โครงการฟื้นฟูและอนุรักษ์ลำน้ำห้วยชี (ตอนกลาง) 2552

จาก wiki.surinsanghasociety
ไปยังการนำทาง ไปยังการค้นหา

คำนำ
“มีความรู้สึกว่าเป็นประสบการณ์ใหม่ ๆ อยู่เสมอ ๆ ทุกครั้ง ๆ ไป กับบทเรียนแห่งชีวิตที่เกิดขึ้นทุกโอกาสที่ได้ลงมือทำงาน ลงตัวทำกิจกรรม รวมถึงขณะกำลังคิด กำลังพูด กำลังทำ สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนั้น ๆ สดใหม่และท้าทายให้ตื่นเต้น กระฉับกระเฉงต่อกับการเคลื่อนงานชุมชนยิ่งนัก”
การได้โอกาสอันงามในการดำเนินโครงการฟื้นฟูและอนุรักษ์ลำน้ำห้วยชี (ตอนกลาง) ครั้งนี้ ได้ปลดปล่อยความรู้ความสามารถที่สั่งสมอบรมมาอย่างยาวนานมาใช้ในการบริหารโครงการอย่างเต็มใจ พร้อมกระตุ้นเร้าให้สนใจค้นคว้าข้อมูลข่าวสาร และประมวลงานพัฒนาอื่น ๆ เข้ามาบูรณาการเป็นเกลียวรอบ การเชื่อมโยงเรียงร้อยความรู้ คน กิจกรรม องค์กรต่าง ๆได้ นับว่าเป็นนวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่ในการพัฒนาชุมชนฐานราก แต่ยิ่งใหญ่กว่านั้นด้วยจิตสำนึกทางวิญญาณบอกว่า การใช้กิจกรรมที่ใกล้ชิดชีวิตคนทุกคนมาพัฒนามาบอกมากล่าวเล่าสู่กันฟัง กระตุ้นนิดสะกิดหน่อย เพื่อให้ผู้คนมีชีวิตอยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติโดยไม่แตกแยกออกจากกัน
สิ่งทั้งหลายมีความสัมพันธ์ถึงกันอยู่เสมอ ไม่สามารถเกิดขึ้นโดดเดี่ยวเองได้ ชีวิตคนต้องมีเนื้อหนังกระดูก น้ำ ความอบอุ่น ลมอากาศ ประชุมหมุนเวียนตลอดเวลา ชีวิตต้องการอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ต้องการน้ำดื่มหล่อเลี้ยงร่างกายให้ชุ่มชื้น ต้องการความอบอุ่นเป็นพลังงานไหลเวียน ต้องการอากาศที่บริสุทธิ์ไว้หายใจให้คล่องคอ ชีวิตคนจึงต้องช่วยกันรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดีเอาไว้ให้ยาวนานที่สุด
การได้นำผู้คน ชุมชน สังคมสนในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมผ่านโครงการฟื้นฟูและอนุรักษ์ลำน้ำห้วยชี(ตอนกลาง) ครั้งนี้ จึงเป็นโอกาสที่ดีแก่ทุกสรรพสิ่งที่มีความสัมพันธ์ไปมาถึงกัน

พระมหาวีระ กิตฺติวณฺโณ หัวหน้าโครงการฟื้นฟูและอนุรักษ์ลำน้ำห้วยชี(ตอนกลาง) เจ้าอาวาสวัดสะเดารัตนาราม พระนิสิตปริญญาโท สาขาวิชาพุทธศาสนา

กิตติกรรมประกาศ
ขอขอบคุณ ขออนุโมทนาบุญ กับทุกท่านที่เกี่ยวข้องด้วยความจริงใจ กับทุกโอกาสเหตุการณ์ที่ผ่านมา ทุกเวลาที่ช่วยกันสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ ขอชื่นชมทุกคนที่ชื่นชมต่อความดี แต่แม้ว่าจะใจกว้างประกาศความดีให้อย่างกว้างขวางแล้วก็ตาม สังคมนี้ก็ยังต้องอาศัยคนใกล้ชิดไว้ได้เกื้อกูลเป็นกัลยามิตรเสริมกำลังใจซึ่งกันและกันต่อไป จึงต้องกล่าวถึงโครงข่ายความร่วมมือกับสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จังหวัดสุรินทร์ อันมีโยมพี่วริศราลี แก้วปลั่ง (พี่จ๋า) นายกสมาคมพัฒนาเครือข่ายองค์กรชุมชน ที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการจัดทำนำโครงการนี้มาถึงตำบลทุ่งมน ลดหลั่นกันลงมาอีกถึงทีมงานคณะทำงานจังหวัดที่กระตือรือร้นในการคิด พูด ถาม ทำทุกท่าน สำหรับในพื้นที่ต้องยอยกชาวบ้าน ชาววัดที่ร่วมใจร่วมแรงร่วมเรียนรู้ด้วยกันอย่างภาคภูมิใจ ขอนับองค์กรสำคัญให้ชื่นใจด้วย คือ สมาคมบ้านวัดโรงเรียนตำบลทุ่งมน-สมุดน่าอยู่ สภาเด็กและเยาวชนตำบลทุ่งมน สภาองค์กรชุมชนตำบลทุ่งมน เครือข่ายกองบุญคุณธรรมเพื่อจัดสวัสดิการชุมชนจังหวัดสุรินทร์ ล้วนมีวัตถุประสงค์องค์กรคล้อยเคียงกันมาแต่นานนม คุณนิรุตณ์ บัวพาอีกคนคงไม่มากไป เพราะเขาฝังตัวอยู่ที่ทุ่งมนมานมนานช่วยกันสร้างประวัติศาสตร์ชุมชนที่บอกรากเหง้าของชุมชนทุ่งมนได้อย่างชัดเจน
แม้จะอยู่ห่างไกล นับได้ไม่ทุกคน ก็ยังคิดถึงห่วงใยขอบคุณ น้ำมันหล่อลื่นที่ช่วยให้งานขับเคลื่อนได้จริง มิใช่จินตนาการลม ๆ แล้ง ๆ เช่นก่อนมา คือ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ที่เจ้าของทุนทุกท่านยังขาดกำลังใจอยู่มาก ขอส่งกำลังใจถึงเจ้าของทุนทุกท่าน ด้วยความรักและห่วงใยอยากให้ท่านมีสุขภาพที่ดีเหลือเกิน ปรารถนาให้ท่านมีร่างกายที่แข็งแรง สุขภาพจิตที่ดี จะได้ก้าวสู่การเพาะบ่มจิตวิญญาณที่สูงต่อไปโดยไม่ติดขัด เลิกสูบ เลิกเมากันนะ เหล้าและบุหรี่อย่าอย่าเป็นตัวขัดขวาง บั่นทอนจิตวิญญาณผู้คนเลย ขอน้อมจิตคารวะบูชาพระคุณหลวงปู่ริม รตนมุนี อดีตเจ้าอาวาสวัดอุทุมพร ที่หลวงปู่ได้วางรากฐากบทบาทพระสงฆ์กับการพัฒนาชุมชน และการจัดการน้ำ จัดการป่า แม้หลวงปู่จะมรณภาพไปนานแล้ว เมื่อปี 2528 รูปที่ 2 คือ พระครูประสาทพรหมคุณ (หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ) พุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติศักดิ์ (พธ.ด.) สาขาสังคมสงเคราะห์ ปี 2552 และผลงานรางวัลลูกโลกสีเขียว ครั้งที่ 3 ประจำปี 2544 รางวัลเกียรติยศ
ท้ายสุดขอบคุณเจ้าแห่งชีวิตที่ให้กำเนิดข้าพเจ้า คือ บิดรและมารดาของผู้ข้าเอย

ชีวิต คือการศึกษา
เพียรเพื่อพุทธศาสตร์ ปราชญ์เพื่อศาสนิก

บทคัดย่อ

ในขณะที่ชาวโลกกำลังประสบกับปัญหาภาวะโลกร้อน ภูมิประเทศต่าง ๆ ได้รับความเดือดร้อนจาการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ น้ำจืดปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์มีจำนวนน้อยลงเรื่อย ๆ ถึงขนาดจะเกิดภาวะขาดแคลนได้ในอนาคต ถ้าไม่มีกระบวนการฟื้นฟู อนุรักษ์แหล่งน้ำเกิดขึ้นในแต่ละชุมชน สังคมบ้านเรานี้ก็จะต้องประสบกับปัญหาความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศน์น้ำอย่างรวดเร็วและรุนแรงในอนาคตอันไม่ไกลนัก โดยเริ่มที่ปัญหาน้ำขาดคุณภาพ สำหรับการบริโภค น้ำอุปโภค การเกษตร และมีปัญหาขาดปริมาณน้ำ เริ่มต้นที่น้ำเพื่อการเกษตร น้ำเพื่ออุปโภค และมีปัญหาน้ำเพื่อบริโภคในที่สุด
โครงการฟื้นฟูและอนุรักษ์ลำน้ำห้วยชี (ตอนกลาง) โดยการหนุนเสริมเชื่อมเครือข่ายของโครงข่ายความร่วมมือกับสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จังหวัดสุรินทร์ สมาคมพัฒนาเครือข่ายองค์กรชุมชน และภาคีประชาคมสุรินทร์สร้างสุข ได้รับทุนดำเนินกิจกรรมจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นระยะเวลา 1 ปี ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม 2551 ถึง 31 สิงหาคม 2552 ด้วยงบประมาณจาก สสส. จำนวน 199,040.00 บาท และสนับสนุนเพิ่มเติมอีก 12,000 บาท เป็นชุดโครงการพร้อมกับพื้นที่ดำเนินการอีก 4 พื้นที่ คือ โครงการฟื้นฟูและอนุรักษ์ลำน้ำห้วยชี (ตอนต้น) โครงการฟื้นฟูและอนุรักษ์ลำน้ำห้วยชี (ตอนปลาย) โครงการฟื้นฟูและอนุรักษ์ลำน้ำห้วยทับทัน – ห้วยเสน และ โครงการฟื้นฟูและอนุรักษ์ลำน้ำห้วยด่าน (กาบเชิง)
การจัดกิจกรรมโครงการได้มีการบูรณาการความรู้ คน กิจกรรม ทุน องค์กรต่าง ๆ ในพื้นที่ตำบล รอบด้าน เช่น เมื่อการประกวดสถานีอนามัยดีเด่น สถานีอนามัยตำบลทุ่งมนได้รับการประเมินผลดีเด่นระดับโซน จังหวัด เขต และระดับที่ 2 ของภาคอีสาน เป็นต้น ในระดับจังหวัดเกิดการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับเครือข่ายหลากหลายประเด็น ในภาพของประชาคมสุรินทร์สร้างสุข
โครงการฟื้นฟูและอนุรักษ์ลำน้ำห้วยชี (ตอนกลาง) ช่วยอนุรักษ์ลำนำ ป่าริมลำชี อนุรักษ์แหล่งอาหารอย่างยั่งยืน( วังปลา) สร้างจิตสำนึกสิ่งแวดล้อมในชุมชน สร้างทุนขึ้นภายในชุมชน สร้างสื่อหรือศูนย์เรียนรู้ และเสริมความเข้มแข็งแก่องค์กรชุมชน เช่น กลุ่มอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ต.ทุ่งมน สมาคมบ้านวัดโรงเรียนตำบลทุ่งมน-สมุดน่าอยู่ สภาเด็กและเยาวชนตำบลทุ่งมน กองทุนคุณธรรมสวัสดิการชุมชนพึ่งตนเองตำบลทุ่งมน(องค์กรสวัสดิการชุมชน) สภาองค์กรชุมชนตำบลทุ่งมน เป็นต้น
โครงการฟื้นฟูและอนุรักษ์ลำน้ำห้วยชี (ตอนกลาง) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้เข้าหนุนเสริมชุมชนตำบลทุ่งมนให้เกิดพลวัต เกิดพลังทางสังคม พลังทางวัฒนธรรม พลังทางปัญญา พลังทางการจัดการชุมชนให้เพิ่มขึ้น ชุมชนทุ่งมนจะทวีคูณการพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่ผู้คนในชุมชนต่อไป ต่อเนื่อง ด้วยนวัตกรรมที่บูรณาการของคนทุ่งมน

  • โดย กลุ่มอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตำบลทุ่งมน/ตำบลสมุด
  • หัวหน้าองค์กร/ผู้รับผิดชอบโครงการ พระมหาวีระ กิตฺติวณฺโณ Email: [email protected]
  • ที่อยู่ วัดสะเดารัตนาราม ม.10 ต.ทุ่งมน อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ 32140 โทรศัพท์ 081-5793250
  • งบประมาณที่เสนอรับการสนับสนุนจาก สสส. 199,040 บาท
  • งบประมาณสมทบจากองค์กรที่เสนอโครงการ/องค์กรชุมชน/ชุมชน 14,160 บาท
  • งบประมาณสมทบจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ 20,000 บาท
  • งบประมาณโครงการ จำนวนรวม 233,200 บาท
  • 1. ความเป็นมา

“น้ำ” เป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิตของผู้คนและสรรพสัตว์ การเกิดวิกฤตของจึงน้ำมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพของประชาชนตลอดถึงสังคมทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งในสถานการณ์ปัจจุบันการดำเนินชีวิตของผู้คน มีการทำลายความสมดุลของธรรมชาติอย่างน่าเป็นห่วง ทั้งในกระบวนการจัดการและการใช้ประโยชน์ที่ขาดความรู้ความเข้าใจ และขาดจิตสำนึกที่ดี ทั้งการตัดไม้ธรรมชาติ เพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ยูคาลิปตัส และอ้อย บริเวณลุ่มน้ำ การใช้สารเคมี การหาปลาโดยใช้ยาเบื่อ หรือใช้ไฟช็อต การขุดลอกแหล่งน้ำล้วนก่อให้เกิดการสูญ เสียของระบบนิเวศน์วิทยา ประกอบกับเหตุปัจจัยอื่นๆ อีกมากมาย
“ลำห้วยชี”เป็นลำน้ำอีกแห่งที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนา และการใช้ประโยชน์อย่างไม่รู้ค่าของชุมชนตลอดสายน้ำทั้งลำห้วย ลำห้วยสาขา และแม่น้ำลำคลอง จึงจำเป็นที่จะต้องสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้ประชาชนได้มีความรู้ความเข้าใจ มีความตระหนักถึงความสำคัญของน้ำ พร้อมทั้งร่วมกำหนดแนวทางและกระ บวนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างมีระบบ ดังนั้นการจัดการเรื่องน้ำจำเป็น ต้องใช้กระบวนการการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในสังคม มาช่วยกันแก้ไขปัญหาของชุมชน
ดังนั้นกลุ่มอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตำบลทุ่งมน/ตำบลสมุด จึงได้นำ เสนอโครงการฟื้นฟูและอนุรักษ์ลำห้วยชีตอนกลาง (ตอนกลาง) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ

2. วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ และการมีส่วนร่วม ให้ทุกภาคส่วนของสังคม ทั้งเยาวชน ประชาชน/กลุ่ม องค์กร และเครือข่ายองค์กรชุมชน ตลอดถึงหน่วยงานทั้งภาครัฐ / ภาคเอกชน ร่วมกันฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ
2. เพื่อศึกษา สำรวจ จัดเก็บข้อมูล วิเคราะห์วิจัยเป็นข้อมูลการพัฒนาและแก้ปัญหาแบบองค์รวม
3. เพื่อกำหนดพื้นที่นำร่อง กรณีศึกษา ให้เป็นแนวทางแก้ไขปัญหาและกำหนดเป็นนโยบายในทุกระดับ

3. กิจกรรม / การดำเนินงาน
1).จัดการประชุมสมาชิกศูนย์ประสานงานในพื้นที่ และเครือข่ายพันธมิตร ภายใต้โครงข่ายความร่วมมือกับสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จ.สุรินทร์ และสมาคมพัฒนาเครือข่ายองค์กรชุมชน เพื่อระดมความคิดเห็นต่อประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ พร้อมคัดสรรแกนนำผู้ดำเนินการ และร่วมวางแผนการปฏิบัติงาน และจัดทำโครงการเสนอต่อแหล่งทุน
2).สรรหาและจัดตั้งคณะทำงานการมีส่วนร่วมระดับจังหวัด โดยเชิญตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยว ข้อง ร่วมเป็นคณะทำงานในการลงพื้นที่จัดเวที เก็บข้อมูล เก็บตัวอย่างและตรวจสอบคุณภาพน้ำ พร้อมจัดให้มีการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ศึกษาข้อมูล สร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มองค์กรอื่นๆ ตลอดสายน้ำ
3).จัดประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการ จำนวน 28 คน ร่วมกับคณะทำงานระดับจังหวัดและผู้ประสานงาน 32 คน รวมเป็น 60 คน เพื่อลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม ให้คำปรึกษาหารือแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินงานและเก็บตัวอย่างน้ำเพื่อตรวจวัดคุณภาพน้ำโครงการ 2 ครั้ง / โครงการ
4). จัดกิจกรรมค่ายพัฒนาศักยภาพแกนนำอาสาสมัครพิทักษ์สายน้ำ เพื่อสร้างวิทยากรกระบวนการ สร้างความรู้ความเข้าใจในแนวทางการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟู สร้างจิตสำนึก ร่วมกำหนดระเบียบข้อบังคับ กฎกติกาของชุมชนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน พร้อมทำหน้าที่ในการดูแล เฝ้าระวังเวที เก็บข้อมูล เก็บตัวอย่างและตรวจสอบคุณภาพน้ำ พร้อมทั้งให้ความรู้แก่เยาวชน และประชาชนในพื้นที่
5).กลุ่มอาสาสมัครพิทักษ์สายน้ำ ร่วมกันจัดเวทีสาธารณะสัญจรลงพื้นที่ปฏิบัติงานที่รับผิดชอบเพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจ และสร้างการมีส่วนร่วมจากคนในชุมชน เยาวชนตลอดถึงประชาชนในพื้นที่ 8 หมู่บ้าน และจัดเก็บข้อมูลกรณีศึกษา 8 หมู่บ้านๆ ละ 20 ตัวอย่าง / วิเคราะห์ข้อมูลเชิงประเด็น ศึกษาธรรมชาติ / การใช้ประโยชน์ / คุณภาพความสมดุลทางธรรมชาติ/ชีวภาพ พร้อมอย่างน้ำเพื่อทำการตรวจสอบคุณภาพน้ำ
6).จัดเวที “มหกรรมสายน้ำแห่งชีวิต” เป็นเวทีสัมมนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องการจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อความยั่งยืน และเวทีเสวนาเรื่อง “วิกฤตการณ์น้ำ และพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้อง” พร้อมนำเสนอผลการดำเนินงาน นิทรรศการ และเผยแพร่ข้อมูล องค์ความรู้ เป็นการขยายผลการปฏิบัติงานสู่สาธารณะชน เพื่อสร้างจิตสำนึกแก่เยาวชน และประชาชนทั่วไป
7).การติดตามประเมินผล คณะทำงานในพื้นที่และคณะทำงานระดับจังหวัด ร่วมลงพื้นที่เพื่อ สรุปบทเรียน และประเมินผลการดำเนินงาน ร่วมกันระหว่าง คณะทำงานในพื้นที่ คณะทำงานระดับจังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่ บ้าน และแกนนำในพื้นที่ พร้อมจัดทำแผนชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรม ชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมมอบข้อมูลจากการดำเนิน งานทั้งหมดให้กับหน่วยงานในพื้นที่เพื่อนำไปดำเนินการต่อ โดยบรรจุอยู่ในแผนพัฒนาตำบล / จังหวัด ต่อไป โดยมีกิจกรรมเสริมเช่น

  •  พิธีกรรมทางศาสนา (ขอขมาพระแม่คงคา)
  •  การปล่อยพันธ์ปลา
  •  มอบข้อมูลแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  •  ปิดโครงการ


แผนการดำเนินงาน ระยะเวลา 1 ปี (12 เดือน)
แผนปฏิบัติการโครงการ
วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ที่สอด คล้องกับวัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย พื้นที่ดำเนินการ กิจกรรม จะทำอะไร วิธีการอย่างไร ระยะเวลา ที่ดำเนินการ ประมาณการค่าใช้จ่าย ชุมชนสมทบ เสนอ สสส.
1.เพื่อทำความเข้าใจและ สรรหาคณะทำงานในระดับตำบลที่จะทำงานร่วมกับคณะทำงานจังหวัด ได้คณะทำงานที่มีความรู้ความเข้าใจต่อสถาน การณ์ปัญหาและเกิดความร่วมมือในการดำ เนินงานอย่างเป็นรูปธรรม คณะทำงานในพื้นที่ ต.ทุ่งมน ต.สมุด ประชุมที่วัดสะเดารัตนาราม ต.สมุด อ.ปราสาท จ.สุรินทร์
1.เชิญแกนนำคณะทำงานร่วมประชุมทำความเข้าใจ กำหนดบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบ เพื่อปฏิบัติงานรวมกับคณะทำ งานระดับจังหวัด และอาสาสมัครพิทักษ์สายน้ำในพื้นที่ พร้อมทั้งรายงานสถาน การณ์ผลการทำงาน อุปสรรค ปัญหาและ ความคืบหน้าของโครง การสรุปบทเรียนการทำงานเป็นระยะเพื่อเรียนรู้ร่วมกัน 1 วัน 18 มิ.ย.51 6,000 -
2.เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม จากทุกภาคส่วนในสังคมและสรรหาคณะ ทำงานที่มีความรู้ความ สามารถ มีวัสดุ อุปกรณ์ และมีอำนาจใน การตัด สินใจนำโครงการเข้าสู่แผนพัฒนาตำบลและจังหวัด ต่อไป เกิดการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการร่วม กันดูแลทรัพยากรธรรม ชาติและสิ่งแวดล้อม ตัวแทนแต่ละโครง การและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม ณ สำนักงานที่ทำการสมาคมพัฒนาเครือข่ายองค์กรชุมชน เดือนละ 1 ครั้ง 2. จัดตั้งคณะทำงานระดับจังหวัดประกอบด้วยตัวแทนโครงการละ 3 คน x 5 โครงการ พร้อมทั้งเชิญตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องมาร่วมเป็นคณะทำงาน ประกอบด้วย

  • (1) นายกสมาคมพัฒนาเครือข่ายองค์กรชุมชน
  • (2) ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์
  • (3) ประชาสัมพันธ์จังหวัดสุรินทร์
  • (4) ตัวแทนจากโครงการชลประทานห้วยเสนง
  • (5) ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด
  • (6) ตัวแทนจาก ม.เทคโลโลยีราชมงคลอีสาน ฯ(7) นายก อบต.ในพื้นที่ตำบลทุ่งมน / ต.สมุด
  • (8) ตัวแทนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์


1 ครั้ง 7 ก.ค. 51 6,560 -
วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ที่สอด คล้องกับวัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย พื้นที่ดำเนินการ กิจกรรม จะทำอะไร วิธีการอย่างไร ระยะเวลา ที่ดำเนินการ ประมาณการค่าใช้จ่าย

3.เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในทุกระดับในการฟื้นฟูและอนุรักษ์แหล่งน้ำและเชื่อมโยงตลอดสายน้ำและเพื่อแลก เปลี่ยนเรียนรู้ประสบ การณ์และร่วมกันศึกษาข้อมูล ฯลฯ คณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจ / เกิดกระ บวนการเรียนรู้ร่วมกันรับรู้สถานการณ์อุปสรรค ปัญหาแนวทางการแก้ ไขและเกิดความร่วมมือในการดำเนินงาน คณะทำงานในพื้นที่ร่วมกับคณะทำงานระดับจังหวัดจัดเวที ณ พื้นที่ปฏิบัติงาน 4. จัดประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการ จำนวน 28 คน ร่วมกับคณะทำงานระดับจัง หวัดและผู้ประสานงาน 32 คน รวมเป็น 60 คน เพื่อลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม ให้คำปรึกษา หารือแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินงานและเก็บตัวอย่างน้ำเพื่อตรวจวัดคุณภาพน้ำโครงการ 2 ครั้ง / โครงการ

ส.ค.51(1ครั้ง) เม.ย.51(1ครั้ง) - 31,200
4. เพื่อสร้างและพัฒนาศักยภาพแกนนำด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมให้มีความรู้ในการเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ จัดเก็บข้อมูล ตรวจวัดคุณ ภาพน้ำ และจัดเวทีให้ความรู้แก่คนในชุมชนพร้อมร่วมกิจกรรมเพื่อเชื่อมร้อยเครือข่ายอาสา สมัครฯ โครงการอื่นๆ มีแกนนำอาสาสมัครพิทักษ์สายน้ำเพื่อทำหน้า ที่ในการเฝ้าระวังและให้ความรู้แก่ชุมชน รายงานสถานการณ์จัดเก็บข้อมูลตรวจวัดคุณภาพน้ำและปฏิบัติงานในพื้นที่ คณะทำงานแกนนำอา สาสมัครและเยาวชนจากชุมชนที่อยู่ในเขตลุ่มน้ำทั้ง 8 หมู่ๆ ละ 10 คน จำนวน 80 คน 4. จัดค่ายพัฒนาศักยภาพแกนนำอาสาสมัครพิทักษ์สายน้ำเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การอนุ รักษ์ ฟื้นฟู การจัดเก็บข้อมูล การตรวจวัดคุณภาพน้ำ และการสร้างจิตสำนึก ซึ่งเป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างวิทยากรกระบวนการเพื่อทำหน้าที่ เช่น

  • -ร่วมกันกำหนดระเบียบข้อบังคับ กฎกติกาของชุมชน ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
  • -เป็นชุดอาสาสมัครพิทักษ์สายน้ำปฏิบัติงานเพื่อให้ความรู้แก่ชุมชน เยาวชนในสถาบันการ ศึกษา และเฝ้าระวังสายน้ำ จัดเก็บข้อมูล ตรวจวัด คุณภาพน้ำ รายงานผลการดำเนินงาน อุปสรรค ปัญหา และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มอื่นๆ

2 วัน เดือนสิงหาคม 51 - 51,400
วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ที่สอด คล้องกับวัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย พื้นที่ดำเนินการ กิจกรรม จะทำอะไร วิธีการอย่างไร ระยะเวลา ที่ดำเนินการ ประมาณการค่าใช้จ่าย ชุมชนสมทบ เสนอ สสส.
5. สำรวจ ศึกษา จัดเก็บข้อมูลพื้นฐาน 8 พื้นที่และเพื่อให้ความรู้พร้อมเผยแพร่กิจกรรมให้ประชา ชนที่อยู่ริมน้ำ และเยาวชนในสถาบันการศึกษาในพื้นที่ได้รับรู้มีจิตสำนึก และเข้าร่วมกิจกรรมในโครงการมากขึ้น ข้อมูลพื้นฐานจากกรณี ศึกษา ครอบคลุมในทุกด้านรวบรวมจัดเก็บและเผยแพร่เป็นเอกสารสรุป บทเรียน / ประชาชนและเยาวชนมีความรู้ความเข้าใจต่อโครงการและเข้าร่วมเป็น ส่วนหนึ่งในการเฝ้าระวังดูแลสายน้ำร่วม กันอย่างเป็นรูปธรรม ประชาชนในพื้นที่ 8 หมู่ บ้านใน ต.ทุ่งมน /ต.สมุด อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ และกรณีศึกษา 20 ครัว เรือน X 8 หมู่บ้านใน ต.ทุ่งมน รวมทั้งสิ้น 160 ครัวเรือน 6. กลุ่มอาสาสมัครพิทักษ์สายน้ำ ร่วมกันจัดเวทีสาธารณะสัญจรลงพื้นที่ปฏิบัติงานที่รับผิดชอบเพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจ และสร้างการมีส่วนร่วมจากคนในครอบครัว ในชุมชน เยาวชนตลอดถึงประชาชนในพื้นที่ 6 หมู่บ้าน และจัดเก็บตัวอย่างน้ำเพื่อทำการตรวจสอบคุณภาพน้ำ / จัดเก็บข้อมูลกรณีศึกษา 8 หมู่บ้านๆ ละ 20 ตัวอย่าง / วิเคราะห์ข้อมูลเชิงประเด็น ศึกษาธรรมชาติ / การใช้ประ โยชน์ / คุณ ภาพ ความสมดุลทางธรรมชาติ / ชีวภาพ ช่วงเดือนตุลาคม ถึงธันวาคม 2551 รวม 8 ครั้ง
1,600 100,000
6.เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมจากภาคีการพัฒนาทุกภาค ส่วน ในการคืนธรรม ชาติสู่แม่น้ำลำคลอง แลก เปลี่ยนเรียนรู้ประสบ การณ์ ศึกษาข้อมูล สร้าง จัดเวทีประชุมเชิงปฏิบัติ การร่วมกับเครือข่ายภาคีความร่วมมือจากลุ่มน้ำอื่นๆ ในพื้นที่ จ.สุรินทร์ - คณะทำงาน

  • - แกนนำอาสา สมัครพิทักษ์สายน้ำ ร่วมประชุมระดับจังหวัด พร้อมจัดงานมหกรรมสายน้ำแห่งชีวิต จัดเวที “มหกรรมสายน้ำแห่งชีวิต” เป็นเวทีสัมมนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องการจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อความยั่งยืน และเวทีเสวนาเรื่อง “วิกฤตการณ์น้ำ และพระราช บัญญัติที่เกี่ยวข้อง” พร้อมนำเสนอผลการดำเนินงาน นิทรรศการ และเผยแพร่ข้อมูล องค์ความรู้ เป็นการขยายผลการปฏิบัติงานสู่สาธารณะชน เพื่อสร้างจิตสำนึกแก่เยาวชนจากสถาบันการ ศึกษา และประชาชนทั่วไป เป็นลักษณะการประชุม สัมมนาและนำเสนอผลงานนิทรรศการ ภาพ ถ่าย ข้อมูลข่าวสาร ในเขตพื้นที่โครงการชลประทาน


2 วัน 1 คืน ก่อนปิดโครงการ (ช่วงเทศกาลสงกรานต์ซึ่งจะมีนัก ท่อง เที่ยวมาที่โครงการชล ประทานห้วยเสนงจำนวนมาก) - 16,440
วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ที่สอด คล้องกับวัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย พื้นที่ดำเนินการ กิจกรรม จะทำอะไร วิธีการอย่างไร ระยะเวลา ที่ดำเนินการ ประมาณการค่าใช้จ่าย ชุมชนสมทบ เสนอ สสส.
ประทานห้วยเสนง ซึ่งจะมีประชาชนเข้าไปท่อง เที่ยวพักผ่อนจำนวนมากในแต่ละวัน พร้อมทั้งออกหนังสือเชิญสภาบันการ ศึกษาให้พาแกนนำเยาวชนมาร่วมศึกษาดูงานด้วย

7.เวทีสรุปบทเรียน ประ เมินผล จัดทำแผนและส่งมอบข้อมูลต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1. ประชาชนในพื้นที่ได้รับรู้ผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมาของโครงการ
2.ร่วมกันกำหนดทิศทางและแนวทางการดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหลังจากโครง การที่ได้รับกาสนับสนุนจาก สสส.จบลง
3.ส่งมอบแผนชุมชนข้อมูลการดำเนินงาน คณะทำงานในพื้นที่และคณะทำงานระ ดับจังหวัด ลงปฏิ บัติงานในพื้นที่เป้าหมาย

  •  คณะทำงานในพื้นที่และคณะทำงานระดับจังหวัด ร่วมลงพื้นที่ เพื่อสรุปบทเรียน และประ เมินผลการดำเนินงาน ร่วมกันระหว่าง คณะ ทำงานในพื้นที่ คณะทำงานระดับจังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่ บ้าน และแกนนำในพื้นที่ พร้อมจัดทำแผนชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมมอบข้อมูลจากการดำเนิน งานทั้งหมดให้กับหน่วยงานในพื้นที่เพื่อนำไปดำเนินการต่อ โดยบรรจุอยู่ในแผนพัฒนาตำบล / จังหวัด ต่อไป โดยมีกิจกรรมเสริมเช่น
  •  การปล่อยพันธุ์ปลา
  •  พิธีกรรมทางศาสนา (ขอขมาพระแม่คงคา)
  •  มอบข้อมูลแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  •  ปิดโครงการ 1 วัน

ปิดโครงการ 20,000 - รวมตลอดทั้งโครงการ 12 เดือน 34,1 60 199,040

4. กลุ่มเป้าหมาย

1. หมู่บ้านที่ติดเขตลำน้ำ ต.ทุ่งมน จำนวน 8 หมู่บ้าน
หมู่ที่ ชื่อบ้าน หมู่ที่ ชื่อบ้าน หมู่ที่ ชื่อบ้าน หมู่ที่ ชื่อบ้าน 1 บ้านทุ่งมน 4 บ้านกำไสจาน 6 บ้านพลับ 9 บ้านหนองโบสถ์ 3 บ้านตาเจียด 5 บ้านตาอี 7 บ้านสะพานหัน 10 บ้านแสโอ
2.สถานศึกษา 6 โรงเรียน คือ
- โรงเรียนบ้านทุ่งมนฯ -โรงเรียนทุ่งมนวิทยาคาร - โรงเรียนบ้านหนองหรี่ - โรงเรียนบ้านสะพานหัน -โรงเรียนบ้านกำไสจาน ( ต.ทุ่งมน) - โรงเรียนตานีวิทยาคาร (ต.ตานี)
3. วัด 5 แห่ง คือ 1) วัดอุทุมพร 2) วัดประทุมทอง 3) วัดสะเดารัตนาราม 4) วัดป่าหินกอง

                                             5)วัดพรหมคุณสามัคคีธรรม   

4. องค์กร/หน่วยงาน 4 องค์กร คือ องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งมน สถานีอนามัยตำบลทุ่งมน สถานีตำรวจภูธรทุ่งมน และเครือข่ายโรงเรียน ( สพท. สุรินทร์ เขต 3 เครือข่าย 4) เป้าหมายเชิงปริมาณ 1. ประชาชน 8 หมู่บ้าน ๆ ละ 30 คน = รวม 240 คน 2. นักเรียนหรือเยาวชน 6 โรงเรียน ๆ ละ 40 คน = รวม 240 คน 3. องค์กรภาคส่วน 4 องค์กร ๆ ละ 5 คน = รวม 20 คน 4. พระสงฆ์จาก 5 วัด ๆ ละ 4 รูป = รวม 20 รูป

                    รวมทั้งสิ้น    520   คน / รูป

5.ผลลัพธ์ที่ได้
กิจกรรมที่ได้ดำเนินการแล้ว วิธีดำเนินการ

  • 1. เวทีชี้แจงทำความเข้าใจโครงการ และตรวจคุณภาพน้ำ เป็นกิจกรรมแรกที่มีการเชิญผู้นำและแกนนำในตำบล 11 หมู่บ้าน จำนวน 100 คน กลุ่มเป้าหมายให้สอดคล้องกับสภาองค์กรชุมชนตำบล มาชี้แจงโครงการ 1 ครั้ง และมีการจัดคณะทำงานระดับตำบล
  • 2. ค่ายอบรมอาสาสมัคร ในโครงการกำหนดจัด 2 วัน 1 คืน แต่ใช้วิธีจัดการแบบชุมชนสามารถจัด 3 วัน 2 คืนได้ ใช้กระบวนการคัดเลือกผู้เข้าอบรม โดยเลือกบุคลิกคนมีใจทำงาน ฝ่ายเยาวชนใช้ฐานสภาเด็กและเยาวชนคัดเลือกชักชวนกันเอง กระบวนการอบรมแบบมีส่วนร่วมมากที่สุด อบรมกันบนเกาะกลางลำชี
  • 3. เวทีพื้นที่ชุมชน 8 หมู่บ้าน คณะทำงานตำบลลงพื้นที่ไปพูดคุยแลกเปลี่ยนแต่ละหมู่บ้าน จัดตั้งคณะทำงานแต่ละหมู่บ้าน บางหมู่บ้านถึงขั้นจัดกิจกรรมร่วมกัน คือ งานประกาศเขตอนุรักษ์ และมีแผนงานที่จะทำงานร่วมกันในอนาคต
  • 4. ประชุมคณะทำงานตำบล เป็นกิจกรรม งานที่ต้องมีการทบทวนการทำงานอย่างต่อเนื่อง มีการวางแผน มอบหมายการทำงานด้วยกัน ประเมินเวที ประเมินงานต่อเนื่อง ฝึกการพูด ฝึกทำงานตามที่มอบหมาย
  • 5. กิจกรรมเยาวชน องค์กรเยาวชนที่มีอยู่แล้ว ร่วมกิจกรรม เช่น ค่ายอบรม ร่วมกิจกรรมประกาศเขตอนุรักษ์ และจัดประชุมเป็นครั้งคราว สอดกิจกรรมให้สอดคล้องกับขบวนผู้ใหญ่อย่างต่อเนื่อง
  • 6. เก็บข้อมูลชุมชน แต่ละหมู่บ้านมีคนทำงาน 2-4 คน เดินสัมภาษณ์รายครัวเรือน และหาข้อมูลของหมู่บ้าน เป็นการประชาสัมพันธ์โครงการ กระตุ้นจิตสำนึกไปในตัว
  • 7. ทำสติ๊กเกอร์ประชาสัมพันธ์โครงการ จัดทำสติ๊กเกอร์ จำนวน 600 แผ่น ติดฝาบ้าน รถไถ ประชาสัมพันธ์โครงการ ปลุกจิตสำนึก
  • 8. จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์กิจกรรม ทำป้ายประกาศเขตอนรักษ์ โดยอ้างโครงการและแหล่งทุน
  • 9. จัดทำภาพถ่าย อัดภาพกิจกรรมไว้จำนวนมาก เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรม
  • 10. เวทีมหกรรมสายน้ำ เป็นเวทีแลกเปลี่ยนรู้ เสนอนโยบายต่อ อบต. อบจ. และได้แนวทางความร่วมมือกันเองในชุมชน เพื่อแก้ปัญหาการจัดการน้ำ
  • การดำเนินกิจกรรม ระหว่าง 10 สิงหาคม – ธันวาคม 2551

ว/ด/ป สถานที่จัด ผู้ร่วมกิจกรรม กระบวนการกิจกรรม/ผลที่เกิดขึ้น

  • 10 ส.ค. 2551 วัดสะเดารัตนาราม 75 เป็นเวทีประชุมคณะทำงานในพื้นที่ครั้งแรก มีการชี้แจงทำความเข้าใจกับโครงการ และลงเก็บตัวอย่างน้ำ ๒ จุด คือที่ห้วยก๊วล และ ลำน้ำห้วยชี เพื่อทำการตรวจคุณภาพน้ำ
  • ในการจัดประชุมครั้งแรกนี้ได้ออกหนังสือเชิญประชุมในนามของสภาองค์กรชุมชนตำบลทุ่งมน จึงถือได้ว่าได้บูรณาการกับสภาองค์กรชุมชนตำบลทุ่งมนแล้ว
  • 17-19 ส.ค. 2551 เกาะตาเล็ก กลางน้ำลำชี ต.สวาย อ.เมือง 105 เป็นค่ายพัฒนาพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสายน้ำ เดิมในโครงการเป็นระยะเวลา 2 วัน 1 คืน แต่เพิ่มเป็น 3 วัน 2 คืน *โดยหาทุนทางพื้นที่เพิ่มเติม ก่อนจะมีค่ายก็ได้ใช้กระบวนการทำงานกลุ่มเล็กทำงานร่วมกันหลายครั้ง การเชิญชวนกลุ่มหมายใช้ความคุ้นเคยกันมาก่อน เช่น เยาวชนชวนเยาวชน แกนนำชวนแกนนำในค่ายอบรมได้ก่อเกิดการร่างกฎกติกาน้ำ ป่าร่วมกัน ร่วมกันวาดภาพแผนที่ลำน้ำ มีแนวคิดจัดหาเรือไฟเบอร์ ในที่สุดก็ได้รับการบริจาคจากหลวงปู่หงษ์ 2 ลำ มูลค่า 100,000 บาท

รวมจำนวนคนที่เข้าร่วมกิจกรรม 180


  • การดำเนินกิจกรรมพัฒนาศักยภาพผู้นำแห่งการเปลี่ยน (แกนนำ/คณะทำงาน) 29 มีนาคม – สิงหาคม 2552
  • ว/ด/ป สถานที่จัด ผู้ร่วมกิจกรรม กระบวนการกิจกรรม/ผลที่เกิดขึ้น
  • 29 มี.ค.2552 วัดสะเดารัตนาราม 8 คณะทำงานในพื้นที่ได้สรุปผลการทำกิจกรรมที่ผ่านมา เห็นจุดอ่อนจุดแข็งการทำงาน มีการปรับเปลี่ยนการทำงาน
  • 9 เม.ย. 2552 วัดสะเดารัตนาราม 14 คณะทำงานในพื้นที่ได้ร่วมกันวิเคราะห์แผนกิจกรรม ร่วมกันวางแผนงาน
  • 10 พ.ค.2552 วัดสะเดารัตนาราม 13 คณะทำงานมีการแบ่งบทบาทกันอย่างชัดเจนในการจัดเวทีหมู่บ้าน ฝึกเป็นวิทยากรกระบวนการ
  • 19 พ.ค.2552 วัดสะเดารัตนาราม 15 แลกเปลี่ยนประเมินการเป็นวิทยากรกระบวนการ ทบทวนกิจกรรม ตรวจสอบความก้าวหน้าของการประสานงานและการทำงาน
  • 26 พ.ค.2552 วัดสะเดารัตนาราม 16 แลกเปลี่ยนประเมินเวที และวางแผนงาน
  • 31 พ.ค.2552 วัดสะเดารัตนาราม 5 ติดตามงานในพื้นที่
  • 12 ส.ค.2552 วัดสะเดารัตนาราม 7 แลกเปลี่ยนบทเรียนงานกับผู้ติดตาม สสส.
  • รวมคณะทำงานที่เข้าร่วมกิจกรรม 78
  • การดำเนินกิจกรรมพัฒนาศักยภาพกลุ่มเยาวชน (สภาเด็กและเยาวชนตำบลทุ่งมน) พฤษภาคม – สิงหาคม 2552
  • ว/ด/ป สถานที่จัดกิจกรรม ผู้ร่วมกิจกรรม กระบวนการกิจกรรม/ผลที่เกิดขึ้น
  • 26 พ.ค.2552 วัดสะเดารัตนาราม 26 ประชุมแกนนำเยาวชนเก่า-ใหม่ และจัดตั้งคณะกรรมการสภาเด็กและเยาวชน ชุดที่ 2
  • 31 พ.ค.2552 วัดสะเดารัตนาราม 15 ประชุมวางแผนการทำกิจกรรมเสริมศักยภาพเยาวชน
  • รวมเยาวชนที่ร่วมกิจกรรม 41
  • การดำเนินกิจกรรมลงพื้นที่ชุมชน ระหว่าง 29 มีนาคม – สิงหาคม 2552
  • หมู่ที่ ว/ด/ป สถานที่จัดกิจกรรม ผู้ร่วมกิจกรรม กระบวนการกิจกรรม/ผลที่เกิดขึ้น
  • 10 19 เม.ย. 2552 ศาลากลางหมู่บ้าน
  • บ้านแสรโอ 20 ประชาสัมพันธ์โครงการในงานทำบุญหมู่บ้าน ร่วมกันตั้งกติกาแหล่งอนุรักษ์ปลา
  • 20 เม.ย.2552 11 เวทีวิเคราะห์ข้อมูลชุมชน มีการจัดตั้งคณะทำงานในหมู่บ้านอย่างชัดเจน
  • 6 24 เม.ย. 2552 ศาลากลางหมู่บ้าน 11 เวทีวิเคราะห์ข้อมูลชุมชน
  • 18 พ.ค.2552 บ้านผู้ใหญ่บ้าน 54 เวทีประชาคมเพื่ออนุรักษ์แหล่งน้ำ ได้กติการ่วมกัน มีการจัดตั้งคณะทำงานในหมู่บ้านอย่างชัดเจน
  • 1 มิ.ย. 2552 ริมห้วยก็วล 53 จัดงานประกาศเขตอนุรักษ์พันธุ์ปลาและต้นไม้ชายฝั่ง
  • 3 4 พ.ค.2552 บ้านผู้ใหญ่บ้าน 37 เวทีประชาคมเพื่อค้นหาวิธีการและสถานที่อนุรักษ์ปลาประจำหมู่บ้าน
  • 8 พ.ค.2552 ลำน้ำห้วยชี 72 จัดงานประกาศเขตอนุรักษ์พันธุ์ปลาและต้นไม้ชายฝั่ง ของหมู่บ้านตาเจียด และสภาเด็กและเยาวชนตำบลทุ่งมน ได้ประชาสัมพันธ์กิจกรรมถึงตำบลป่าชัน บุรีรัมย์ร่วมตระหนักอนุรักษ์แหล่งน้ำ
  • มีการจัดตั้งคณะทำงานในหมู่บ้านอย่างชัดเจน
  • 5 22 พ.ค. 2552 ศาลา บ้านตาอี 38 เวทีแลกเปลี่ยนสถานการณ์น้ำ
  • 4 22 พ.ค.2552 บ้านผู้ใหญ่ บ.กำไสจาน 27 เวทีแลกเปลี่ยนสถานการณ์น้ำ มีการจัดตั้งคณะทำงานในหมู่บ้าน
  • 1 24 พ.ค. 2552 ศาลาฯบ้านทุ่งมน 39 เวทีแลกเปลี่ยนสถานการณ์น้ำ มีการจัดตั้งคณะทำงานในหมู่บ้านอย่างชัดเจน
  • 9 24 พ.ค. 2552 วัดอุทุมพร 39 เวทีแลกเปลี่ยนสถานการณ์น้ำ มีการจัดตั้งคณะทำงานในหมู่บ้านอย่างชัดเจน
  • 7 26พ.ค.2552 บ้านผู้ใหญ่ บ.สะพานหัน 49 เวทีแลกเปลี่ยนสถานการณ์น้ำ กำหนดแหล่งอนุรักษ์พันธุ์ปลา มีการจัดตั้งคณะทำงานในหมู่บ้านอย่างชัดเจน
  • รวม 10 ก.ค. 2552 สถานีอนามัย ต.ทุ่งมน 25 เป็นภาคีร่วมจัดนิทรรศการประกวดสถานีอนามัยดีเด่นระดับจังหวัด ผลสถานีอนามัยเป็นตัวแทนจังหวัด
  • รวม 16 ก.ค.2552 สถานีอนามัย ต.ทุ่งมน 30 เป็นภาคีร่วมจัดนิทรรศการประกวดสถานีอนามัยดีเด่นระดับเขต 14 ผลสถานีอนามัยเป็นตัวแทนเขต 14
  • รวม 17 ส.ค.2552 สถานีอนามัย ต.ทุ่งมน 35 เป็นภาคีร่วมจัดนิทรรศการประกวดสถานีอนามัยดีเด่นระดับภาค ผลสถานีอนามัยเป็นที่ 2 ของภาคอีสาน และนายอำเภอปราสาทให้ร่วมจัดนิทรรศการอีกครั้งในวันที่ 11 กันยายน 2552 ณ วัดเพชรบุรี
  • รวม 21 ส.ค.2552 อบต.ทุ่งมน 43 จัดเวทีแลกเปลี่ยนการจัดการทรัพยากรน้ำลำน้ำห้วยชี (ตอนกลาง) “มหกรรมสายน้ำแห่งชีวิต” ร่วมกับ อบจ.สุรินทร์ และ อบต.ทุ่งมน ได้แผนงานที่จะร่วมกันจัดการแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำทำนาด้วยการสูบน้ำด้วยเครื่องสูบขนาดใหญ่ ส่งน้ำระบบท่อ ให้มีการทดลอง 1 พื้นที่ประมาณ 100 ไร่ และมีผู้ร่วมลงน้ำนำเสนอความเดือดร้อนจำนวน 4 หมู่บ้าน นำเสนอแผนไปสู่ ส.ส. อบจ.สุรินทร์ และ อบต.ทุ่งมน ได้ร่วมเรียนรู้การทำงานขององค์กรชุมชน
  • รวมผู้ร่วมกิจกรรมสะสมทั้งหมด 583
  • รวมผู้ร่วมกิจกรรมสะสมทั้งหมดตลอดโครงการ จำนวน 882 คน
  • กิจกรรมที่มุ่งก่อให้เกิดการป้องกัน อนุรักษ์ ดูแล ฟื้นฟูแม่น้ำลำคลอง และปลูกจิตสำนึกการรัก และร่วมรักษาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสม
  • 1. การจัดตั้งคณะทำงานระดับตำบล ร่วมทำกิจกรรม ร่วมประชุมด้วยกันอย่างต่อเนื่อง
  • 2. การจัดตั้งคณะทำงานระดับหมู่บ้าน แล้วให้มีกิจกรรมร่วมกันทันที เช่น การจัดงานประกาศเขตอนุรักษ์พันธุ์ปลา
  • 3. การจัดทำสติ๊กเกอร์ปิดไว้หน้าบ้าน
  • 4. จัดส่งเสริมบทบาทกลุ่มเยาวชน จัดกิจกรรมล่องน้ำ / กิจกรรมประกาศเขตอนุรักษ์ในนามของเยาวชน
  • ประโยชน์ที่ได้นอกเหนือจากวัตถุประสงค์ของโครงการที่ท่านตั้งไว้มีอะไรบ้าง
  • 1. หนุนเสริมความเข้มแข็งองค์กรชุมชนที่มีอยู่ก่อนแล้ว เช่น สภาองค์กรชุมชนตำบลทุ่งมน , กองทุนสวัสดิการชุมชน, สมาคมบ้านวัดโรงเรียนตำบลทุ่งมน-สมุดน่าอยู่, สภาเด็กและเยาวชนตำบลทุ่งมน
  • 2. ความเข้มแข็งเชิงวัฒนธรรมชุมชน บ้านวัดโรงเรียน
  • 3. ได้รับบริจาคเรือไฟเบอร์ 2 ลำ จากหลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ
  • 4. การถ่ายโอนบทบาทอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจากพระสงฆ์สู่พระสงฆ์
  • 5. เกิดการเรียนรู้ในการจัดการโครงการร่วมกัน
  • 6. การบูรณาการการพัฒนาชุมชนอย่างต่อเนื่อง
  • 7. ได้ข้อมูล องค์ความรู้ ในการจัดศูนย์การเรียนรู้
  • กิจกรรม/วิธีการ ที่แปลกใหม่/แตกต่างจากคนอื่น หรือไม่ อย่างไร
  • - พระสงฆ์หลวงปู่หงษ์หนุนกิจกรรม
  • - พระสงฆ์รุ่นใหม่เป็นแกนนำในชุมชน
  • - ใช้กลุ่มเยาวชน สภาเด็กและเยาวชนตำบลร่วมเคลื่อนกิจกรรม
  • - บูรณาการกับวัตถุประสงค์ของหลาย ๆ องค์กร
  • - ลงมือปฏิบัติงานทันทีกับกิจกรรมที่จะมีผลต่อความคิด และความต่อเนื่องในอนาคต
  • - หนุนเสริมองค์กรชุมชน
  • ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในโครงการของท่านมีอะไรบ้าง
  • - ความรวดเร็วฉับไว ต่อเนื่อง บูรณาการ / การสื่อสาร รับ-ส่งข่าวสารที่ฉับไว ( โทรศัพท์/เน็ต)
  • - ใช้วัฒนธรรมชุมชนทำงาน
  • - ซื่อสัตย์ ตรงไป ตรงมา เรียนรู้ร่วมกัน โปร่งใส
  • - บูรณาการองค์กร บูรณาการงาน ส่งเสริมต่อยอดฐานเดิม งานเดิม
  • - ใช้กระบวนการสั่นสะเทือนทางสังคม เช่น ขบวนเด็กเยาวชน
  • - การเป็นคนทำงานระดับจังหวัดหลายประเด็น การได้รับแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับจังหวัด ภาค บ่อยๆ
  • 1.ร่วมเวทีเครือข่ายฯนำเสนอผลงานทั้งเชิงพื้นที่และขยายผลต้นแบบสู่พื้นที่ต่างๆอย่างต่อเนื่อง
  • 2. การต่อยอดโครงการกับหน่วยงานแหล่งทุนเพื่อการพัฒนา และ ขยายพื้นที่เพิ่ม
  • 3.เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารการจัดกิจกรรม และผลการดำเนินงานผ่านสื่อต่างๆ โดยความร่วมมือจากประชาสัมพันธ์จังหวัดสุรินทร์
  • 4.เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารการจัดกิจกรรม และผลการดำเนินงานผ่านเวทีการประชุมโครงข่ายความร่วมมือกับสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (จังหวัดสุรินทร์) ซึ่งมีการประชุมเดือนละ 1 ครั้ง
  • 5.ผ่านเวทีการประชุมสัมมนา / การอบรม และการจัดกิจกรรมต่างๆ ของเครือข่ายทรัพยากรธรรม ชาติและสิ่งแวดล้อม อื่นๆ
  • เสนอแผนงานต่อ อบต./อบจ. เพื่อให้กำหนดเป็นนโยบายและบรรจุเข้าแผนพัฒนาทั้ง 2 ระดับ
  • 2.การขยายเครือข่ายฯ หรือร่วมมือกับเครือข่ายอาสาฯ อื่นๆ เพื่อเชื่อมโยงกระบวนการการขยายผลทั้งในหมู่เครือข่ายและองค์กรภาครัฐ

เมื่อโครงการแล้วเสร็จ หรือเมื่อทุนของ สสส. หมดลง จะมีการดำเนินการต่อไป ด้วยทุนของ

  • 1.) องค์การบิหารส่วนท้องถิ่น 2 ระดับ องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งมน และ อบจ.สุรินทร์
  • 2.) หน่วยงานราชการ งบประมาณพัฒนาจังหวัด จากสำนักงานจังหวัด
  • 6. การประเมินผล
  • 1. การสร้างกระบวนการเรียนรู้ และการมีส่วนร่วม ให้ทุกภาคส่วนของสังคม ทั้งเยาวชน ประชาชน/กลุ่ม องค์กร และเครือข่ายองค์กรชุมชน ตลอดถึงหน่วยงานทั้งภาครัฐ / ภาคเอกชน ร่วมกันฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ
  • - บ้าน วัด โรงเรียน อบต. มีส่วนร่วมในการดำเนินงานจริง
  • - เยาวชนได้โอกาสในการทำงานกลุ่มอย่างต่อเนื่อง
  • - สภาองค์กรชุมชนตำบลทุ่งมนได้ใช้งานนี้ในการสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน
  • - มีการเคลื่อนไหวในชุมชนบ่อยครั้ง และมีผลทางความเชื่อถือของชุมชนได้มาก
  • 2. การศึกษา สำรวจ จัดเก็บข้อมูล วิเคราะห์วิจัยเป็นข้อมูลการพัฒนาและแก้ปัญหาแบบองค์รวม
  • - เกิดการพูดคุยกันบ่อย ๆ ทำให้เกิดผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง
  • - ชุมชนลุกขึ้นจัดการชุมชนของตนเองได้ เช่น การจัดการน้ำจากปัญหาฝนทิ้งช่วง
  • - นำข้อมูลชุมชนฝนทิ้งช่วง แล้งซ้ำซากเสนอต่อ ส.ส. ไปถึงรัฐบาล
  • - ได้ข้อมูลในการพัฒนาชุมชนต่อไป
  • 3. การกำหนดพื้นที่นำร่อง กรณีศึกษา ให้เป็นแนวทางแก้ไขปัญหาและกำหนดเป็นนโยบายในทุกระดับ
  • - มีการกำหนดเขตอนุรักษ์พันธุ์ปลา จำนวน 3 แห่งเป็นรูปธรรม
  • - มีการกำหนดพื้นที่จัดการน้ำ 2 รูปแบบอย่างชัดเจน
  • - มีการจัดการพื้นที่นำร่องในการสูบน้ำทำนา 1 พื้นที่
  • 7.ปัญหาและอุปสรรค
  • - การทำงานแบบชาวบ้าน ยังไม่มีทักษะในการคิด การพูดที่เก่งนัก ( เดี๋ยวนี้ดีขึ้นมาก ๆ)
  • - การขาดคนทำงานด้านการพิมพ์เอกสาร ( พม.วีระ ยังทำเอง พิมพ์เองอยู่ทุกเรื่อง)
  • - การจดบันทึกการประชุมของคณะทำงานไม่เป็นรูปแบบ / คณะทำงานขาดทักษะในการจดบันทึกการประชุม
  • 8.ข้อเสนอแนะ
  • - การทำกิจกรรมที่สอดคล้องกับพื้นที่ กับความถนัดของชุมชน เป็นโอกาสที่ดีของการมีส่วนร่วมของชุมชน
  • - อย่าให้ชุมชนกังวลกับการเคลียร์การเงิน จุดบกพร่องของงานเอกสาร
  • - การทำงานแบบบูรณาการงานในชุมชน จะได้ประโยชน์ที่เกิดขึ้นแก่ชุมชนมาก

อนุรักษ์ลุ่มน้ำห้วยชี ตอนกลาง.jpg