้านการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชน เป็นที่ประจักษ์ ร่วมเป็นเจ้าภาพโดยรับค่าบริการบริหารจัดการ ๔๐ %
  • ๑๘. การรับสวัสดิการตามแนวทางนี้ สามารถรับได้เพียงข้อเดียวเท่านั้น
  • ๑๙. ถ้าการจัดงานศพยังไม่ปลอดเหล้าและการพนันขอสงวนสิทธิ์งดเว้นค่าบริการตามแนวทางที่กำหนดไว้
  • ๒๐. สมาชิก/บุคคลที่มีส่วนได้รับ (มีรายรับ) จากโครงการนี้ ต้องสมัครเป็นสมาชิกกองทุนคุณธรรมฯ โดยทางโครงการจะหักเงินเพื่อส่งกองทุนคุณธรรมสวัสดิการชุมชนฯให้
  • ๒๑. ทางโครงการจะต้องฝึกบุคลากรในโครงการอย่างมีส่วนร่วม เกิดศักยภาพ คุณภาพ ประสิทธิภาพ มีคุณธรรม
  • ๒๒. คำนึงหลักคิดว่า “ เป็นกระบวนการพัฒนาคน ยกระดับจิตใจ สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้” “ ลงทุนเพื่อการพัฒนาคน” เป็นสำคัญ
  • ๒๓. การคัดเลือกบุคลากรในโครงการให้คำนึงถึงการกระจายการมีส่วนร่วมของพื้นที่ตำบลทุ่งมน และกระจายกลุ่มอายุ วัย สถานะ ( กระจายกลุ่มงาน กลุ่มภารกิจ กลุ่มพื้นที่ )
  • ๒๔. การจัดสวัสดิการแก่บุคลากรในโครงการ ให้เกิดการเรียนรู้ร่วม และเกิดจิตสาธารณะ คือ จัดสวัสดิการจูงใจให้เกิดการเรียนรู้ และสำนึกตอบแทนชุมชน
  • ๒๕. ใช้กระบวนการระดมทุน เข้าช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งของโครงการ
  • ๒๖. ควรคำนึง การระดมทุนในชุมชน หรือ ระดมทุนจากผู้รับประโยชน์ จะเกิดความยั่งยืน
  • ๒๗. ให้โครงการนี้ ได้ช่วยหนุนเสริม โครงการมอบทุนการศึกษา ปีละ ๑๐๐ ทุน ทุนละ ๑,๐๐๐ บาทด้วย

๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๔

  • ๒๑ ส.ค.๒๕๕๔ โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊ค ว่า

“สร้างโบสถ์วัดสะเดา วัดสะเดารัตนารามกำลังก่อสร้างอุโบสถ “พระรัตนตรัยปูชนียสถาน” ตามคำแนะนำของพระธรรมโมลี เจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ และพระครูประสาทพรหมคุณ(หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ) เป็นอุโบสถที่จะมีการใช้ประโยชน์สูงสุด บูรณาการแนวคิดเชื่อมกับการพัฒนาสังคมสุขภาวะ กาย สังคม จิต ปัญญา สนองงานกิจการคณะสงฆ์ได้ทั้ง ๖ ด้าน เป็นความสำเร็จ เกิดประโยชน์สุขร่วมกันของคณะสงฆ์ ข้าราชการ พนักงานราชการ รัฐวิสาหกิจ เอกชน นักการเมือง นักธุรกิจ นักพัฒนา นักวิชาการ ปัจเจกชน คหบดีผู้ใจบุญ ผู้นำชุมชน อุบาสกอุบาสิกา นักบวชผู้ทรงศีลอื่น ๆ เด็กและเยาวชน โดยทั่วกัน ขอให้ลูกหลานและลูกศิษย์ของหลวงปู่ทุกท่าน ทุกคน มีความสุขสงบเย็น รักษาตนอยู่ในศีล ๕ แคล้วคลาดจากภยันตรายทั้งปวง มีความยึดมั่นในความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ มีคุณแม่คุณพ่อ พระครูอุปัชฌาย์ คุณครูอาจารย์ มีวาจาสุภาพ พูดจาเพราะ ๆ ได้เจริญรุ่งเรืองมั่งมีศรีสุขเจริญก้าวหน้าในหน้าที่อาชีพการงานการครองเรือน สมความปรารถนาที่ได้ตั้งใจไว้แล้วทุกประการ เทอญ”.

  • ๒๖ ส.ค.๒๕๕๔ โพสต์ภาพนิ่งและข้อความทางเฟซบุ๊ค ว่า

“วิธีการส่งเสริมครอบครัวอบอุ่น ก็ยกบุคคลตัวอย่างขึ้นประกาศให้สังคมรับรู้ เลียนแบบ”

  • ๒๖ ส.ค.๒๕๕๔ โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊ค ว่า

“ลองทำดีดู โครงการแกนนำคุณธรรมทำงานเป็นทีมโรงเรียนสวายวิทยาคาร

                ด้วยทางโรงเรียนสวายวิทยาคาร   มีแกนนำนักเรียนที่มีส่วนร่วมการเรียนรู้และคุณครูที่ปรึกษาพร้อมต่อการสนับสนุนในการดำเนินกิจกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม  และได้รับความร่วมมือจากวัดสะเดารัตนาราม ตำบลทุ่งมน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์  ในการหนุนเสริมกิจกรรม   จึงจัดโครงการแกนนำคุณธรรมทำงานเป็นทีมโรงเรียนสวายวิทยาคารขึ้น
กระบวนการ

๑. คัดเลือก รับสมัคร แกนนำนักเรียน จำนวน ๑๐-๒๐ คน
๒. เชิญคุณครูเป็นที่ปรึกษา จำนวน ๓-๕ ท่าน
๓. จัดประชุมปรึกษากันในแกนนำ
๔. จัดกิจกรรมพัฒนานักเรียนอย่างต่อเนื่อง

แผนกิจกรรมเบื้องต้น   วันที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๔  เวลา ๑๓.๐๐ น.   จัดประชุมแกนนำนักเรียน  ณ โรงเรียนสวายวิทยาคาร”
  • 26 ส.ค.2554 โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊ค ว่า

“งานพัฒนาสังคม 4 ปีต่อไปนี้ ต้องให้งานสตรีและเด็กเยาวชนมีความชัดเจน และบูรณาการกัน”

  • 27 ส.ค.2554 โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊ค ว่า “น้ำมันลด ก็ขอให้ช่วยกันใช้นำ้มันให้คุ้มค่าที่สุด ด้วยการทำตนให้มีคุณภาพ มีคุณธรรม เป็นการเพิ่มศักยภาพประเทศไทย”
  • 27 ส.ค.2554 โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊ค ว่า “โซน 1 โซน 3 โซน 4 ของจังหวัดสุรินทร์ จัดเวทีอำเภอกระตุ้นจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชน ในวันนี้”
  • 27 ส.ค.2554 โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊ค ว่า “สวัสดิการชุมชน ปฏิรูปประเทศไทยฐานราก จัดตั้งกันที่ตำบล วันที่30 ส.ค. 54 นี้ จัดเวทีให้ความรู้ที่อำเภอบัวเชด”
  • 29 ส.ค.2554 โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊ค ว่า “ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพทอดผ้าป่าสามัคคี ร่วมสกุล “ได้ทุกทาง” เพื่อสร้างอุโบสถ ณ วัดสะเดารัตนาราม ต.ทุ่งมน อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ วันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๔” “ทำบุญร่วมสกุล วัดสะเดารัตนาราม ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐ ที่ตั้งวัดเป็นที่ทุรกันดารกลางทุ่งนา ฤดูน้ำนองจึงท่วมทุกปีและสถานะวัดยังไม่มีความมั่นคงนัก จึงมีเจ้าอาวาสหมุนเวียนมาปกครองหลายรูป ในบรรดาอดีตเจ้าอาวาสทั้งหมด มีอดีตเจ้าอาวาสท่านหนึ่งที่มีผลงานในการก่อสร้างและพัฒนาวัด ทั้งใฝ่ในการเรียน ท่านนั้นคือ พระเสย ได้ทุกทาง และในปัจจุบันนี้มีพระมหาวีระ กิตฺติวณฺโณนามสกุล ได้ทุกทาง เป็นเจ้าอาวาส วัดได้รับการพัฒนาและยกระดับขึ้นมากพอควร ในโอกาสสำคัญครั้งเดียวของวัดสะเดารัตนาราม ซึ่งตั้งอยู่ ณ ถิ่นฐานบ้านทุ่งมน ดินแดนต้นกำเนิดนามสกุลได้ทุกทาง ได้ดำเนินการสร้างอุโบสถขึ้น เจ้าอาวาสวัดจึงขอดำเนินบอกบุญถึงเครือข่ายญาติร่วมสกุลได้ทุกทางทุกท่าน ผู้มุ่งมั่น อดทน หนักเอาเบาสู้ ซื่อสัตย์ เช่นบรรพบุรุษ ต่างประกอบสัมมาอาชีวะเลี้ยงชีพบนโลกแผ่นดิน ได้กระจัดกระจายกันอยู่ ณ ถิ่นฐานบ้านเรือน หมู่บ้านชนบท เมือง ภูมิลำเนาต่าง ๆ ทั้งใกล้และใกล้บนพื้นแผ่นดิน ได้มาร่วมกันทำบุญบริจาคทรัพย์ไว้ในพระพุทธศาสนา ด้วยการสร้างอุโบสถโดยทั่วกัน และพร้อมเพรียงกัน” “ขออำนวยอวยพรให้เครือญาติได้ทุกทางทุกคน ทุกท่าน ทุกเพศทุกวัย ทุกอาชีพ ทุกฐานะ ทุกวุฒิการศึกษา ทุกถิ่นฐานบ้านช่อง มีความสุขสงบร่มเย็น รักษาตนอยู่ในศีล ๕ แคล้วคลาดจากภยันตรายทั้งปวง มีความยึดมั่นในความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ มีคุณแม่คุณพ่อ พระครูอุปัชฌาย์ คุณครูอาจารย์ มีวาจาสุภาพ พูดจาไพเราะ สามารถสร้างกำลังใจให้ตนเองได้ สามารถฝึก สามารถสอนตนได้ ได้เจริญรุ่งเรืองมั่งมีศรีสุขเจริญก้าวหน้าในหน้าที่อาชีพการงานการครองเรือน สมความปรารถนาที่ได้ตั้งใจไว้แล้วทุกประการ เทอญ.” “นามสกุลได้ทุกทาง ตั้งขึ้นโดยนำชื่อบรรพบุรุษมาประกอบกัน คือ ย่าทวดดายและปู่ทวดทาง (สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นคนช่วงสมัย ร.๓-ร.๕) นามสกุลนี้ถูกนำมาใช้ร่วมกันในลักษณะกลุ่มญาติ กลุ่มคน และกลุ่มคนสนิทชอบพอกัน และเป็นที่น่าสังเกตอย่างมากว่า คนในต้น ๆ ตระกูลนี้จนถึงช่วงสงครามภายในประเทศเขมร(ช่วง พ.ศ. ๒๕๒๐) จะมีความเกี่ยวข้องกับการไปมาหาสู่-ขึ้นลง-ย้ายถิ่น ระหว่างประเทศเขมรมากอย่างชัดเจนกว่าทุกตระกูลในทุ่งมน” “ญาติร่วมสกุลได้ทุกทางทุกท่าน ผู้สืบสายเผ่าพันธุ์คุณลักษณะแห่งความมุ่งมั่น อดทน หนักเอาเบาสู้ ตรากตรำกรำงาน ซื่อสัตย์อดออม เช่นบรรพบุรุษ”
  • 31 ส.ค. 2554 ดาวน์รถตู้ จ่ายครั้งแรก 454,845 บาท (มูลค่า 1.24 ล้าน)
  • ๒๙ กันยายน ๒๕๕๔ บันทึกการถอกบทเรียนการทำงาน

อนิจจัง สภาพที่เปลี่ยนแปลง และการเคลื่อนไหวแห่งการเรียนรู้ ตำบลทุ่งมน

ปี ๓๖ บวชสามเณร ๙ รูป จุดเริ่มต้น เป้าหมายการพัฒนาคนเพื่อความเจริญที่ยั่งยืน ด้านจิตใจ
ปี ๓๗-๓๘ ขีดเขียนบันทึกเรื่องราวของชุมชน
ปี ๔๑ แตกประเด็นสังคมแห่งการเรียนรู้
ปี ๔๒ กศน.ตำบลทุ่งมน ปักธงสร้างสังคมทุ่งมนตำบลแห่งการเรียนรู้
ปี ๔๔ อุดมการณ์เริ่มก่อตัวเติบโตคลุมอำเภอ จังหวัด
ปี ๔๒ – ๔๕ คบหา ไปมาหาสู่เครือข่าย
ปี ๔๖ ช่วยกันเขียนประวัติศาสตร์ชุมชน
ปี๔๕-๕๑ ก่อเกิด กิจกรรม/องค์กรต่าง ๆ ปั้น กิจกรรม/ศูนย์เรียนรู้เชิงวัฒนธรรม
เพื่อสร้างความภาคภูมิใจร่วมกันของผู้คนในชุมชน ก่อให้ถึงการเป็นประเด็นนโยบายสาธารณะ ระดับตำบล/จังหวัด/ชาติ
ปี ๔๙ คณะกรรมการที่ปรึกษาองค์การบริหารส่วนตำบล เวทีแลกเปลี่ยนความคิด

         	ของทุกภาคส่วน

ปี ๔๙ ชื่อศูนย์เรียนรู้คู่คุณธรรม ตอกย้ำพื้นที่
ปี ๕๐ เคลื่อนสวัสดิการชุมชน งานเย็น ประเด็นความสุข บูรณาการให้เต็มตำบล
ปี ๕๑ สภาองค์กรชุมชนตำบล เวที/สัญลักษณ์ เชื่อมประสานความสร้างสรรค์ประชาธิปไตยชุมชน
ปี ๕๑ ยายจรูก บรรพบุรุษทุ่งมน / ประวัติศาสตร์ชุมชนผ่านผังเครือญาติ
ปี ๕๒ ชัดนะ คำว่าบูรณาการ องค์กร/แนวคิด/คน/ทุน
ปี ๕๒ พัฒนาศูนย์เรียนรู้ ด้วย สสส. สำนัก ๓
ปี ๕๔ คุ้นยิ่งขึ้นนะคำว่า ตำบลบูรณาการ / ตำบลจัดการตนเอง / ตำบลสุขภาวะ

		อยู่ใกล้ตัวมากขึ้น

ปี ๕๔ ประวัติศาสตร์ชุมชนผังเครือญาติเชิงลึก ผ่านสกุล ได้ทุกทาง , พูนลัน , หวังสำราญ
ปี ๕๔ กำนันอุดม หวังทางมี เข้ารับการคัดเลือกกำนันยอดเยี่ยม ประจำปี ๒๕๕๕
ถ้าหลายคนจะเป็นผู้ช่วยกันร้อยดอกไม้ น่าจะงดงาม กลมกลืน สมดุล ยั่งยืน
ถ้าหลายคนได้ถือธงเดินไปด้วยกัน น่าจะมีพลังน่าเกรงขาม ยอมรับ นับถือ เคารพ แก่ผู้พบเห็น
สังคม แปลว่า เดินไปพร้อม ๆ กัน อย่างมีความสุข
๒๙ ก.ย. ๕๔

บุคลากรอาสาสมัครโครงการพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชน ตำบลทุ่งมน จังหวัดสุรินทร์ ของกระทรวงการพัฒนาสังคม ฯ

  • กันนยายน ๒๕๕๔ บุคลากรอาสาสมัครโครงการพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชน ตำบลทุ่งมน จังหวัดสุรินทร์ ของกระทรวงการพัฒนาสังคม ฯ

๑ พระมหาวีระ กิตฺติวณฺโณ ๔๑ พธ.บ. เจ้าอาวาสวัดสะเดารัตนาราม คณะทำงานตำบลสุขภาวะ 081-5793250 /081-9555723 TM
๒ นางจันทรา แร่ทอง ๕๑ ปริญญาตรี ประธานชมรมอุบาสิกาแก้ววัดสะเดารัตนาราม จนท.การเงิน อบต.นาบัว 081-9768917 TK
๓ นางเนตรทิพย์ สินประโคน ๓๖ ปริญญาตรี เอกประถมวัย พี่เลี้ยงศูนย์เด็กก่อนเกณฑ์ อบต.ทุ่งมน คณะทำงานตำบลสุขภาวะ 087-8105831 TK
๔ นายสุรศักดิ์ แร่ทอง ๕๒ ปริญญาตรี ประธานสภาองค์กรชุมชนตำบลทุ่งมน ประธานกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบล ครูชำนาญการ ร.ร.บ้านสะพานหัน คณะทำงานตำบลสุขภาวะ 080-7276767 TN
๕ นางวิไลย์ ทองโยง ๕๒ ปกศ.สูง อดีตผู้ใหญ่บ้าน ม.๒ / กรรมการชมรมอุบาสิกาแก้ว 082-8709381 TN
๖ นางลาน สายสู่ ๔๓ ป.๖ กรรมการชมรมอุบาสิกาแก้ว 082-1339891 TN
๗ นางณัฐกานต์ หวังทางมี ๓๒ ม.๖ สมาชิก อบต.ทุ่งมน คณะทำงานตำบลสุขภาวะ 082-8676458 TN
๘ นางทัสนรรนท์ เพียรเสร็จ ๔๕ ม.๓ กรรมการกองทุนสวัสดิการชุมชน คณะทำงานตำบลสุขภาวะ 084-4295007 TN
๙ นางเพ็ญศรี คงทันดี ๔๓ ม.๖ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ม.๑ คณะทำงานตำบลสุขภาวะ 088-7144671 TN
๑๐ นางสุกัญญา เสาธงทอง ๓๖ ม.๖ กรรมการกลุ่มองค์กรชุมชน คณะทำงานตำบลสุขภาวะ 087-7828496 TN
๑๑ นายณัฏฐ์ ศรีราม ๓๓ ปริญญาตรี จนท. อบต.ทุ่งมน คณะทำงานตำบลสุขภาวะ 082-7489874 TN
๑๒ นายอโณทัย ยงยิ่งพูน ๔๐ ปริญญาตรี ประธานสภา อบต.ทุ่งมน คณะทำงานตำบลสุขภาวะ 085-2084798 TN
๑๓ นายประกอบ พูนยิ่งยงค์ ๔๗ ม.๓ ผู้ใหญ่บ้าน ม.๓ คณะทำงานตำบลสุขภาวะ 089-0036977 TN
๑๔ นายฮัก แจ้งสุขดี ๕๐ ม.๓ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ม.๓ คณะทำงานตำบลสุขภาวะ TN

อธิบายศัพท์
TM พระภิกษุพาดำเนินการโครงการ TK แกนนำที่มีความรู้ สามารถบริหารจัดการกิจกรรมเชิงความรู้ได้
TN ผู้นำเครือข่าย ๑ คนดูแล ๕ ครอบครัว TA เด็ก อายุ ๑๐-๑๗ ปี / เยาวชน อายุ ๑๘-๒๐ ปี TF ผู้ปกครอง
กิจกรรม
-ทำกิจกรรมชาวพุทธร่วมกัน อาทิตย์ละ ๑ วัน -ทำกิจกรรมวัฒนธรรมชาวพุทธภาคค่ำ ทีมละ ๕ ครอบครัว - เด็กเยาวชนฝึกนิสัยดี ๆ ต่อเนื่อง ๔๙ วัน
-กลุ่มเป้าหมาย รุ่นละ ๕๐ ครอบครัว/ ๕๐ คู่ - ระยะกิจกรรม รุ่นละ ๔๙ วัน / ๗ สัปดาห์ - พัฒนา TF ให้เป็น TN
- งบประมาณของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ทั้งประเทศ ระยะเริ่มต้น(ต.ค.-ธ.ค. ๕๔)คัดเลือก ๑๐ ตำบล จาก ๙ จังหวัด ระยะที่ ๒ เริ่ม ม.ค. ๕๕ จะขยายพื้นที่ตำบลไปเรื่อย ๆ ในตำบลเก่าก็ขยายรุ่น
การบ้าน TM
1. ส่งรายชื่อ/นามสกุล/หมายเลข/โทรศัพท์ TK,TN พื้นที่ละ 2 คน
คุณสมบัติ ; 1. สามารถแสดงความคิดเห็น 2. คิดเป็น พูดเป็น เขียนเป็น 3. สามารถเข้าร่วมสัมมนาได้ตลอดโครงการ
ส่งรายชื่อภายในวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2554
2. ส่งรายชื่อ/นามสกุล/หมายเลข/โทรศัพท์ TN 10 คน การศึกษา ม.ปลาย – อุดมศึกษาอย่างน้อย 2 คน
คุณสมบัติ ; 1. อายุ 15 – 65 ปี 2. มีจิตอาสา 3. มีความรับผิดชอบ 4. สุขภาพ แข็งแรง 5. ทำงานเป็นทีมได้
ส่งรายชื่อภายในวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2554
3. ส่งรายชื่อ/นามสกุล/หมายเลข/โทรศัพท์ TA,TF 50 รายชื่อ ส่งรายชื่อภายในวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2554
4. TK ๒ คน เข้าประชุมที่กรุงเทพฯ ตุลาคม ๒๕๕๔ นี้


โพสต์ข้อความทำแผ่นพับ แซนโฎนตา

  • ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ โพสต์เฟซบุ๊ค ว่า

แผ่นดินไทยน้ำท่วมครั้งนี้สะเทือนใจนัก
ยิ่งเห็นความสำคัญของการรักษาสิ่งแวดล้อม
ความตระหนักร่วมกันถึงความยั่งยืนของอาหาร
ความจำเป็นของสังคมมนุษย์ที่ต้องพร้อมใจกันลด ละ ลด เลิกกิเลสในตน

๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ โพสต์เฟซบุ๊ค ว่า
ประชาชนจะช่วยลดภาระทางการเงินแก่นักการเมือง
ไม่ต้องจ่ายเงินตอบแทนประชาชนในการไปเลือกตั้ง
ประชาชนจะจ่ายให้ตนเองทำหน้าที่พลเมือง
ประชาชนจะช่วยงานราชการ
ประชาชนจะช่วยลดภาระงานทางราชการ
ประชาชนจะทำงานเพื่อเพิ่มสติปัญญา
ปฏิรูปประเทสไทย เริ่มต้นที่ตำบลจัดการตนเอง จังหวัดจัดการตนเอง

  • ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ โพสต์เฟซบุ๊ค ว่า

ขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดสุรินทร์
องค์กรทะลวงความทุกข์ทางสังคมและการเมือง ของคนสุรินทร์

  • ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔ โพสต์เฟซบุ๊ค ว่า

วิทยุชุมชนทุ่งมนสมุด 92.25 MHz ปรับปรุงล่าสุด เพิ่มวัตต์และเอ็กไซเตอร์ ชัดใสกว่าเดิม วิทยุชุมชนสื่อสารเพื่อคุณภาพชุมชน
เมื่อได้ช่วยเหลือชุมชน หรือ ขบวนองค์กรชุมชนให้ปลดปล่อยศักยภาพความดีได้ จะปลื้มใจมาก ๆๆๆๆๆ

  • ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔ โพสต์เฟซบุ๊ค ว่า

18-20 พ.ย. นี้ ขบวนองค์กรชุมชน 6 จังหวัดอีสานใต้ จะเปิดครัวอีสาน ประกอบหารที่ปากช่อง แล้วขนลงไปช่วยผู้คนในพื้นที่ภาคกลาง หลังจากนั้นก็ตั้งครัวต่อไปยาวถึงปีใหม่
พระมหาวีระ กิตฺติวณฺโณ เป็น ๑ ใน ๙ ผู้อำนวยการ ทำครัวอีสาน ของขบวนองค์กรชุมชนอีสานใต้ ขอทำให้ดีที่สุด
กำลังสนใจระบบวิทยุสื่อสารในตำบล เชื่อมกับวิทยุชุมชน

  • ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔ โพสต์เฟซบุ๊ค ว่า

เดินทางไปปากช่อง ร่วมงานขบวนองค์กรชุมชนอีสานใต้ 6 จังหวัด แบ่งปัน ฮักแพง

  • ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔ โพสต์เฟซบุ๊ค ว่า

อีสานครัวโลก มหาอุทกภัยภาคกลางไม่ท่วมใจคนอีสาน

  • ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔ โพสต์เฟซบุ๊ค ว่า

ที่นี่ศูนย์แม่ข่ายวิทยุสื่อสารเพื่อชุมชน
ขบวนองค์กรชุมชน จังหวัดสุรินทร์
ณ ทุ่งมน-สะเดา ช่อง ๕๔ วิทยุสื่อสารของประชาชน
แนวทางของวิทยุสื่อสารเพื่อชุมชน จ.สุรินทร์ วิทยุสื่อสารของประชาชน ช่อง ๕๔
๑. จัดตั้งสถานีแม่ข่ายหลัก เสา ๓๐ เมตร เครื่องส่ง ๘๐ วัตต์ (ใช้แผงอากาศ) ประมาณ ๕-๘ สถานี ( ทุ่งมน , บะ, ตระแสง, สนม,.............................)
๒. จัดตั้งสถานีแม่ข่ายย่อย เสา ๑๘ เมตร เครื่องส่ง ๓๐-๕๐ วัตต์ (ใช้แผงอากาศ) ประมาณ ๑๐- ๒๐ สถานี (แม่ข่ายอำเภอย่อย หรือ แม่ข่ายตำบลหลัก )
๓. จัดตั้งสถานีแม่ข่ายตำบล เสา ๑๒ เมตร เครื่องส่ง ๕ วัตต์ (ใช้เสาอากาศ)
๔. ส่งเสริมให้มีวิทยุสื่อสารในชุมชน เครื่องส่ง ๕ วัตต์ ในหมู่บ้าน

  • ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔ โพสต์เฟซบุ๊ค ว่า

ประเด็นงาน
กองบุญคุณธรรมเพื่อจัดสวัสดิการชุมชนตำบล
สภาองค์กรชุมชนตำบล
ทรัพยากรธรรมชาติ และ ภัยพิบัติ
เกษตร และความมั่นคงทางอาหาร
สถาบันการเงิน และ หนี้ครัวเรือน
แผนชุมชน
บ้านมั่นคงชนบท
เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ
สื่อชุมชน
- การเมืองภาคพลเมือง
- ประชาธิปไตยชุมชน
- ป้องกันการคอรัปชั่น
ตามแนวคิด ตำบลจัดการตนเอง พื้นที่ตำบลเป็นตัวตั้ง ชุมชนเป็นแกนหลัก

  • ๒๗-๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔ โพสต์เฟซบุ๊ค ว่า

กำนันทุ่งมนสนใจปฏิสันถาร
ต้อนรับท่านผู้ใหญ่ใกล้ไกลหนา
หลวงปู่หงษ์ใจดีให้มนตรา
อุดมคอยท่ารับรองทุกคราไป.
พระมหาวีระ กิตฺติวณฺโณ ๒๗ พ.ย. ๕๔

กำนันได้ดี ประชาชีได้หน้า
ผู้ใหญ่บ้านก็ได้พักตรา ชุมชนสภาฯจึงได้เวลาเข็งแรง เอย.
ชุมชนเกื้อกูล ๒๗ พ.ย. ๕๔
กำนันชี้ ประชาชนเสริม ผู้ใหญ่บ้านเติม อบต.สนับสนุน
รพ.สต.ช่วย โรงเรียนเกื้อกูล วัดเข้าหนุน ทุนสังคมทุ่งมน ตำบลบูรณาการ
๒๗ พ.ย. ๕๔
นายอำเภอดึง ผู้ใหญ่บ้านดัน พระสงฆ์เสกสรร ครูพลันปันวิชา
คุณหมอตีกลองเชียร์ อสม.ช่วยสรรหา อปพร.ทุ่มเวลา ตำรวจมายืนข้างเคียง
สภาฯปรบมือพรั่ง วิทยุดังไปทางเสียง อบต.ทุ่งมนเลี้ยง กำนันเพี้ยงยอดเยี่ยม..นา.
๒๗ พ.ย. ๕๔

เด็กนักเรียนเยาวชนนักศึกษา ขอเชิญมาร่วมเรียงยืนเคียงท่าน
ช่วยกันเขียนเรื่องทำดีทำปฏิญาณ ให้การงานยกกำนันยอดเยี่ยมพลัน
๒๘ พ.ย. ๕๔

  • ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔ โพสต์เฟซบุ๊ค ว่า

บูรณาการใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง
รวมความหวังจากทุกส่วนเป็นแกนหลัก
จัดการตนเองพัฒนาด้วยใจรัก
ทำงานหนักพร้อมพรั่งทั้งทุ่งมน.
๒๙ พ.ย.๕๔ บูรณาการคน บูรณาการงบ บูรณาการแผน
บูรณาแก่น สาระ ชุมชนนี้
ทุ่งมนแน่น ปึกแผ่น สามัคคี
เรื่องดีดี มีผู้ใหญ่ ช่วยนำพา.
๒๙ พ.ย. ๕๔

  • ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ โพสต์เฟซบุ๊ค ว่า

“กำนันอุดมสืบเชื้อชาติสายผู้นำ คุณพ่อดวนล้ำอาสาสมัครทหารกล้า
เกียรติประวัติชัยสมรภูมิสงครามมา จิตแกร่งกล้าอ่อนน้อมเลือดบรรพชน”

  • ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ โพสต์เฟซบุ๊ค ว่า

“ทุ่งมนถิ่นทองแดนถิ่นธรรม วัฒนธรรมล้ำดนตรีทุกหมู่บ้าน
สิบเอ็ดเพชรพิณกำพลผู้เชี่ยวชาญ รวบผลงานชมเชียร์ช่วยกำนัน
ศิลปะดนตรีเถิดเทิงเพียบ ระบบเฉียบเร่งถ่ายทอดงานสร้างสรรค์
เด็กเยาวชนเรียนรู้โลกโจทย์จรร ทุ่งมนนั้นกำนันอุดมยอดเยี่ยมจริง.
๗ ต.ค.๕๔


  • ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ โพสต์เฟซบุ๊ค ภาพ เจ้าภาพหลังคาโบสถ์วัด นั่งสวดมนต์ที่วัด
  • ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ โพสต์เฟซบุ๊ค ภาพเสื้อเชียร์ กำนัน อุดม หวังทางมี สู่กำนันแหนบทอง
  • ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ส่งบุคลากรเข้าโครงการเตรียมหลักสูตร “ปลูกฝังนิสัยเด็ก และเยาวชน จากห้าห้องชีวิต” วันศุกร์ที่ ๒๑ - วันเสาร์ที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ณ วัดพระธรรมกาย
  • ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ โพสต์เฟซบุ๊ค ว่า “พรุ่งนี้สมัชชาสวัสดิการคนอีสาน ที่ศรีสะเกษ ตี 5 จะลุกเดินทางไปร่วมงาน”
  • ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ร่วมงานสวัสดิการชุมชน ที่ ม.ราชภัฏศรีสะเกษ นายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นประธาน
  • ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ จัดตักบาตร ณ วัดสะเดารัตนาราม